ประมวลความเห็นนักวิชาการ หลังศาลรธน.รับคำร้องเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา
จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญรับ 5
คำร้องเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา ทำให้ต้องชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3
ในวันที่ 5 มิ.ย. ออกไป
มีความเห็นของนักวิชาการสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
ต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
พนัส
ทัศนียานนท์
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และอดีตส.ว.ตาก
การที่ศาลรธน.มีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น
จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่รธน.บัญญัติไว้
รัฐสภา
คือตัวแทนอำนาจสูงสุดของประชาชน
จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจงใจใช้อำนาจหน้าที่
ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยเรื่องอำนาจกนิติบัญญัติและ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด
ตามหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเราถือเป็นแบบอย่าง เขาถือว่ารัฐสภามีอำนาจสูงสุดตามหลัก
Supremacy of Parliament
(ที่มา
เฟซบุ๊กส่วนตัว "พนัส ทัศนียานนท์" อ้างอิงจาก
http://www.prachatai3.info/journal/2012/06/40810)
เกษียร เตชะพีระ
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภูมิปัญญาชาวบ้าน (ยืมหน่อยนะครับคุณหมอประเวศ)
ของศาลรัฐธรรมนูญ
ภูมิปัญญาฯ 1) เข้าใจว่าอำนาจอธิปไตยไม่ได้แยกจากกัน
ไม่ได้แบ่งฝ่ายเพื่อให้ตรวจสอบถ่วงดุลกัน
พาลหลงคิดว่าตนเองไม่เพียงแต่ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยฝ่ายอื่น
หากสามารถเอื้อมข้ามเส้นแบ่งอำนาจไปสั่งฝ่ายนิติบัญญัติได้ตามใจชอบซะด้วย
ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เท่ากับละเมิดการแบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
แล้วถ้าศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่เป็นยามพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
กลับมาล่วงละเมิดหลักรัฐธรรมนูญเสียเองอย่างนี้ ...
จะเหลือหลักอะไรอยู่ในแผ่นดินผืนนี้ของเราอีก
ภูมิปัญญาฯ 2) หลักเสรีประชาธิปไตยเกี่ยวกับกฎหมายมี 2 ประการ คือ ก) What the law doesn′t permit, it forbids. และ ข) What the law doesn′t forbid, it
permits.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น