หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกษียร เตชะพีระ: จิตร ภูมิศักดิ์ นอกคอกนักวิชาการ(3) คอกปัญญาชนปฏิวัติและบทสรุปจากในคอก

เกษียร เตชะพีระ: จิตร ภูมิศักดิ์ นอกคอกนักวิชาการ(3) คอกปัญญาชนปฏิวัติและบทสรุปจากในคอก 

 

4) คอกปัญญาชนปฏิวัติ

หลัง การฆ่าหมู่และรัฐประหาร 6 ตุลาฯ 2519 นิสิตนักศึกษานักวิชาการจำนวนมากได้แหกคอกความเป็นนักวิชาการ เดินตามรอยจิตรไปเป็นปัญญาชนปฏิวัติ "นอกคอกนักวิชาการ"

แต่ แล้วพวกเขาก็พบกรอบใหม่หรือคอกใหม่ในป่า เป็นคอกปัญญาชนปฏิวัติที่แยกพวกเขาออกจากสัจธรรมส่วนอื่น, ประชาชนส่วนอื่น, และการเมืองที่ต่อต้านระบบอีกแบบหนึ่งลักษณะหนึ่ง ดังที่ แคน สาริกา ได้บรรยายเรื่องนี้ไว้ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์ (2531): -

"สหาย ปรีชา (ชื่อจัดตั้งในป่าของจิตร) เป็นปัญญาชนรุ่นแรก เป็นรุ่นบุกเบิกด่านการดัดแปลงโลกทรรศน์ของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย ปัญญาชนปฏิวัติจะต้องอุทิศแรงกายให้กับการใช้แรงงาน ทุ่มแรงใจให้กับการคิดค้นและขีดเขียนเพื่องานปฏิวัติ ทางจัดตั้งไม่ใช่ท่าทีบังคับ แต่ทุกคนต้องเรียกร้องตัวเอง สหายชาวเมืองต้องสลัดคราบ "ปัญญาชน" ทิ้งไป ต้องปรับตัวเองให้สหายชาวนายอมรับในบทบาทของแต่ละคน ใครทำให้สหายชาวนายกย่องได้ คนนั้นจัดเป็นสหายที่ก้าวหน้าและมีอนาคตทางการเมือง อาจถูกเลือกเลื่อนขึ้นเป็น "ย." (สมาชิกสันนิบาตเยาวชนประชาธิปไตยประชาชนแห่งประเทศไทย อันเป็นองค์กรแขนขวาของ พคท.) หรือ "ส." (สมาชิก พคท.) (น.87)

หลัก นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จะไม่ปล่อยให้นักศึกษาปัญญาชนจากในเมืองเป็น อย่างที่เคยเป็น หากต้องดัดแปลงโลกทรรศน์พวกเขาให้กลายเป็น "ปัญญาชนปฏิวัติ" ตามคำนิยามและแบบแผนของพรรค ดำเนินสืบมาจากจิตรถึงนักศึกษาปัญญาชนที่เข้าป่าหลัง 6 ตุลาฯ 


ดัง ที่ จันทนา ฟองทะเล อดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนแห่ง หนึ่ง ได้บรรยายวิเคราะห์ไว้ในบันทึกความทรงจำของเขาเรื่อง จากดอยยาวถึงภูผาจิ (2536)
  
(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339761116&grpid=&catid=02&subcatid=0200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น