ทำไมอารยะธรรมและอาณาจักรยิ่งใหญ่ถึงเสื่อม?
การใช้ระบบทาสจำนวนมากในไร่เกษตรสร้างกำไรสูงกว่าการเก็บภาษีจากเกษตรกรและ เริ่มมีผลทำให้สภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยแย่ลง เพราะไม่มีการจ้างแรงงานเกษตร และราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นสูง เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากจึงถูกกดดันให้เสียที่ดินไป
โดย C. H.
นักวิชาการบางคนมักเสนอคำตอบว่า “มันมีกฏเหล็กของธรรมชาติที่กำหนดว่าทุกอย่างที่รุ่งเรืองในที่สุดต้องเสื่อม” ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่คำตอบเลยเพราะไม่อธิบายอะไร ไม่พูดถึงสาเหตุ แค่เป็นการบรรยาย
นักวิชาการอื่นอาจชี้ไปถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือวิกฤตธรรมชาติที่มาจากภูเขาไฟระเบิด หรืออุกาบาต แต่คำอธิบายแบบนั้นเน้น “อุบัติเหตุ”
คาร์ล มาร์คซ์ เคยเสนอใน “บทนำของการมีส่วนในการวิจารณ์เศรษฐศาสตร์การเมือง” (Preface to the Contribution to the Critique of Political Economy) ว่า “ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบเก่า ที่เริ่มแรกมีพลังมหาศาล เริ่มกลายเป็นอุปสรรค์ต่อความเจริญก้าวหน้าต่อไป” และในที่สุดโครงสร้างการปกครองของอารยะธรรมที่เคยรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” กลายเป็นภาระที่ระบบการผลิตรองรับไม่ได้
จะ
ขอยกตัวอย่างจากอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของโรมซึ่งครอบคลุมพื้นที่จากยุโรปตะวัน
ตกไปถึงตะวันออกกลาง เศรษฐกิจพื้นฐานของโรมคือการเกษตร
ซึ่งเดิมทำโดยเกษตรกรรายย่อย
นอกจากนี้มีการขูดรีดส่วนเกินเพิ่มจากการควบคุมการค้าขายอีกด้วย
อย่าง
ไรก็ตามความยิ่งใหญ่ของโรมมาจากการทำสงครามเป็นหลัก
การทำสงครามมีความสำคัญสำหรับโรมทั้งในแง่ของการขยายพื้นที่และการปล้น
ทรัพย์สมบัติ แต่ในด้านเศรษฐกิจ
การทำสงครามมีความสำคัญที่สุดจากการยึดเชลยศึกมาเป็นทาส
เพื่อทำงานในไร่เกษตร ของพวกอภิสิทธิ์ชน
การใช้ระบบทาสจำนวนมากใน
ไร่เกษตรสร้างกำไรสูงกว่าการเก็บภาษีจากเกษตรกรและเริ่มมีผลทำให้สภาพความ
เป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยแย่ลง เพราะไม่มีการจ้างแรงงานเกษตร
และราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นสูง
เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากจึงถูกกดดันให้เสียที่ดินไป
แต่โรมไม่สามารถ
ทำสงครามขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆได้
เพราะกองทัพจะต้องเดินทางไกลมากขึ้นและคุมพื้นที่ยากขึ้น จำนวนทาสจึงลดลง
และโรมไม่สามารถหันกลับไปใช้เกษตรกรรายย่อยได้
เพราะสร้างกำไรไม่พอที่จะรองรับวิถีชีวิตชนชั้นปกครอง
พร้อมกันนั้นการกดขี่ขูดรีดทาสและเกษตรกรทำให้คนเหล่านี้ไม่มีความจงรัก
ภักดีต่อโรมเมื่อศัตรูจากดินแดนอื่นบุกเข้ามาในที่สุดอาณาจักรโรมเสื่อมและ
ถูกทำลายไป
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น