“ปล่อยนักโทษการเมือง” คือความรับผิดชอบทางศีลธรรมของรัฐบาลเพื่อไทย
โดยนักปรัชญาชายขอบ
เมื่อยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย
เราจำเป็นต้องยอมรับข้อเสนอ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร” ของนิติราษฎร์
ซึ่งมีผลให้การดำเนินการของ คตส.เป็นโมฆะ และคดีต่างๆ
ของคุณทักษิณต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ
การปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวโดยอ้างว่าทักษิณได้ประโยชน์
หรือเป็นข้อเสนอล้างผิดให้ทักษิณ
(ที่จริงไม่ได้ล้างเพียงแต่ยืนยันสิทธิในการพิสูจน์ตนเองภายใต้หลักความเสมอ
ภาคทางกฎหมาย) ย่อมเท่ากับปฏิเสธหลักนิติรัฐ นิติธรรม
เพราะเป็นการยอมรับสภาพความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม
ของระบบอำนาจที่ได้มาจากการทำรัฐประหารล้มระบอบประชาธิปไตย
ที่สำคัญการปฏิเสธเช่นนั้นยังเป็นการสร้าง “มายาคติ” ว่า
“ทักษิณคือศูนย์กลางของปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดอง”
ทั้งที่ปัญหาที่แท้จริงคือการรัฐประหารทำลายหลักการแห่งนิติรัฐ
นิติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย
ทว่าตลกร้ายของสังคมไทยคือ
ทำไมมวลชนของคนชั้นกลางในเมืองรับไม่ได้อย่างเด็ดขาดกับการขายหุ้นในตลาด
หลักทรัพย์ไม่เสียภาษี
แต่ยอมรับได้กับรัฐประหารและกระบวนการเอาผิดนักการเมืองและพรรคการเมืองโดย
ระบบอำนาจของรัฐประหาร
การรับไม่ได้เด็ดขาดกับความผิดน้อย
กว่า (การทำผิดกฎหมาย)
กับการยอมรับได้และให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันแก่ความผิดที่มากกว่า
(ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มระบอบประชาธิปไตย) ในกรณีตัวอย่างนี้
เป็นเรื่องไม่อาจเข้าใจได้
หรืออธิบายไม่ได้ด้วยตรรกะที่อ้างอิงหลักจริยธรรมทางการเมือง หลักการ
อุดมการณ์ประชาธิปไตย หรือหลักนิติรัฐ นิติธรรม
ฉะนั้น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือการสร้างความปรองดองจะไม่มีทางเป็นไปได้ ถ้าไม่กลับไปหาหลักการ หรือยึด “หลักการ”เป็นตัวตั้ง
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40867
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น