อัพเดทสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองในสหภาพยุโรป (1)
อัพเดทสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองในสหภาพยุโรป (1)
มาร์คซ์
อธิบายว่าระบบการแข่งขันในระบบทุนนิยมจะนำไปสู่การลงทุนและผลิตล้นเกินและ
ก่อให้เกิดแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไรซึ่งเป็นสาเหตุของวิกฤติ
นายทุนเลือกแนวทางที่จะรักษาอัตรากำไรไว้
โดยการส่งเสริมให้บริษัทใหญ่กินบริษัทที่อ่อนแอกว่าแล้วตัดระดับการผลิตและ
การจ้างงาน และอีกหนทางหนึ่งคือการตัดค่าแรงอย่างโหด
โดย นุ่มนวล ยัพราช
เบื้องหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปปัจจุบันเป็นผลพวงโดยตรงจากวิกฤตทางการ
เงินโลกในปี 2007 ที่มีจุดกำเนิดมาจากวิกฤติบ้านและอสังหาริมทรัพย์
(subprime mortgages) ในสหรัฐอเมริกา ที่มีการปั่นหุ้น สร้างฟองสบู่ และ
ค้ากำไรทางการเงินของพวกกลุ่มทุนธนาคาร สำหรับตัวอย่างคล้ายๆ
กันที่พอนึกภาพได้ง่ายๆ ในไทยก็คือ วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี พ.ศ.2540
สหภาพยุโรป (European Union = EU)
เป็นการวมตัวกันขึ้นมาของกลุ่มประเทศในยุโรปเพื่อเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทั้ง
ทางการค้า และทางการเมืองในเวทีระดับโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ซึ่งเพิ่มอำนาจการแข่งกับมหาอำนาจอื่นๆ เช่น สหรัฐ จีน รัสเซีย หรือ
ต่อมากลุ่มประเทศ BRIC (Brazil, Russia, India and china)
ที่เป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก
อย่างไรก็ตามกลุ่มประเทศ บริค (BRIC) ตลาดส่งออกโดยส่วนใหญ่จะอยู่
สหรัฐอเมริกาและสหาภาพยุโรปเป็นหลัก
ฉะนั้นวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วจะมีผลกระทบต่อประเทศเหล่านี้
ซึ่งตอนนี้อัตราเศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัวลงจากตัวเลขสองหลักเหลือแค่หลักเดียว
และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อยๆ
จุดเด่นของประเทศบริคคือต้นทุนการผลิตต่ำและมีการกดค่าแรงอย่างโหดเหี้ยม
ซึ่งทำให้ตลาดภายในมีปัญหาเพราะคนไม่มีกำลังซื้อ
หรือคนที่มีกำลังซื้อก็จะเป็นคนส่วนน้อย
วกกลับเข้ามาที่วิกฤติของสหภาพยุโรป
จุดเด่นที่สุดของสหภาพยุโรปคือ
เป็นการสร้างสหภาพบนพื้นฐานผลประโยชน์นายทุนเป็นหลัก
มีการเคลื่อนไหวของทุนอย่างเสรี
ลดพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกสำหรับการค้าขายและธุรกิจ เพื่อสร้างตลาดเดียว
และใช้สกุลเงินเดียวกัน เพื่อความสะดวกสำหรับกลุ่มทุนต่างๆ มากไปกว่านั้น
สหภาพยุโรปต้องการสถาปนาสกุลเงินยูโร(€)
ขึ้นมาเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศเหมือนดอลล่าสหรัฐ
สหภาพยุโรปได้ใช้แนวทางเสรีนิยมอย่างสุดขั้ว
เพราะในธรรมนูญของสหภาพเขียนไว้เพื่อให้ผลประโยชน์กับกลุ่มทุนทางการเงินและ
กลุ่มทุนขนาดใหญ่โดยเฉพาะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น