สองด้านของการเลือกตั้งในพม่า
โดย ลั่นทมขาว
การเลือกตั้งในโลกทุนนิยมปัจจุบันไม่เคยนำไปสู่การช่วงชิงอำนาจรัฐของฝ่าย
ประชาชนแต่อย่างใด เพราะรัฐมีส่วนสำคัญที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
เพียงแต่ว่าในระบบประชาธิปไตยทุนนิยม ประชาชนเลือกรัฐบาลได้
แต่เลือกส่วนอื่นของรัฐไม่ได้ เช่นผู้บัญชาการทหารและตำรวจ ผู้ที่คุมศาล
ผู้ที่คุมสื่อ
และที่สำคัญที่สุดคือประชาชนเลือกและควบคุมระบบเศรษฐกิจไม่ได้
เพราะไม่มีนายทุนที่ไหนในโลกที่มาจากการเลือกตั้ง
แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราควรหันหลังให้กับการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งเป็นเวทีสำคัญในการปลุกระดมทางการเมือง
เพื่อให้กำลังใจในการต่อสู้ของประชาชนนอกรัฐสภา
ดังนั้นการเลือกตั้งที่ผ่านมาในพม่ามีความสำคัญตรงนี้
เพราะเป็นโอกาสทองที่พลเมืองเชื้อชาติต่างๆ ในประเทศพม่า
จะแสดงความไม่พอใจกับเผด็จการทหาร
และสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยการเลือกนางอองซานซูจีและพรรค
สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(NLD) เข้าสู่สภา
อย่างไรก็ตามเราไม่ควรหลงคิดว่าการเลือกตั้งใน พม่าเป็นก้าวแรกในการ “สร้างประชาธิปไตย” ของผู้มีอำนาจในพม่า โดยเฉพาะทหาร เพราะมันเป็นเพียงการแสวงหาความชอบธรรมกับอำนาจถาวรของกองทัพพม่าในสังคม เท่านั้น
รัฐธรรมนูญปัจจุบันของพม่าร่างมาโดยทหารในปี 2008 เพื่อปกป้องอำนาจของทหาร เช่นในสภาสูง 110 ที่นั่ง จากทั้งหมด 440 ที่นั่ง ต้องเป็นนายทหารที่แต่งตั้งโดยกองทัพเองในสภาล่างทหารสำรอง 56 ที่นั่งจาก 224 ที่นั่ง และอันนี้ก่อนจะมีการเลือกตั้งที่นั่งที่เหลือ ในการเลือกตั้งปี 2010 ทหารสร้างสถานการณ์เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้งเสรี พรรคทหาร (USDP) เลยได้เสียงส่วนใหญ่ และการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นแค่การเลือกตั้ง “ซ่อม” สำหรับเพียง 45 ที่นั่งเอง ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้เต็มไปด้วยการข่มขู่และการโกงโดยทหารเพื่อสนับสนุนพรรคทหาร
(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/blog-post_06.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น