หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประจำสถานีรบ! สถานการณ์การต่อสู้ในการเมืองไทย

ประจำสถานีรบ! สถานการณ์การต่อสู้ในการเมืองไทย

 

 
โดยสุรชาติ บำรุงสุข 

 

"สังคม ไทยในปัจจุบันเป็นสังคมที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เนื่องจากการเป็นฝักเป็นฝ่ายทางการเมือง ไม่สามารถจะพูดคุยกันแบบผู้ดีบนหลักของวิชาการโดยมีข้อมูลและหลักฐานเพื่อ ให้เกิดภูมิปัญญา เมื่อต่างฝ่ายต่างมีนโนทัศน์ที่ไม่เหมือนกัน แม้จะใช้ภาษาเดียวกันคือภาษาไทยในการสื่อสาร ก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ และมักจะลงเอยด้วยการถกเถียงโดยใช้อารมณ์อย่างรุนแรง"

ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน

ราชบัณฑิต

29 กันยายน 2554



ท่าน ทั้งหลายที่ติดตามและสนใจการเมืองไทย คงพอคาดเดาได้ไม่ยากนักว่า ความพยายามในการก่อให้เกิดการปรองดองขึ้นในการเมืองไทยนั้น ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่สัมฤทธิผลเท่าใดนัก

ยิ่งเมื่อเกิดเหตุในรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายปรองดองก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ความพยายามที่จะทำให้การเมืองไทยกลับสู่ "ภาวะปกติ" หลังจากการรัฐประหาร 2549 และหลังความขัดแย้งใหญ่ในการเมืองไทย เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้แต่อย่างใด

หรือบางทีเราอาจจะต้องยอมรับความเป็นจริงอันเจ็บปวดประการสำคัญว่า ความขัดแย้งในการเมืองไทยได้เดินผ่านโอกาสของความปรองดองไปแล้ว

และ จากปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ "เปิดเกม" การเมืองในรัฐสภาแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของพรรคฝ่ายค้านนั้น ดูจะให้คำตอบอย่างชัดเจนว่า โอกาสของการปรองดองน่าจะจบสิ้นแล้วในสังคมการเมืองไทย!

ถ้าข้อสังเกต ดังกล่าวข้างต้นเป็นสมมติฐานที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่รออยู่ข้างหน้าในการเมืองไทยก็คงจะหนีไม่พ้น "ความขัดแย้งใหญ่" ในสังคมไทย

ถ้าแนวโน้มเช่นนี้เป็นจริง เราก็คงกล่าวได้ว่า การเมืองไทยกำลังเดินเข้าสู่ "สถานการณ์สู้รบ" นั่นเอง



การ ต่อสู้ทางการเมืองในรัฐสภา แม้จะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเกมการต่อสู้ในลักษณะของการชิงไหวชิงพริบ จนถึงมาตรการสำคัญของฝ่ายค้านในการบุก "ยื้อยุดจับตัว" ประธานรัฐสภาในวันแรก และตามมาในวันที่สองด้วยการ "ปา" เอกสารใส่ประธานรัฐสภา

แต่อย่างน้อยเราก็คงพอคาดหวังได้ในระดับหนึ่ง ว่า ถ้าการต่อสู้นี้ยังคงถูกจำกัดอยู่ในกรอบของรัฐสภาแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมากที่สุดก็เป็นเพียงการทะเลาะวิวาทของบรรดา สมาชิกผู้ทรงเกียรติในรัฐสภา ซึ่งก็อาจจะไม่แตกต่างกับสิ่งที่เราเคยพบเห็นได้จากภาพข่าวในกรณีของปัญหา ความขัดแย้งในรัฐสภาไต้หวันหรือเกาหลีใต้ เป็นต้น

และอย่างน้อยเราก็ อาจจะพอเบาใจได้อยู่บ้างว่า ตราบเท่าที่ ส.ส. วิวาทกันในรัฐสภา ก็ยังดีกว่าพวกเขาลากเกมให้ปัญหาความขัดแย้งนี้ไปสู่การเมืองบนถนน และอาจจะจบลงด้วยการปิดเกมแบบ "รถถัง"

ดังนั้น ไม่ว่าการเมืองจะขัดแย้งกันเท่าใดก็ตาม แต่ตราบเท่าที่เรื่องทั้งหมดถูกตีกรอบไว้ด้วยกระบวนการทางรัฐสภา แม้จะมีการยื้อยุดหรือขว้างปากันบ้าง ก็อาจจะต้องยอมรับว่าเรื่องราวทั้งหมดก็ยังอยู่ในรัฐสภา แม้จะต้องเสียภาพลักษณ์แห่ง "สถาบันอันทรงเกียรติ" ของบรรดาสมาชิกผู้แทนราษฎรไป ผู้คนอาจจะรู้สึกแย่กับภาพลบที่พวกเขากระทำกันในรัฐสภา

แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็ยังอยู่ในรัฐสภาเท่านั้นเอง

สิ่งที่น่ากังวลใจก็คือ การต่อสู้ของพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภาอาจจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้ปัญหาอยู่ในสภาเท่านั้น

หาก แต่การกระทำที่เกิดขึ้นเป็นเสมือนการเปิดการรุกทางการเมืองใน "แนวรบรัฐสภา" ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความชะงักงันของกระบวนการทางรัฐสภา

เพราะ กลุ่มการเมืองปีกอนุรักษนิยม-จารีตนิยมที่ใช้พรรคฝ่ายค้านเป็นกลไกของการขับ เคลื่อนในรัฐสภาต่างก็ตระหนักดีว่า หากปล่อยให้รัฐสภาเดินไปตามครรลองที่ใช้วิธีการลงเสียงแล้ว พวกเขาก็ต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน

ดังจะเห็นชัดเจนถึงคะแนนเสียง ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านที่แตกต่างกัน จนมองไม่เห็นว่า กลุ่มอนุรักษนิยมจะชนะการลงเสียงในรัฐสภาได้อย่างไร

ในอีกด้านหนึ่งก็เห็นได้ชัดเจนเช่นกันว่า แม้การกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายทางการเมืองแก่พรรคฝ่ายค้านเอง

แต่ พวกเขาก็ดูจะประเมินแล้วว่า ความเสียหายดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างวาทกรรมเพื่อสื่อสารออกไปสู่ กลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มเป็นกลาง
 

 

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339855527&grpid=03&catid=&subcatid= 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น