หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ยุบศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

ยุบศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

 

'วรเจตน์' เสนอยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ

http://shows.voicetv.co.th/news-update 

 

15 ก.ค.55  ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติราษฎร์จัดแถลงข้อเสนอทางวิชาการเรื่อง "การยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ" โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมฟังจนล้นห้องประชุม LT1 


วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า คำวินิจฉัยมีข้อบกพร่องสำคัญในการตั้งประเด็น ประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาคือการกระทำของรัฐสภาที่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมี ผลในการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 หรือไม่ ถ้าไม่มีผล ก็ต้องยกคำร้อง เพียงแค่นี้แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ แต่ศาลกลับเอาประเด็นนี้ไปไว้ในประเด็นที่ 3 แล้วตั้งประเด็นที่ 2 มาแทรกกลาง โดยไม่มีผลและตรรกะเพียงพอ

เมื่อไม่ล้มล้างการปกครองก็สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสามได้ เป็นประเด็นง่ายๆ ที่ไม่ต้องเรียนกฎหมาย ขอเพียงเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะก็เข้าใจได้ แต่ทำไมศาลถึงตั้งประเด็นและทำแบบนี้ ผมคิดว่าด้านหนึ่งศาลก็รู้ว่าตนเองไม่มีอำนาจวินิจฉัย

เมื่อศาลบอกว่าไม่ล้มล้างการปกครอง แล้วการลงมติวาระสามจะกลายเป็นการล้มล้างปกครอง เช่นนี้เป็นไปได้หรือ แต่ในประเทศนี้อะไรที่เป็นไปไม่ได้ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอยากเรียนว่าโดยคำวินิจฉัยนั้น จริงๆ ไม่มีผลผูกพันอะไรกับรัฐสภาเลย ต่อให้ยอมรับว่ามีเขตอำนาจ ซึ่งจริงๆ ไม่ควรยอมรับแต่แรก เพราะถ้าลงมติวาระสามแต่แรกก็ไม่มีผลแล้ว เพราะจะไม่มีวัตถุแห่งการพิจารณา และแม้วันนี้จะมีการวินิจฉัยมาแบบนี้ ศาลก็บอกว่าไม่ใช่การล้มล้างการปกครองแล้วจะกลัวอะไร

มีคนบอกว่า ศาลวินิจฉัยแล้ว ผมถามว่าวินิจฉัยตรงไหน อีกอย่างการเขียนมาตรา 68 ก็เป็นปัญหา ถ้าถือตามตัวอักษรต้องสั่งระงับการกระทำ แต่คำวินิจฉัยนี้ก็ไม่มีการสั่งระงับการกระทำ จึงน่าสงสัยมากว่าเราฟังคำวินิจฉัยเรื่องเดียวกันหรือเปล่า ฉะนั้นถ้าเราดูภาพทั้งหมดจาการวินิจฉัยก็จะพบว่ามันมีปัญหา

วรเจตนต์กล่าวต่อว่า เวลาที่เราเสนอเรื่องนี้ เราไม่ได้พูถึงการวินิจฉัยนี้ ไม่ใช่เรื่องคนไม่ได้อย่างใจแล้วออกมาเสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ โดยส่วนตัวได้ติดตามการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมา มีคำวินิจฉัยหลายเรื่องเป็นปัญหาจริงๆ คดีปราสาทพระวิหารที่พูดเรื่องหนังสือสัญญาที่มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทย ศาลก็เติมคำว่า “อาจจะ” แล้วคำว่า “อาจ” นั้นมีหรือในรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงคดีทำกับข้าว ถ้าลองย้อนกลับไปดูคดีนี้วินิจฉัยเรื่องความเป็นลูกจ้างก็เอาพจนานุกรมมาดู เป็นความหมายของลูกจ้างอีกแบบไม่ใช่ตามกฎหมายแรงงาน ถ้าอย่างนั้นทุกคนรวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเวลาไปนั่งบรรยายรับสตางค์ก็เป็นลูกจ้างทั้งหมด แต่ผลสุดท้ายการตีความในคำวินิจฉัยนั้นก็ใช้กับคุณสมัครคนเดียวไม่ใช้กับคน อื่นในโลกอีกเลย ในวันที่ยุบพรรคพลังประชาชน มีการแถลงปิดคดี ศาลขึ้นนั่งอ่านคำวินิจฉัยเลย แล้วอ่านอย่างมีข้อผิดพลาดด้วย ถามว่าประชาชนไม่มีสิทธิตรวจสอบเลยหรือว่าทำถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็ต้องหาวิธี

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41566

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น