หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สมยศ พฤกษาเกษมสุข: วิกฤติตุลาการกับความบัดซบของนักการเมือง

วิกฤติตุลาการกับความบัดซบของนักการเมือง

 

http://www.matichon.co.th/online/2012/07/13412881531341288359l.jpgPhoto: หยุดกฎหมายล้างผิด หยุดทำผิดให้เป็นถูก หยุดอ้างอำนาจที่ไม่ได้มาจากปวงชน

เมื่อมีการยึดอำนาจของปวงชนก็จะมีการออกกฎหมายลบล้างความผิดของพวกที่ทำการยึดอำนาจ ซึ่งเป็นความผิดฐานกบฏที่มีโทษถึงประหารชีวิต เหมือนโจรที่ปล้นบ้าน แล้วประกาศว่าการปล้นบ้านไม่เป็นความผิด

ตามด้วยประกาศและคำสั่งของพวกที่ทำการยึดอำนาจของปวงชน และยังให้มีผลทางกฎหมาย แม้ว่าคณะรัฐประหารได้ลงจากอำนาจไปแล้ว เหมือนโจรบังคับให้เจ้าของบ้านต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพวกโจรตลอดไป แม้ว่าพวกมันจะลงจากบ้านไปแล้ว

รวมถึงการอ้างอำนาจของตุลาการที่มีจากการเลือกกันเองของข้าราชการตุลาการที่มิได้ยึดโยงกับประชาชนแม้แต่น้อยที่ใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต ทั้งๆที่ตุลาการมีหน้าที่เพียงแค่การพิจารณาคดีความตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องทางการเมืองที่ขึ้นกับการตัดสินใจของประชาชน 
การที่ตุลาการเข้าแทรกแซงกำกับควบคุมเรื่องทางการเมือง ควบคุมการทำงานของสภาและรัฐบาล ก็เท่ากับเป็นการรวบอำนาจหรือปล้นอำนาจของปวงชนนั่นเอง เท่ากับว่ามีคนที่ไม่ใช่เจ้าของบ้านแต่มาอ้างสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องภายในบ้านแทนเจ้าของบ้าน หรือกระทั่งจัดการขับไล่ ลงโทษหรือกลั่นแกล้งตัวแทนเจ้าของบ้าน

ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบ้าน จงลุกขึ้นทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของตน
จงร่วมกันปฏิเสธกฎหมายล้างผิดให้พวกกบฏที่ปล้นอำนาจของประชาชน
จงปฏิเสธบรรดาประกาศ คำสั่งและกฎหมายของโจรที่ปล้นอำนาจของพวกเรา
จงปฏิเสธตุลาการซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของพวกเราแต่กลับมาทำลายและริดรอนอำนาจตัวแทนของพวกเรา

ประชาชนทั้งหลายจงรวมตัวกันเพื่อทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของพวกเราคืนจากพวกโจรปล้นอำนาจทั้งหลาย ที่มาในหลากหลายรูปแบบ
เพื่อสร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อลูกหลานไทยทุกคน

โดยสมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยสมเจตน์ บุญถนอม นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหาจากกรณีรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นการลบล้างระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย พร้อมกับออกคำสั่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ชะลอการพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 ที่จะมีขึ้นวันที่ 5มิถุนายน 2555 เอาไว้ก่อนจนกว่า จะมีคำวินิจฉัยออกมา

ศาลรัฐธรรมนูญออกแถลงการณ์ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการเพื่อลบล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด และเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำ การดังกล่าว

ทางฝ่ายพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาตอบโต้โดยเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญกำลังก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ ออกคำสั่งโดยปราศจากกฎหมายรองรับ รัฐสภาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม

ปรากฏการณ์ตุลาการภิวัตน์ ซึ่งกำลังกลายเป็นตุลาการวิบัติในครั้งนี้เป็นเพียงหนังม้วนเก่า คนแสดงหน้าเดิม นำมาฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนคนดูเอือมระอาในพฤติกรรมอัปยศอดสูของตุลาการเมืองไทย

ประการแรก เมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540ล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย เป็นการกระทำแบบโจรกบฏที่ชัดเจนที่สุด แต่บรรดาตุลาการผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ไม่ทราบว่าไปมุดรูอยู่ตรงไหน ณ เวลานั้น จึงไม่ได้ออกมาทำหน้าที่ออกคำสั่งให้หยุดกระทำการดังกล่าว ในทางตรงกันข้ามหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลับมีตุลาการบางคนยอมรับคำ สั่งแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นประจักษ์พยานของความต่ำทรามในวงการตุลาการไทยเป็นอย่างยิ่ง

ประการที่สอง การใช้ข้ออ้างว่าเป็นการกระทำหน้าที่พลเมืองที่จะปกป้องรัฐ ธรรมนูญ ราวกับว่าพวกเขาห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นล้นพ้น กลัวจะเป็นการพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน เปลี่ยนแปลงการปกครอง จะให้เป็นอำนาจอัยการสูงสุดอย่างเดียวไม่ได้ จึงต้องกุลีกุจอออกคำสั่งทันทีทันใด ให้หยุดกระทำการดังกล่าว ข้ออ้างเช่นนี้เป็นการอ้างอันน่าสมเพศเวทนาเหลือเกิน เพราะเมื่อคราวที่คณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำการล้มล้างรัฐ ธรรมนูญ 2540 ไม่มีใครหน้าไหนในกลุ่มที่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญคราวนี้ และก็ไม่มีตุลาการหน้าไหนออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ 2540 แต่กลับยินดีปรีดาไป กับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่คลอดมาจากมดลูกของคณะรัฐประหาร และยัดเยียดให้กับสังคมไทยในเดือนสิงหาคม 2550

  

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41340

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น