อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี
เมื่อวันที่ 20 ส.ค.55 คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้พบผู้แทนตำรวจเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสถิติคดี มาตรา
112 ตามประมวลกฎหมายอาญา หลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาและสั่งคดี
รวมถึงความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ หนึ่งในอนุกรรมการ เปิดเผยว่า
สำหรับข้อมูลด้านการดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 นั้น นับแต่ปี พ.ศ.2550
เป็นต้นมา มีคดีที่เกิดขึ้น และตำรวจรับคำร้องทุกข์ เฉลี่ยปีละ 50 ถึง 70
คดี รวมถึงปัจจุบัน มีประมาณ 200 คดีเศษ แต่ทั้งนี้
ไม่รวมคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับไว้พิจารณาโดยตรง และคดีที่อัยการสูงสุด
ดำเนินการสืบสวนสอบสวนเอง โดยเฉพาะคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม
นับแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา
มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตรวจสอบ กลั่นกรองเว็บไซต์
ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันฯ
ทำให้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ และส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดีประมาณ 12,000
URLs
ขณะที่ฝ่ายกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า
ปัจจุบันมีการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ฯ คอมพิวเตอร์ฯ จริง ๆ เพียงไม่ถึง 20
คดี นอกจากนั้นจะเป็นการ เชื่อมโยงกับมาตรา 112 ทั้งนั้น
ศิริพล ระบุด้วยว่า สำหรับการพิจารณาคดีของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มีคณะกรรมการกลั่นกรองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
พิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายอาญา และแนวคำพิพากษาฎีกา เป็นหลัก
“ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมว่าประเทศไทย
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112
เรามักจะไม่กล้าใช้หลักกฎหมายอาญาเคร่งครัด
ตามหลักการตีความกฎหมายอาญา ตีความเคร่งครัด
และห้ามใช้กฎหมายประเพณีมาขยายความ
ตลอดจนการตีความกฎหมายอาญาที่ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ซึ่งถือเป็นหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และ หลักการที่ว่า
บุคคลสาธารณะ (Public Figure) ทุกตำแหน่งต้องถูกวิจารณ์และตรวจสอบได้เสมอ”
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42202
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น