โยกย้าย นายทหาร ทำไม ต้องถึง องคมนตรี ละเอียด เปราะบาง
การที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม
จะทำหนังสือลงวันที่ 24 สิงหาคม เพื่อขอเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
สามารถเข้าใจได้
เข้าใจได้ว่าเมื่อ ปลัดกระทรวงกลาโหม มีความเห็นต่างไปจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม การทำหนังสือขอหารือและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่ดำเนินไปตามกระบวนการในระบบราชการ
อย่างน้อย ปลัดกระทรวงกลาโหม ก็ยังมีความหวังว่า นายกรัฐมนตรี จะสามารถเป็นที่พึ่งพิงได้ในท่ามกลางความขัดแย้ง
เป็นไปตามระบบ เป็นไปตามโครงสร้างของการบังคับบัญชา
แต่ การที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ เดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และฝากบัญชีรายชื่อโยกย้ายและแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหมไปให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นเรื่องที่ยากจะทำความเข้าใจได้อย่างปกติ ธรรมดา
แม้ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ก็เป็นอดีตไปแล้ว
มอง จากมุมของสังคมไทยซึ่งยังยึดโยงอยู่กับระบบเครือข่าย ระบบอุปถัมภ์ การเคลื่อนไหวของ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ อาจเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา
ใครๆ ก็ทำกัน
ใน ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เดินทางเข้าบ้านสี่เสา เทเวศร์ มาแล้ว
นั่นเป็นสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
จึง มิได้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ จะเดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อเชื่อมประสานไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
คำถามอยู่ที่ว่าเชื่อมประสานอย่างไร
คำตอบ 1 เชื่อมประสานเพราะว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยเป็นผู้บังคับบัญชามาก่อนกระนั้นหรือ
อย่างน้อย 2 ท่านนี้ก็เคยเป็น ผบ.ทบ. เคยเป็นนายกรัฐมนตรี
อย่างน้อย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็เคยเป็น ผบ.ทหารสูงสุด และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
แต่ที่ควรระมัดเป็นอย่างยิ่งก็คือ ตำแหน่งในปัจจุบันของทั้ง 2 คืออะไร
สามารถเข้าใจได้
เข้าใจได้ว่าเมื่อ ปลัดกระทรวงกลาโหม มีความเห็นต่างไปจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม การทำหนังสือขอหารือและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่ดำเนินไปตามกระบวนการในระบบราชการ
อย่างน้อย ปลัดกระทรวงกลาโหม ก็ยังมีความหวังว่า นายกรัฐมนตรี จะสามารถเป็นที่พึ่งพิงได้ในท่ามกลางความขัดแย้ง
เป็นไปตามระบบ เป็นไปตามโครงสร้างของการบังคับบัญชา
แต่ การที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ เดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และฝากบัญชีรายชื่อโยกย้ายและแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหมไปให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นเรื่องที่ยากจะทำความเข้าใจได้อย่างปกติ ธรรมดา
แม้ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ก็เป็นอดีตไปแล้ว
มอง จากมุมของสังคมไทยซึ่งยังยึดโยงอยู่กับระบบเครือข่าย ระบบอุปถัมภ์ การเคลื่อนไหวของ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ อาจเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา
ใครๆ ก็ทำกัน
ใน ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เดินทางเข้าบ้านสี่เสา เทเวศร์ มาแล้ว
นั่นเป็นสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
จึง มิได้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ จะเดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อเชื่อมประสานไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
คำถามอยู่ที่ว่าเชื่อมประสานอย่างไร
คำตอบ 1 เชื่อมประสานเพราะว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยเป็นผู้บังคับบัญชามาก่อนกระนั้นหรือ
อย่างน้อย 2 ท่านนี้ก็เคยเป็น ผบ.ทบ. เคยเป็นนายกรัฐมนตรี
อย่างน้อย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็เคยเป็น ผบ.ทหารสูงสุด และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
แต่ที่ควรระมัดเป็นอย่างยิ่งก็คือ ตำแหน่งในปัจจุบันของทั้ง 2 คืออะไร
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346043956&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น