หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อว่าด้วยการเลิกทาสและไพร่สยาม

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อว่าด้วยการเลิกทาสและไพร่สยาม

 

 

โดย  อภิชาต สถิตนิรามัย

 

จำได้ว่าในช่วงชั้นมัธยมต้น เมื่อใดที่วันปิยมหาราชเวียนมาถึง บรรดาคุณครูวิชาสังคมมักตักเตือนให้นักเรียนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ รัชกาลที่ห้าในการยกเลิกระบบไพร่และทาส โดยเน้นว่าเป็นการค่อยๆ ยกเลิกทีละขั้นทีละตอน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการเสียเลือดเนื้อ ดังเช่นที่เกิดกับประเทศอเมริกา ซึ่งการเลิกระบบทาสทำให้เกิดสงครามกลางเมือง ผมและเพื่อนๆ ก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณมานาน จนกระทั่งได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ ‘ป่าเถื่อน’ มาก เนื่องจากข้อสมมุติแรกสุดของวิชานี้เริ่มต้นโดยถือว่า มนุษย์ทุกคนเป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” ในความหมายว่า การกระทำหรือไม่กระทำการใดๆ นั้นก็เพื่อผลประโยชน์ของเขาเอง ศีลธรรมจึงไม่มีที่ทางในวิชานี้

David Feeny นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเสนอว่า เราควรจะเข้าใจเรื่องนี้ภายใต้บริบทใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงของยุครัชกาลที่ ห้าในสามประเด็นคือ การขยายตัวของการค้าและระบบตลาด, ความขัดแย้งระหว่างกษัตรย์และขุนนางในการควบคุมแรงงาน, และการปฏิรูปเพื่อรวมศูนย์อำนาจรัฐเข้าสู่กรุงเทพฯ

ภายหลังการเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี พ.ศ. 2398 แล้ว การค้าระหว่างประเทศของสยามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่เส้นทางเดินเรือกลไฟระหว่างจีนตอนใต้กับสยามทำให้มีแรงงานจีนอพยพ เข้าสู่กรุงเทพมหาศาล เนื่องจากมีค่าแรงสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเพิ่มขึ้นของกรรมกรจีนซึ่งเป็นแรงงานรับจ้าง ไม่ใช่แรงงานไพร่ที่ถูกเกณฑ์และบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน (ซ้ำยังต้องเตรียมเสบียงกรังมาเองสำหรับใช้ในช่วงที่ถูกเกณฑ์ด้วย) ย่อมมีแรงจูงใจที่จะทำงานมากกว่าไพร่

ดังนั้น มันจึงคุ้มค่ากว่าที่ผู้ปกครองจะจ้างกรรมกรจีนให้ทำงานแทนการบังคับใช้แรง งานจากไพร่ ผู้ปกครองจึงเริ่มอนุญาตให้ไพร่จ่ายเงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานได้ แต่พวกไพร่ๆ จะไปหาเงินจากไหนมาจ่าย หากระบบเศรษฐกิจการตลาดและการหมุนเวียนของเงินตรายังไม่ขยายตัว คำตอบคือการขยายตัวของการส่งออกข้าวหลังสัญญาเบาว์ริ่ง พูดอีกแบบคือ พวกไพร่เมื่อไม่ต้องถูกบังคับใช้แรงงานแล้วจึงหันไปปลูกข้าวขาย เอาเงินมาจ่ายให้ผู้ปกครองแทนการเกณฑ์แรงงาน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2413 ต้นรัชการที่ 5 ไพร่หลวงต้องจ่ายเงิน 9-12 บาทแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และลดลงเหลือ 6 บาทต่อปีในช่วง พ.ศ. 2440-2441 ต่อมาจึงยกเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาเก็บภาษีรัชชูปการแทน (ภาษีต่อหัวที่สามัญชนทุกคนต้องจ่ายรายปี–poll tax) ในปี 2442 รวมทั้งออกกฎหมายเกณฑ์ทหารในสามปีถัดมา เป็นอันว่าภาษีรัชชูปการและการเกณฑ์ทหารจึงมาแทนการทำงานของระบบไพร่เมื่อ ร้อยปีเศษมานี่เอง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43289

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น