หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สภาเขี่ยตก เข้าชื่อแก้ 112 ไม่เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพ

สภาเขี่ยตก เข้าชื่อแก้ 112 ไม่เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพ

 

 


เว็บไซต์รัฐสภาเผยแพร่ เอกสารสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เมื่อวันที่ 25 ต.ค.55 ซึ่งตารางสรุปผลดังกล่าวปรากฏการจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 112  ของนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ พร้อมด้วยประชาชน 30,383 คน

“ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 (เนื่องจากประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.....) มีหลักการไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”  เอกสารกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ระบุ

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 163 กำหนดในเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้โดยให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ น้อยกว่า 10,000 คนร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ และกฎหมายที่จะเสนอต้องเป็นกฎหมายที่มีหลักการตามที่กำหนดไว้ใน หมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ

การยื่นรายชื่อในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พ.ค.55 โดยนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ พร้อมด้วยคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 พร้อมประชาชนนับร้อยคนได้นำรายชื่อ 39,185 ที่รวบรวมจากทั่วประเทศเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ไปยื่นให้กับประธานรัฐสภา โดยสาระสำคัญสอดคล้องกับร่างแก้ไขมาตรา 112 ของนิติราษฎร์ คือ 

1. ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร

2. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

4. เปลี่ยนบทกำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปี
 สำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

6. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ

7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น แทนพระองค์”

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43435

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น