หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทเรียนจากคำพิพากษายกฟ้องคดี 112 (คดีสุรภักดิ์)

บทเรียนจากคำพิพากษายกฟ้องคดี 112 (คดีสุรภักดิ์)

 


โดย อ.สาวตรี สุขศรี


เกริ่นนำ

หลายคนที่ติดตามสถานการณ์หรือสังเกต การณ์กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยอยู่ คงรู้สึกสงสัย หรือตั้งคำถามในใจว่า เป็นไปได้ด้วยหรือที่การยกฟ้องจำเลยในคดีมาตรา 112 จะเกิดขึ้นได้ใน พ.ศ.นี้ ภายหลังพบว่าในเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 2555 ณ ศาลอาญา รัชดา [1] ผู้ พิพากษาออกนั่งบัลลังก์แล้วอ่านคำพิพากษาให้ยกฟ้องคดี ซึ่งมีนายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) เป็นจำเลย ด้วยข้อหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และ มาตรา 3, 14, 17 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (ต่อไปจะเรียกว่า คดีสุรภักดิ์) ด้วยเหตุผลว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ยังมีความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2 

หากจะกล่าว กันจริง ๆ แล้ว ในบรรดาคดีที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  (โดยจะมีข้อหาอื่น เช่น ข้อหาตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ 2550 ด้วยหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา คดีสุรภักดิ์ไม่ใช่คดีแรกที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย เพราะ...


 

คดีนพวรรณ (ต) หรือที่บางคนรู้จักในชื่อ "คดี Bento" ศาลชั้นต้น (อ.599/2554) ก็มีคำพิพากษายกฟ้องเช่นกัน ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกันว่า โจทก์ไม่สามารถสืบพิสูจน์จนสิ้นสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด [2]  แต่สาเหตุที่ทำให้คดีสุรภักดิ์อยู่ในความสนใจมากกว่าคดี Bento อาจเป็นเพราะว่า คดีที่ตัดสินหรือสิ้นสุดลง (โดยศาลไม่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด) ไปก่อนหน้าคดีสุรภักดิ์  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสามัญชนเป็นจำเลย และได้รับความสนใจจากสาธารณะชน อาทิ คดีดา ตอร์ปิโด [3], คดีสุวิชา (ท่าค้อ) [4], คดีบุญยืน [5], คดีธันย์ฐวุฒิ (หนุ่ม นปช.) [6], คดีโจ กอร์ดอน [7], คดีจีรนุช (ประชาไท) [8] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีอำพล (อากง SMS) [9]  ทุกคดีล้วนแล้วแต่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลย หรือจำเลยถอดใจไม่สู้คดี และหันไปขอพระราชทานอภัยโทษทั้งสิ้น กระทั่งคดีมาตรา 112  คดีล่าสุดที่พึ่งตัดสินไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 (ภายหลังคดีสุรภักดิ์) หรือคดีอุทัย (แจกใบปลิว) [10] ศาล ก็พิพากษาลงโทษจำเลยเช่นกัน แม้จะให้รอลงอาญาไว้ก็ตามที ดังนั้น ผลของคดีสุรภักดิ์จึงมีความน่าสนใจยิ่ง ว่าในช่วงที่ประเทศไทยตกอยู่ในบรรยากาศของการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างมากชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน ในบรรยากาศของการกล่าวหากันด้วยข้อหา "ล้มเจ้า" หรือในบรรยากาศที่มีการปะทะกันทางความคิดของมวลชนฝ่ายหนึ่งที่เรียกร้องให้ ยกเลิก หรือแก้ไขมาตรา 112 กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ห้ามแตะต้องมาตรานี้โดยเด็ดขาด แล้วเหตุใดจำเลยในคดีประเภทนี้จึงได้รับการพิพากษายกฟ้อง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43956

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น