หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โจ กอร์ดอน (ฉบับทิ้งทวน): คนนอก กลาง ‘ความเป็นไทย’

โจ กอร์ดอน (ฉบับทิ้งทวน): คนนอก กลาง ‘ความเป็นไทย’

 

 

 

สัมภาษณ์โดย มุทิตา เชื้อชั่ง
ภาพโดย คิม ไชยสุขประเสริฐ

 

เขาเป็นผู้ต้องโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เชื้อสายไทย-อเมริกัน เกิดในเมืองไทย แต่ไปใช้ชีวิตส่วนใหญ่ราว 30 ปีที่สหรัฐอเมริกา

หลังถูกคุมขังนานเกือบปี เขาตัดสินใจรับสารภาพในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น ‘นายสิน แซ่จิ้ว’ ผู้แปลบางบทของหนังสือ The King Never Smiles ลงในบล็อกส่วนตัว

บล็อกดังกล่าว เขียนหัวบล็อกไว้ว่า “(For Educational Purposes Only/No Plagiarism Please!)
บทแปลจากหนังสือเพื่อการศึกษา ไม่มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่นฯผู้ใด”


หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล ในปี 2549 เขียนโดย Paul M. Handley  เป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทยตามคำให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติในขณะนั้น

ศาลพิพากษาลงโทษเขาเพียง 2 ปีครึ่ง เนื่องจากรับสารภาพ  หลังจากนั้นจึงขอพระราชทานอภัยโทษ และได้ออกจากเรือนจำในวันที่ 10 ก.ค.55 เขาเก็บตัวเงียบอยู่พักใหญ่ ก่อนเดินทางออกจากประเทศไทยไม่เมื่อไม่กี่วันก่อน

1

 

วิเคราะห์ ‘คนใน’ จากสายตา ‘คนนอก’

 

หลังจากออกจากเรือนจำมา มองสถานการณ์ประเทศไทยอย่างไร

คิดว่าประเทศไทยมีความขัดแย้งสูง ไม่มีใครยอมใคร ลักษณะประเทศไทยค่อนข้างอนุรักษ์นิยม conservative สูง ซึ่งมันต้านกับกระแส globalization เอามากๆ ด้านหนึ่งยอมรับความเป็นสากล อีกด้านหนึ่งจะถ่วงเอาไว้ ก็เลยเกิดความขัดแย้งขึ้นมา

ปัญหาของประเทศมันอยู่ที่คนในกลุ่มผู้นำประเทศไม่มีสำนึกทางด้านการทำงาน เพื่อส่วนรวม กลายเป็นกลุ่มหลายกลุ่ม กลุ่มธุรกิจ กลุ่มทหาร กลุ่มนักการเมือง กลุ่มราชการ ทุกคนมีอิทธิพลกันหมด กลายเป็นอำนาจที่ abusive เกินไป จะบอกว่ามีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมในสังคมก็ได้ การใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่กลุ่มคล้ายเป็นมาเฟีย นี่เป็น characteristic ของประเทศด้อยพัฒนา หลีกเลี่ยงไม่ได้ สังคมก็เลยเลอะเทอะ ไม่มีความเป็นระเบียบ

นับตัวเองเป็นคนในหรือคนนอก
 
เป็นคนนอก เราเพียงแต่เกิดที่นี่ แต่ไม่ได้มาตรฐานชีวิตในลักษณะที่เขาเป็นอยู่กัน เรามองประเทศไทยว่ามาตรฐานยังไม่ได้ในระดับสากล สิ่งที่มันเป็นสากลไม่ใช่ของคนไทยทั้งนั้น ห้างสรรพสินค้า บรรษัทใหญ่ทั้งหลายมีระบบการบริหารที่เป็นสากลทั้งนั้น แต่สิ่งที่ ‘เป็นไทย’ ดูเหมือนไม่ได้พัฒนาอะไร ลองดูหน่วยงานของไทย ระบบของไทยที่ทำกันมันไม่มีระบบ

ถ้าจะให้นิยาม “ความเป็นไทย” ในความรู้สึกหรือเท่าที่เห็น คืออะไร

เขายอมรับความจริงกันไม่ได้ เป็นสังคมที่เสแสร้ง เพราะถ้ายอมรับความจริงแล้วมัน hurt feeling ที่สำคัญที่สุดคือวัฒนธรรมที่ว่าเสียหน้าไม่ได้ เพราะความหน้าบาง ฝรั่งบอกว่าคุณต้องมีหนังหนาถึงจะทำงานใหญ่สำเร็จ you have to have a thick skin ของไทยพูดวิพากษ์วิจารณ์กันหน่อยก็ทนไม่ได้แล้ว เพราะความบางของหนังรับแรงต้านทานไม่ได้ พอรับไม่ได้ก็เดือดร้อน ต้องการเอาคืน

(ที่มา) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43568

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น