หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๘

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๘ 




โดย  ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล


เมื่อเร็ว ๆ นี้ สังคมไทยได้รับฟังแนวคิดบางอย่างเกี่ยวกับ “การแช่แข็ง” ซึ่งเท่าที่ผู้เขียนเข้าใจ ก็คงจะหมายความในทำนองว่า จะต้องหันกลับไปใช้วิธีการ “เก็บรักษา” สิ่งซึ่งตนต้องการไว้ใน “ลักษณะฝืนต่อเงื่อนไขของความเปลี่ยนแปลง” ในทุก ๆ ทางที่เป็นไปได้ อีกนัยหนึ่ง ผู้เสนอความคิดนี้นั้นไม่คำนึงเลยว่า “สภาพความเป็นจริงที่เห็นประจักษ์ชัด” อยู่นั้นจะเป็นเช่นไร หวังเพียงการแช่แข็งจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็อาจจะเป็นประสบการณ์ส่วนตัวและทัศนคติที่ถูกปลูกฝังมายาวนานของผู้ กล่าวก็เป็นได้

ในทัศนะของผู้เขียน จึงใคร่ที่จะตั้งปัญหาว่าเราจะสามารถ “แช่แข็ง” ทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามความปรารถนาของเรากระนั้นหรื
บังเอิญว่า ผู้เขียนเคยสนใจอ่านชีวประวัติและงานของชาร์ลส์ ดาร์วิน อยู่บ้าง เลยทำให้นึกถึงสิ่งที่ดาร์วินได้เคยอธิบายโดยตนเองพอจะจับใจความได้ว่า การที่สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ต้องต่อสู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับบรรดาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นและสภาพทาง ภูมิศาสตร์กายภาพอื่น ๆ ที่แวดล้อมตนอยู่นั้นได้ก่อให้เกิดความหลากหลายและความเปลี่ยนแปลงของสาย พันธุ์ในเวลาต่อมา และนี่คือกุญแจสำคัญของความอยู่รอด ซึ่งย่อมแสดงว่าตามกฎธรรมชาติแล้ว การดำรงชีวิตของสรรพสัตว์ย่อมอาศัยการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ และจะต้องพร้อมอยู่เสมอด้วยเช่นกันสำหรับความเปลี่ยนแปลง เพราะผู้ที่เหมาะสมและสนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงได้ที่สุดเท่านั้นจึงจะยัง คงมีชีวิตรอดได้

ที่ว่ามานั้นเป็นกฎธรรมชาติทางชีววิทยาโดยตรง แต่หากเราลองหันกลับมาสำรวจมนุษย์กันบ้าง

คำ ถามก็คือ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหนึ่ง ๆ ของหมู่มนุษย์นั้น สังคมมนุษย์ไม่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงกระนั้นหรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่น่าจะเห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม และในด้านสัมพันธภาพของอำนาจทางการเมือง และยิ่งถ้าใช้ความคิดเรื่องแช่แข็งมาพิจารณาด้วยแล้ว เราจะแช่แข็งสังคมมนุษย์เพื่อไม่ให้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลยได้หรือไม่


ผู้เขียนไม่ประสงค์จะตอบคำถามที่ตนเองได้ตั้งไว้ข้างต้น เพราะคงไม่ยากนักที่วิญญูชนปกติทั่วไปจะให้คำตอบในเรื่องนี้ได้ แต่ถ้าถามไปยังเจ้าของความคิดเรื่องแช่แข็งก็อาจจะได้คำตอบอีกลักษณะหนึ่ง ที่กลั่นจากมันสมองและประสบการณ์อันยาวนานส่วนบุคคล และคงเป็นคำอธิบายที่ยืดยาวออกไปยิ่งกว่านี้เป็นแน่

ปัญหาก็คือถ้าเช่นนั้น เจ้าของความคิดเรื่องแช่แข็งมุ่งเสนอความคิดเหล่านี้ออกสู่สังคมเพื่อเหตุผลใดกัน

ผู้เขียนเองก็พยายามนึกไปต่าง ๆ นานา ในการแสวงหาและใช้เหตุผลมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ แต่ก็มาสะดุดในสิ่งที่เคยผ่านตามาแล้วที่ว่า

 
(อ่านต่อ)
http://www.enlightened-jurists.com/blog/72

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น