"การหวนคืนสู่เอเชีย" ของ"บารัค โอบามา" จับตา จุดเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง !!!

บารัค โอบามา มาแล้ว! จะพร้อมหรือไม่พร้อมก็ตามที สหรัฐอเมริกาก็มาแล้ว
มาเคาะประตูถึงบ้าน เชิญชวนให้เข้าร่วมกระบวนการที่เรียกขานกันในละแวกวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า ไพวอท ทู เอเชียŽ ที่ผมขอเรียกว่าเป็นการ หวนคืนสู่เอเชียŽ อันเป็นความพยายามเพื่อการ ปรับสมดุลทางอำนาจŽ ครั้งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ไพ วอท ทู เอเชียŽ เริ่มพูดกันเป็นครั้งแรกไม่นานหลังจาก บารัค โอบามา สาบานตนเข้ารับตำแหน่งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อ 4 ปีก่อน รูปธรรมของนโยบายสำคัญของผู้นำสหรัฐที่เกิดที่ฮาวายและใช้ชีวิตช่วงหนึ่ง เมื่อเยาว์วัยอยู่ในอินโดนีเซียผู้นี้ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างให้เห็นในช่วง 2 ปีหลังในวาระแรกของการดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสหรัฐ
ยังไม่ทัน เริ่มวาระที่สอง อันเป็นสมัยสุดท้ายในการดำรงตำแหน่ง บารัค โอบามา ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจริงจังกับการหวนคืนสู่เอเชียครั้งนี้
เพียง ใด ด้วยการเดินทางเยือน 3 ประเทศสมาชิกอาเซียนและเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (อีสต์ เอเชีย ซัมมิท-อีเอเอส) ด้วยตัวเอง หวังจะทิ้งมันไว้เป็นมรดกสืบทอดของตนเองสืบต่อไปในวันข้างหน้า
ไพวอท ทู เอเชียŽ ดำเนินไปในทุกมิติ ในทางเศรษฐกิจ การค้า รวมทั้งในด้านความมั่นคง เรื่อยไปจนถึงเรื่องราวในเชิงวัฒนธรรม
การศึกษา วิจัย
อาศัย ข้อเท็จจริงที่ว่า ดุลแห่งอำนาจในทุกๆ ด้านในภูมิภาคเอเชียถูกดึงรั้งไปในทางด้านหนึ่งด้านเดียวอย่างน่าวิตก สหรัฐค่อยๆ แทรกตัวเข้ามาหยัดยืนอย่างมั่นคงอีกครั้งในเอเชีย เตรียมพร้อมที่จะแสดงให้เห็นว่า ดุลยภาพใหม่ในภูมิภาคนี้กำลังเกิดขึ้นให้เห็น
ในทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รูปธรรมที่ชัดเจนอย่างยิ่งของ ไพวอท ทู เอเชียŽ คือการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจใหม่อย่าง หุ้นส่วนสองฝั่งแปซิฟิกŽ หรือ ทีพีพีŽ ที่มีเป้าหมายชัดเจนอย่างยิ่ง เพราะสมาชิกจะเป็นประเทศใดก็ได้ในสองฟากฝั่งแปซิฟิก ยกเว้น จีนŽ
ใน เชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง สหรัฐก็มีความชัดเจนอย่างยิ่งในการขอเข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดการŽ ด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงในภูมิภาคนี้ ด้วยคำอธิบายง่ายๆ ที่ว่า
แปซิฟิกกว้างใหญ่ไพศาลเพียงพอที่จีนกับสหรัฐจะอยู่ร่วมกันได้Ž
มาเคาะประตูถึงบ้าน เชิญชวนให้เข้าร่วมกระบวนการที่เรียกขานกันในละแวกวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า ไพวอท ทู เอเชียŽ ที่ผมขอเรียกว่าเป็นการ หวนคืนสู่เอเชียŽ อันเป็นความพยายามเพื่อการ ปรับสมดุลทางอำนาจŽ ครั้งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ไพ วอท ทู เอเชียŽ เริ่มพูดกันเป็นครั้งแรกไม่นานหลังจาก บารัค โอบามา สาบานตนเข้ารับตำแหน่งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อ 4 ปีก่อน รูปธรรมของนโยบายสำคัญของผู้นำสหรัฐที่เกิดที่ฮาวายและใช้ชีวิตช่วงหนึ่ง เมื่อเยาว์วัยอยู่ในอินโดนีเซียผู้นี้ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างให้เห็นในช่วง 2 ปีหลังในวาระแรกของการดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสหรัฐ
ยังไม่ทัน เริ่มวาระที่สอง อันเป็นสมัยสุดท้ายในการดำรงตำแหน่ง บารัค โอบามา ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจริงจังกับการหวนคืนสู่เอเชียครั้งนี้
เพียง ใด ด้วยการเดินทางเยือน 3 ประเทศสมาชิกอาเซียนและเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (อีสต์ เอเชีย ซัมมิท-อีเอเอส) ด้วยตัวเอง หวังจะทิ้งมันไว้เป็นมรดกสืบทอดของตนเองสืบต่อไปในวันข้างหน้า
ไพวอท ทู เอเชียŽ ดำเนินไปในทุกมิติ ในทางเศรษฐกิจ การค้า รวมทั้งในด้านความมั่นคง เรื่อยไปจนถึงเรื่องราวในเชิงวัฒนธรรม
การศึกษา วิจัย
อาศัย ข้อเท็จจริงที่ว่า ดุลแห่งอำนาจในทุกๆ ด้านในภูมิภาคเอเชียถูกดึงรั้งไปในทางด้านหนึ่งด้านเดียวอย่างน่าวิตก สหรัฐค่อยๆ แทรกตัวเข้ามาหยัดยืนอย่างมั่นคงอีกครั้งในเอเชีย เตรียมพร้อมที่จะแสดงให้เห็นว่า ดุลยภาพใหม่ในภูมิภาคนี้กำลังเกิดขึ้นให้เห็น
ในทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รูปธรรมที่ชัดเจนอย่างยิ่งของ ไพวอท ทู เอเชียŽ คือการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจใหม่อย่าง หุ้นส่วนสองฝั่งแปซิฟิกŽ หรือ ทีพีพีŽ ที่มีเป้าหมายชัดเจนอย่างยิ่ง เพราะสมาชิกจะเป็นประเทศใดก็ได้ในสองฟากฝั่งแปซิฟิก ยกเว้น จีนŽ
ใน เชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง สหรัฐก็มีความชัดเจนอย่างยิ่งในการขอเข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดการŽ ด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงในภูมิภาคนี้ ด้วยคำอธิบายง่ายๆ ที่ว่า
แปซิฟิกกว้างใหญ่ไพศาลเพียงพอที่จีนกับสหรัฐจะอยู่ร่วมกันได้Ž
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353220690&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น