หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การรัฐประหารในประเทศไทย

การรัฐประหารในประเทศไทย






รัฐประหารในสังคมไทยมักใช้ปะปน และสับสนกับคำว่า ยึดอำนาจ หรือ การปฏิวัติ หรือ ปฏิวัติรัฐประหาร ในวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์ จะถือว่าการรัฐประหารไม่ใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมือง แบบ ประชาธิปไตย และถือเป็นความผุพังทางการเมือง (political decay)แบบหนึ่ง รัฐประหารหมายถึงการล้มล้าง รัฐบาล ที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองของทั้งรัฐ และมิจำเป็นต้องมีกาใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่งและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที แบบนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร ความพยามในการก่อรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จมักถูกดำเนินคดีในข้อหา กบฏ รัฐประหารในประเทศไทย คณะรัฐประหารในประเทศไทยที่ก่อการสำเร็จมักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวกอย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่การ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้นเกิดขึ้นใน ประเทศไทยเพียงครั้งเดียวคือเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 

ที่ผ่านมาผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่าย ทหารบก ทั้งสิ้น ส่วน ทหารเรือ ได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ก็ไม่สำเร็จคือกบฏวังหลวง ใน พ.ศ. 2492 และ กบฏแมนฮัตตันใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอนาจในแวดวงการเมืองไทยไป

1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ปิด สภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี

3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี

4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการ รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นาย ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น