หน้าเว็บ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผิดหวังโอบาม่า ผิดหวังยิ่งลักษณ์??

ผิดหวังโอบาม่า ผิดหวังยิ่งลักษณ์??



[ภาพ: obama3.png]
เราไม่เคยหลงเชื่อว่าพรรคเดโมแครดของโอบาม่าเป็น พรรค “ซ้าย” ของคนจน หรือเป็นพรรคของขบวนการแรงงาน เพราะในสหรัฐอเมริกาสองพรรคการเมืองหลักเป็นพรรคของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่าง ชัดเจน มีการใช้เงินมหาศาลในการหาเสียง และมีการร่วมกันเสนอนโยบาย “โดยนายทุนเพื่อนายทุน” เช่น นโยบายลดภาษีให้คนรวย หรือนโยบายจักรวรรดินิยมที่ก้าวร้าวไปทั่ว 

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ 


เราไม่น่าจะผิดหวังอะไรกับผลงานในรอบ 4 ปีที่แล้วของประธานาธิบดีโอบาม่า และไม่น่าจะผิดหวังอะไรกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ด้วย เพราะเราไม่ควรจะมีความหวังกับนักการเมืองฝ่ายนายทุนเหล่านี้ตั้งแต่แรก เราควรมั่นใจมานานแล้วว่าเขาจะหักหลังพวกเราแน่นอน

ในการเลือกตั้งที่สหรัฐ ทั้งๆ ที่ โอบาม่าชนะ แต่เราก็เห็นชัดว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยตั้งความหวังกับโอบาม่า ผิดหวังจนคะแนนเสียงของโอบาม่าตกต่ำลง คือโอบาม่าได้คะแนนมากกว่ารอมนี้แค่ 2% เอง เทียบกับปี 2008 เขาได้มากกว่ามะเคน 7% และคนที่ลงคะแนนให้โอบาม่าลดจาก 70 ล้านเสียงเหลือแค่ 60 ล้าน เป็นเพราะอะไร?

   
สำหรับนักสังคมนิยม เราไม่เคยหลงเชื่อว่าพรรคเดโมแครดของโอบาม่าเป็นพรรค “ซ้าย” ของคนจน หรือเป็นพรรคของขบวนการแรงงาน เพราะในสหรัฐอเมริกาสองพรรคการเมืองหลักเป็นพรรคของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่าง ชัดเจน มีการใช้เงินมหาศาลในการหาเสียง และมีการร่วมกันเสนอนโยบาย “โดยนายทุนเพื่อนายทุน” เช่น นโยบายลดภาษีให้คนรวย หรือนโยบายจักรวรรดินิยมที่ก้าวร้าวไปทั่ว นอกจากนี้เราก็จะปฏิเสธด้วยว่ารัฐบาลพรรคเดโมแครดจะเป็นรัฐบาลที่ “แย่น้อยกว่า” รัฐบาลพรรคริพับลิแคนทั้งๆ ที่นักการเมืองพรรคริพับลิแคนมักใช้วาจาของพวกอนุรักษ์นิยมสุดขั้วก็ตาม ถ้าไม่เชื่อก็ต้องดูรูปธรรมของนโยบายทั้งสองพรรคเมื่อเป็นรัฐบาล
   
โอบาม่าชนะการเลือกตั้งในปี 2008 และเข้ามาเป็นประธานาธิบดีท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่ ยุค 1930 แต่แทนที่โอบาม่าจะปฏิรูปโครงสร้างระบบทุนนิยมเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจใน ลักษณะการปรองดองระหว่างทุนกับคนงานกรรมาชีพ อย่างที่ประธานาธิบดีรุสเวลท์เคยทำในยุค 1930 โดยการใช้รัฐสร้างงานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสหภาพแรงงาน โอบาม่ากลับเลือกข้างนายทุนฝ่ายเดียว และให้คนทำงานธรรมดาต้องแบกภาระจากวิกฤตที่ตนเองไม่ได้สร้าง



นโยบายเศรษฐกิจของโอบาม่าเป็นการต่อยอดนโยบายของ รัฐบาลบุชที่มาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะในเรื่องการปล่อยให้ธนาคารดำเนินกิจการและกอบโกยอย่างเสรี อันนี้เป็นการเลือกของโอบาม่า ไม่ใช่ว่าถูกบังคับแต่อย่างใด 

หลังจากที่กระตุ้นเศราฐกิจเล็กน้อย โอบาม่าหันมาใช้ลัทธิเสรีนิยมกลไกตลาดตามเคย ซึ่งเน้นการตัดสวัสดิการและแปรรูปภาครัฐให้เป็นเอกชน

เราเข้าใจได้ดีว่าทำไมโอบาม่าเลือกข้างนายทุน ซึ่งไม่ต่างจากพรรคริพับลิแคนเพราะในหนังสือของโอบาม่าที่ออกมาในปี 2007 เขาเล่าว่าตอนที่เขาเป็นวุฒิสมาชิกในสภา เขาเริ่มคลุกคลีกับพวกนายทุนและคนรวยที่สุด 1% ของประเทศจนตัวเขาเองเริ่มเคารพและคิดเหมือนพวกนั้น




เมื่อเราพิจารณาความเดือดร้อนของคนงานสหรัฐ โดยเฉพาะคนงานประกอบรถยนต์ที่เป็นสมาชิกสหภาพ United Auto Workers (UAW) ซึ่งกำลังตกงานจากวิกฤตที่เริ่มในระบบธนาคาร เราจะเห็นว่าหัวหน้าทีมงานของประธานาธิบดีโอบาม่าเคยพูดในทำเนียบขาวว่า
“สหภาพนี้ไปตายห่าก็ได้” (“Fuck the UAW”) ซึ่งผลของนโยบายดังกล่าวบวกกับความขี้ขลาดของผู้นำแรงงานระดับชาติ แปลว่าคนงานสหรัฐต้องแบกภาระการตกงานและการถูกตัดเงินเดือน เพื่อให้มีการฟื้นฟูกำไรสำหรับกลุ่มทุน ต่อมาท่าทีของนายกเทศมนตรีเมืองชิคาโก ซึ่งเป็นนักการเมืองพรรคเดโมแครดก็ไม่ต่าง เพราะพยายามแข็งข้อกับครูทั่วเมืองที่นัดหยุดงานในปีนี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการพัฒนาสภาพโรงเรียนและสภาพการจ้างงาน
   
โดยรวมแล้วในสหรัฐตอนนี้มีตำแหน่งงานน้อยกว่าก่อนวิกฤตระเบิดขึ้นในปี 2007 ถึง 4.2 ล้านตำแหน่ง ปัจจุบันครึ่งหนึ่งของคนทำงานในสหรัฐ(75 ล้านคน) อยู่ในสภาพยากจนมีรายได้ไม่พอ คือต่ำกว่า $26,000 และถ้าเรารวมรายได้ทั้งหมดของคนงานทุกคนทั่วประเทศที่กินเงินเดือนเท่ากับ หรือต่ำกว่า $50,000 มันยังน้อยกว่ารายได้ทั้งหมดของคนรวยที่สุด 1%

ในแง่ของการมีประธานาธิบดีผิวดำคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ คนทำงานผิวดำไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะระดับการตกงานของคนผิวดำเพิ่มขึ้น 11% ในยุคโอบาม่า และความแตกต่างระหว่างรายได้เฉลี่ยของคนผิวขาวกับคนผิวดำก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย คือตอนนี้ 22 เท่า

   
แม้แต่ในเรื่องระบบประกันสุขภาพ ซึ่งระบบสหรัฐแย่กว่าของไทยอีก เพราะพลเมืองจำนวนมากไม่มีการประกันเลย โอบาม่าก็ขี้ขลาดลังเลใจ และในที่สุดก็สนับสนุนกฏหมายประกันสุขภาพที่ไม่ต่างจากระบบที่ มิต รอมนี้ คู่แข่งพรรคริพับลิแคนนำมาใช้ก่อนหน้านั้นในรัฐแมแซชูเซทส์ คือยังแย่กว่าของไทยหรือของรัฐสวัสดิการในยุโรป
   
ในเรื่องนโยบายต่างประเทศ หลายคนเคยหวังว่ารัฐบาลโอบาม่าจะเปลี่ยนจุดยืน จากความก้าวร้าวเบ่งอำนาจของรัฐบาลบุช หลายคนคิดว่าโอบาม่าจะพยายามปรึกษาหารือกับประเทศอื่นๆ ก่อนที่จะทำอะไร แต่ที่ไหนได้ ในคำปราศัยหลังชัยชนะครั้งที่สอง โอบาม่าพูดว่าเขาภูมิใจในการที่สหรัฐอเมริกามีกองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
โอบาม่าเป็นผู้นำร่องในการเข้นฆ่าพลเรือนในตะวัน ออกกลางและในปากีสถาน ด้วยเครื่องบินไร้นักบิน(Drone) เป็นผู้นำร่องในการตามฆ่าบินลาเดน เป็นผู้ที่สนับสนุนการใช้อำนาจทหารในลิบเบียเพื่อแทรกแซง “ไฮแจก” การปฏิวัติ 

เป็นผู้ที่เพิ่มกำลังทหารในเอเชียเพื่อค้านจีน และโอบาม่าก็สนับสนุนหมารับใช้ของสหรัฐในตะวันออกกลางอย่างเต็มที่ คือเป็นเพื่อนที่ดีของอิสราเอลในการที่อิสราเอลกดขี่ปราบปรามชาวปาเลสไตน์

นอกจากนี้โอบาม่าผิดสัญญาว่าจะปิดคุกทหารกวานทานาโมเบย์ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง และผิดสัญญาว่าจะยุติสงครามในอัฟกานิสถาน แต่เราไม่ควรแปลกใจเลย เพราะในอดีต รัฐบาลพรรคเดโมแครดกับพรรคริพับลิแคนมีนโยบายจักรวรรดินิยมพอๆ กัน อย่าลืมว่าประธานาธิบดีเคเนดีและจอห์นสัน จากพรรคเดโมแครด เป็นผู้ที่เพิ่มจำนวนทหารและการทิ้งระเบิดมหาศาลในสงครามเวียดนาม

   
ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเดโมแครดกับสหภาพแรงงาน เราต้องเข้าใจว่าตั้งแต่ยุค 1930 พรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐ ซึ่งมีอิทธิพลในหมู่นักเคลื่อนไหวแรงงานยุคนั้น ใช้นโยบายสร้าง “แนวร่วมข้ามชนชั้น” กับพรรคนายทุนอย่างเดโมแครด และมีบทบาทสำคัญในการห้ามไม่ให้เกิด “พรรคแรงงาน” อย่างแท้จริง อย่างที่เราเห็นในยุโรป เช่นพรรคสังคมนิยมปฏิรูปทั้งหลาย และต่อมาในสมัยสงครามเย็น รัฐอเมริกาใช้ “การล่าแม่มด” ในการปราบคอมมิวนิสต์อย่างหนักจนพรรคไม่เหลือซาก ในขณะเดียวกันยุคนั้นเป็นยุคที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวและฐานะของคนงานดีขึ้น ชั่วคราว ผลในระยะยาวคือในการเลือกตั้งที่สหรัฐไม่มีพรรคทางเลือกเลย มีแต่พรรคนายทุนทีม A กับพรรคนายทุนทีม B แต่พวกผู้นำแรงงานน้ำเน่าก็ได้แต่เกาะพรรคเดโมแครดต่อไป
   
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝ่ายที่ได้เสียงมากที่สุดคือฝ่ายที่ไม่เลือกใคร คาดว่าประชาชนสหรัฐที่มีสิทธิ์เลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิ์มีประมาณ 48% ของประชาชนทั้งหมด ซึ่งมากกว่าคนที่ลงคะแนนเสียงให้โอบาม่าหรือรอมนี้และปีนี้คนที่ไปใช้สิทธิ์ ลดลงจากปี 2008 ประมาณ 10%

ดังนั้นเราสรุปได้ไหมว่าการเมืองในระบบเลือกตั้งของสหรัฐไม่มีความหมายสำหรับคนทำงานธรรมดา? ในแง่หนึ่งเราพูดได้ แต่ในอีกแง่ก็ไม่ถูก

   
ชัยชนะของโอบาม่าในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ 4 ปีก่อน มีความสำคัญที่ผู้ลงคะแนนเสียงให้โอบาม่า เพราะมันสะท้อนว่าคนสหรัฐจำนวนมากต้องการการเปลี่ยนแปลง และมันสะท้อนว่าคนสหรัฐจำนวนมากไม่เหยียดสีผิวของโอบาม่าด้วยแน่นอนคนที่ไป เลือกโอบาม่ารอบแรกจำนวนมากผิดหวังไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนที่มองว่าการมีโอบาม่าเป็นประธานาธิบดีจะดีกว่าการมีคนอย่างรอม นี้และพรรคพวก

เหตุผลที่คนเหล่านี้จะใช้คือ ฝ่ายรอมนี้ประกอบไปด้วยนักการเมืองยุคไดโนเสาร์ที่คลั่งศาสนา ดูถูกสิทธิสตรี และปฏิเสธปัญหา
“โลกร้อน” ซึ่งเป็นความจริง แต่ในภาพรวมมันเป็นการมองข้ามนโยบายรูปธรรมของฝ่ายเดโมแครดเมื่อเป็นรัฐบาล และเป็นการให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาสหรัฐมากไป

อย่างไรก็ตามนักสังคมนิยมต้องเข้าใจคนที่ลงคะแนนให้โอบาม่า และพยายามแลกเปลี่ยนกับคนเหล่านี้ให้ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปธรรม เช่นการสู้ผ่านสหภาพแรงงาน อย่างที่เกิดขึ้นกับการนัดหยุดงานของครูทั่วเมืองชิคาโกซึ่งได้รับชัยชนะ หรือการรณรงค์ยึดพื้นที่กลางเมืองของขบวนการ Occupy และขบวนการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่นการต้านโลกร้อน หรือการต้านจักรวรรดินิยม เป็นต้น เพราะขบวนการเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมสหรัฐได้มากกว่าการไป เลือกตั้ง ทั้งๆ ที่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยเท่านั้น แต่มันก็เป็นก้าวแรกที่สำคัญ

   

ในอดีตการเปลี่ยนแปลงของสังคมสหรัฐมาจากการ ต่อสู้นอกรัฐสภาทั้งนั้น เช่นการลุกฮือนัดหยุดงานในยุค 1930 การเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำ สตรี และเกย์ทอมดี้ การต่อต้านสงครามเวียดนาม หรือแม้แต่การเผาเมืองท่ามกลางการก่อจลาจล เป็นต้น
   
การเลือกตั้งในสหรัฐอาจไม่มีความหมายในตัวมันเอง และถ้าเราเป็นนักสังคมนิยมในสหรัฐ เราจะไม่เสียเวลาหรือสร้างความหวังเท็จด้วยการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือหา เสียงให้โอบาม่า แต่มันเป็นโอกาสที่จะพบประชาชนธรรมดาที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ส่วนพวกที่นั่งอยู่บ้านและไม่ไปใช้เสียงก็น่าเห็นใจ แต่คนเหล่านั้นมีแนวโน้มจะไม่มีกำลังใจพอที่จะเคลื่อนไหวนอกระบบรัฐสภาเลย เขาจึงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของนักเคลื่อนไหว

เวลาเราพิจารณาการเลือกตั้งที่สหรัฐ เราควรคิดกลับมาที่ไทย การเลือกตั้งในเดือนกรกฏาคมปี ๒๕๕๔ สำคัญที่เราสามารถแสดงให้สังคมเห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่เอาทหารและไม่เอาพรรคประ ชาธิปัตย์ คือเราต่อต้านรัฐประหารและการฆ่าประชาชน แต่มันไม่ได้สำคัญตรงที่เราได้พรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะพรรคเพื่อไทยประกอบไปด้วยนักการเมืองฝ่ายทุนบวกกับโจรทางการเมืองด้วย


และถ้าเราพิจารณาตัวนโยบายของรัฐบาล โดยไม่พิจารณาที่มาที่ไปของรัฐบาลนี้ หรือความหลังของพรรคต่างๆ เราสามารถฟันธงได้ว่านโยบายพรรคเพื่อไทยจะไม่ต่างและไม่ดีกว่าพรรคประชา ธิปัตย์ในรูปธรรมมากนัก และทั้งสองพรรคก็เลวพอๆ กันในเรื่องกฏหมาย 112 การขังลืมนักโทษทางการเมือง การไม่ปฏิรูประบบยุติธรรม การไม่ลดอำนาจกองทัพ และการไม่นำฆาตกรที่สั่งฆ่าเสื้อแดงมาขึ้นศาล และคงเลวพอๆ กันในเรื่องการต่อต้านการสร้างรัฐสวัสดิการผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย หรือการแก้ปัญหาสงครามกลางเมืองในภาคใต้ผ่านการให้สิทธิคนในพื้นที่ที่จะ กำหนดอนาคตของตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถังแนวคิดชาตินิยมสุดขั้วของรัฐไทยอีก ด้วย

   
สรุปแล้วในการเลือกตั้งข้างหน้าเราไม่ควรไปเลือกพรรคเพื่อไทย เราควรกาช่องไม่เลือกใคร แต่ที่สำคัญกว่าหลายร้อยเท่า เราต้องเน้นการเคลื่อนไหวของขบวนการต่างๆ เป็นหลัก เช่นสหภาพแรงงาน การรณรงค์ต่อต้านกฏหมายเผด็จการ 112 การรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมืองและนำฆาตกรมาขึ้นศาล และการต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการ และแน่นนอนถ้าเราจะทำสิ่งเหล่านี้ด้วยประสิทธิภาพ เราต้องมีองค์กรหรือพรรคการเมืองสังคมนิยมของเราเอง ที่อิสระจากพรรคเพื่อไทยและแกนนำ นปช.
   
ประชาธิปไตยและสิทธิที่จะลงคะแนนเสียงเป็นสิ่งสำคัญ แต่มันสำคัญตรงที่มันช่วยสร้างพื้นที่ในการเคลื่อนไหว และเปิดโอกาสให้เราสร้างพรรคทางเลือกได้ แต่ในสหรัฐกับไทย พรรคทางเลือกที่แท้จริงยังไม่เกิด
 

(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/11/blog-post_8.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น