หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เชิญดูรายการโทรทัศน์อัลจาซิราเรื่อง 112(ภาคภาษาอังกฤษ)

เชิญดูรายการโทรทัศน์อัลจาซิราเรื่อง 112(ภาคภาษาอังกฤษ)




Aljazera - lese majeste in Thailand
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=a78ZWegmiD4 

ทหาร กษัตริย์ และกฏหมาย 112

 

ในหลวงเสด็จออกจากศิริราชแล้ว เสด็จสู่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ 

บทความนี้เสนอว่าผู้ที่ทำลายประชาธิปไตยไทยอย่างต่อเนื่องคือทหาร โดยที่กษัตริย์ภูมิพลถูกใช้เป็นเครื่องมือเชิงสัญญลักษณ์ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับทหารเป็นหลัก และกฏหมาย 112 มีไว้เพื่อปิดปากผู้รักประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของทหารและอำมาตย์ส่วนอื่น นายภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่ไร้อำนาจและไร้ความกล้าหาญใดๆ แต่นั้นไม่ได้แปลว่านายภูมิพลเป็น เหยื่อเพราะ เขาพร้อมใจจะร่วมมือกับทหารและผู้มีอำนาจอื่นๆ เสมอ เราไม่ได้อยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐไทยเป็นรัฐทุนนิยมสมัยใหม่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ทหาร กษัตริย์ และกฏหมาย 112 แบบนี้ แปลว่าในรูปธรรม การจัดการกับกฏหมาย 112 ต้องทำพร้อมกับการลดอำนาจอันไม่ชอบธรรมของทหาร และมันแปลว่าการสิ้นชีวิตของนายภูมิพลในอนาคต จะไม่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองแต่อย่างใด เพราะทหารจะพยายามนำกษัตริย์คนใหม่ขึ้นมาให้ความชอบธรรมกับเขาต่อไป 

ทหาร กษัตริย์ และกฏหมาย 112


เมื่อทหารก่อรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ทหารอ้างว่ากระทำเพื่อ ปฏิรูป และ ปกป้อง ระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข รัฐประหารนี้ถือว่าเป็นการนำสถาบันกษัตริย์เข้ามาในการให้ความชอบธรรมกับการ ทำลายประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย 

ต่อจากนั้นมีการเพิ่มการใช้กฏหมายหมิ่นกษัตริย์ (มาตรา 112) ในการปิดปากผู้ที่คัดค้านรัฐประหารและทุกอย่างที่ทหารและรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำ ในภายหลัง ในที่สุดมีการเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าด้วยข้ออ้างว่ากำลัง “ปกป้องสถาบันกษัตริย์” และตลอดเวลาที่มีวิกฤตการเมืองรอบนี้ กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยออกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และชีวิตของประชาชนเลย

ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ทหาร กษัตริย์ และ กฏหมาย 112 เพื่อให้เราชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาเผด็จการตรงจุดใดบ้าง

บท ความนี้จะเสนอว่าผู้ที่ทำลายประชาธิปไตยไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคจอมพลป. พิบูลสงคราม คือทหาร โดยที่กษัตริย์ภูมิพลมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการถูกใช้เป็นเครื่องมือเชิงสัญญลักษณ์ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับทหารเป็นหลัก และกฏหมาย 112 มีไว้เพื่อปิดปากผู้รักประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของทหาร

นอก จากทหารแล้ว ชนชั้นนายทุนกับข้าราชการชั้นสูงในไทย ก็พยายามเกาะโหนกษัตริย์ภูมิพลในรูปแบบเดียวกันด้วย แต่นั้นไม่ได้แปลว่านายภูมิพลเป็น เหยื่อเพราะ เขาพร้อมใจจะร่วมมือกับทหารและนายทุนเสมอ และที่สำคัญพร้อมจะรับตำแหน่งการเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งแปลว่าเขาควรมีหน้าที่ในการปกป้องประชาชนและประชาธิปไตยเสมอ แต่ปรากฏว่านายภูมิพลละเลยหน้าที่นี้มาตลอด และเลือกที่จะปกป้องคนส่วนน้อยที่เป็นชนชั้นปกครองแทน ล่าสุดเขาปล่อยให้ทหารกับรัฐบาลประชาธิปัตย์เข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่เรียก ร้องประชาธิปไตยในปี ๒๕๕๓ 

ในขณะเดียวกันนายภูมิพลเสพสุขจากทรัพย์สินมหาศาล ที่ควรจะเป็นของประชาชนไทยทุกคนแทนที่จะอยู่ในมือของบุคคลคนเดียว และยิ่งกว่านั้นในฐานะที่เป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศไทยและกษัตริย์ที่รวย ที่สุดในโลก เขายังไม่ละอายใจที่จะสั่งสอนคนจนให้เจียมตัวกับความจนภายใต้ลัทธิสุดขั้ว ที่เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง

ผู้เขียนมองว่านายภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่ไร้อำนาจและไร้ความกล้าหาญใดๆ เราไม่ได้อยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐไทยเป็นรัฐทุนนิยมสมัยใหม่ ทั้งๆที่มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญดำรงอยู่ในรูปแบบทหารและอำมาตย์ส่วนอื่นๆ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ทหาร กษัตริย์ และกฏหมาย 112 แบบนี้ แปลว่าในรูปธรรม การจัดการกับกฏหมาย 112 ต้องทำพร้อมกับการลดอำนาจอันไม่ชอบธรรมของทหาร และมันแปลว่าการสิ้นชีวิตของนายภูมิพลในอนาคต จะไม่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองแต่อย่างใด เพราะทหารจะพยายามนำกษัตริย์คนใหม่ขึ้นมาให้ความชอบธรรมกับเขาต่อไป แน่นอนการนำนายวชิราลงกรณ์ขึ้นมาเป็นกษัตริย์หลังนายภูมิพล จะไม่ง่ายเนื่องจากพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของชายคนนี้ แต่ทหารจะพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ

ข้อถกเถียงเรื่องอำนาจนายภูมิพล

ใน การเสนอความคิดของผู้เขียน ผู้เขียนตระหนักดีว่าจำเป็นต้องถกเถียง “หักล้าง” ข้อเสนอของคนจำนวนไม่น้อย ที่มองว่านายภูมิพลและคนในราชวงศ์มีอำนาจสั่งการทุกอย่างในสังคมไทย และผู้เขียนจะพยายามทำตรงนี้

ใครๆในสังคมไทยคงทราบดีว่าชนชั้นปกครองไทย โดยเฉพาะทหารและนายทุนใหญ่ ต้องการให้ประชาชนมองว่านายภูมิพลเป็นทั้ง กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” “กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์และ เทวดาพร้อมๆ กันหมด และมีการยัดเยียดสิ่งนี้ตลอด โดยเริ่มในโรงเรียนประถม และเสริมทางสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง ลองนึกภาพดู เวลาพวกเราพูดเรื่องความเกี่ยวข้องของกษัตริย์กับเผด็จการ พวกทหาร และนักการเมือง จะออกมาเตือนเราว่า “พระองค์ไม่ยุ่งในเรื่องการเมือง” คือ “อยู่เหนือการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ” แต่ในขณะเดียวกันเวลาทหารทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ก็พยายามถ่ายรูปภาพการ “เข้าเฝ้า” เพื่อสร้างภาพว่ามีการ “รับคำสั่งให้ทำรัฐประหาร” และในขณะเดียวกันมีการเสนอว่ามนุษย์ที่ชื่อนายภูมิพลมีความสามารถพิเศษในทุก ด้าน เป็นเทวดา จนแม้แต่การผูกเชือกรองเท้าของตนเองกลายเป็นเรื่อง “มหัศจรรย์” 

นอก จากความคิดที่ขัดแย้งกันและไร้เหตุผลที่กล่าวถึงไปแล้วนี้ ชนชั้นปกครองยังต้องการให้เราทั้งรักและกลัว “เทวดา” ที่ชื่อภูมิพล คือ “รักเพราะคนไทยทุกคนรักในหลวงเป็นสันดาน” แต่ในขณะเดียวกันกลัวที่จะวิจารณ์เพราะอาจ “ปาบ” และยิ่งกว่านั้นนำไปสู่การติดคุกหรือการถูกเข่นฆ่าโดยทหารกลางถนน “เพื่อปกป้องในหลวง” อย่างที่เกิดขึ้นที่ราชประสงค์ในปี ๒๕๕๓ หรือที่ธรรมศาสตร์สมัย ๖ ตุลา ๒๕๑๙

การ เสนอว่าคนไทยทุกคน “ต้องรักในหลวง” เหมือนกับว่าเป็นสันดาน มาพร้อมกับการเสนอว่าสถาบันกษัตริย์ไทยอยู่คู่กับสังคมเป็นพันๆ ปีโดยไม่เปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งช่วยชักชวนให้หลายคนหลงเชื่อว่าเรายังอยู่ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชหรือ แม้แต่ในระบบศักดินาหรือกึ่งศักดินา

ใน รอบ 200 ปีที่ผ่านมาสถาบันกษัตริย์ไทยเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย จากสถาบันอ่อนแอที่กระจายอำนาจในระบบศักดินา ไปเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจรวมศูนย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในช่วงรัชกาลที่ ๕[1] และในการปฏิวัติปี ๒๔๗๕ เปลี่ยนอีกครั้งเป็นประมุขภายในระบบรัฐธรรมนูญ งานเขียนของนักประวัติศาสตร์อย่าง ธงชัย วินิจจะกูล[2] มีประโยชน์ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนิยมเจ้ากับ กลุ่มคณะราษฎร์หลัง ๒๔๗๕ และการขยายบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในช่วงรัชกาลปัจจุบัน นอกจากนี้หนังสือของ Paul Handley[3] ก็ช่วยวาดภาพประวัติศาสตร์ช่วงดังกล่าวอีกด้วย

ในประเด็นเรื่อง ความเก่าแก่ของการมีกษัตริย์ในสังคมไทย เราควรศึกษางานของ เกษียร เตชะพีระ ในวารสารฟ้าเดียวกัน[4] ที่ฟันธงชัดเจนด้วยเหตุผลประกอบว่า บทบาทกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ (ที่อำมาตย์อ้างว่าเป็นประเพณียาวนาน)...เป็นการประดิษฐ์คิดสร้างธรรมเนียมประเพณีใหม่เพราะระบบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญพึ่งเกิดหลังพ.ศ. ๒๔๗๕ และเริ่มใช้กันจริงในรัชกาลนี้เท่านั้น


บทความชิ้นต่อไปในวารสารเล่มเดียวกันที่เราควรศึกษา คืองานของ ธงชัย วินิจจะกูล ซึ่งอธิบายที่มาของเรื่อง พระราชอำนาจพวกคลั่งเจ้าพยายามสร้างภาพว่ากษัตริย์ไทยไม่เคยใช้อำนาจเผด็จการเลย คือพวกคลั่งเจ้าพยายามหลอกเราว่ากษัตริย์เป็น พ่อมากกว่าผู้ปกครองและได้รับการ เลือกจากประชาชนตั้งแต่สมัยสุโขทัย!! ข้อเสนอเรื่องพระราชอำนาจของพวกคลั่งเจ้าจึงเป็นการอ้างว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่สุโขทัยอัน นั้นเป็นข้อเสนอไร้สาระที่ไม่มีหลักฐานรองรับเลย แต่สิ่งที่น่าสนใจที่ธงชัยเสนอในบทความนี้ คือสายนิยมเจ้าในปี ๒๔๘๙ สิบสี่ปีหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้เลิกคิดจะกลับคืนสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ปรับตัวมุ่งหน้าพัฒนาสถาบันให้มีบทบาทในรูปแบบใหม่คือภายใต้รัฐธรรมนูญ

กษัตริย์ ภูมิพลไม่น่าจะเป็นกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ เพราะถ้าจะเป็น ต้องมีการยึดอำนาจกลับคืนมาจากทหาร และจากนายทุนที่เข้ามาแบ่งอำนาจกับทหารหลัง ๒๔๗๕ เป็นต้นไป ซึ่งการยึดอำนาจดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้น

ในวารสาร ฟ้าเดียวกัน เล่มนี้ งานของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอว่าหลัง ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ถึงช่วงรัฐบาลชาติชาย กษัตริย์เป็นกลุ่มอำนาจหนึ่งที่แข่งกับทหารและนายทุน แต่หลังรัฐบาลชาติชาย หลังการลดอำนาจของทหารและการเพิ่มอิทธิพลของกลุ่มทุนผ่านรัฐสภา กษัตริย์ขึ้นมาเป็น ประมุขของชนชั้นปกครองทั้งหมดคำพูดนี้ไม่ชัดเจนว่าหมายความว่าอะไร แต่หลายคนในปัจจุบันเชื่อว่าในยุคนี้นายภูมิพลคุมอำนาจเบ็ดเสร็จในมือของตนเอง

แต่การที่นายภูมิพลถูกเชิญให้ออกโรงในยามวิกฤต โดยเฉพาะเวลาทหารถูกประชาชนล้มในช่วง ๑๔ ตุลา หรือ พฤษภา ๓๕ ไม่ได้แปลว่านายภูมิพลยึดอำนาจแต่อย่างใด นายภูมพลเพียงแต่ทำหน้าที่ที่ดีให้ชนชั้นปกครองไทยในการเป็น “ที่พึ่งสุดท้าย” ในยามวิกฤต คือเป็น “ตัวสำรอง” ที่มีภาพว่า “เป็นกลาง” ที่ออกมาไกล่เกลี่ยเมื่อ “ทีมหลัก” ของชนชั้นปกครองมีปัญหา เขาออกมาเพื่อปกป้องชนชั้นปกครองรวมถึงทหารด้วย โดยเฉพาะหลัง ๑๔ ตุลา เพราะชนชั้นปกครองไทยตอนนั้นกลัวว่าฝ่ายซ้ายไทย โดยเฉพาะพรรคคอมมิวนิสต์ หรือขบวนการนักศึกษา จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงไปไกลกว่าแค่การล้มเผด็จการทหาร การทำหน้าที่เป็น “รถดับเพลิง” ของชนชั้นปกครองแบบนี้ เราจะพบในประเทศอื่นทั่วโลกที่มีสถาบันกษัตริย์ เช่นในยุโรปเป็นต้น 

การ ที่นักวิชาการไทยจำนวนมากมองข้ามและไม่ยอมศึกษาบทบาทกษัตริย์ในระบบทุนนิยม สมัยใหม่ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันตก ทำให้เขามองว่ากษัตริย์ยุโรปเป็นเพียงซากเก่าของระบบขุนนาง ซึ่งไม่ใช่เลย ชนชั้นนายทุนยุโรป มีเหตุผลสมัยใหม่ในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ เพราะสถาบันนี้เป็นตัวแทนของลัทธิที่เสนอว่าระบบชนชั้นเป็นเรื่องปกติ ธรรมชาติ และนอกจากนี้เป็นสิ่งที่ช่วยหลอกลวงประชาชนให้มองว่าผลประโยชน์ของชนชั้น ปกครอง ไม่ต่างจากผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพหรือคนจน คือเป็นผลประโยชน์รวมของ “ชาติ” นั้นเอง


ในกรณีไทยทั้งๆ ที่สถานภาพของกษัตริย์ภูมิพลมีรายละเอียดที่ต่างจากกษัตริย์ยุโรปในบาง ประการ นักวิชาการไทยจำนวนมากเลือกที่จะตาบอดถึงบทบาทสมัยใหม่ของกษัตริย์ไทยในรัฐ ทุนนิยม ในยุโรปชนชั้นนายทุนส่งเสริมกษัตริย์ แต่ข้อแตกต่างระหว่างไทยกับยุโรป ไม่ใช่เพราะไทย “ยังไม่เป็นทุนนิยมสมัยใหม่” ข้อแตกต่างคือนายทุนในยุโรปถูกขบวนการทางสังคมบังคับให้ยอมรับประชาธิปไตย รัฐสภา และไม่สามารถใช้กฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ได้ เพราะสหภาพแรงงานและขบวนการทางสังคมอื่นๆ จะไม่ยอม การที่ไทยมีวัฒนธรรมเผด็จการมานานทำให้ชนชั้นปกครองไทยสามารถใช้กฏหมาย 112 และ สามารถสร้างนิยายเรื่อง “เทวดา” โดยไม่อายใคร ทั้งๆ ที่คนไทยจำนวนมากกำลังเลิกเชื่อในเทวดาแล้ว

Duncan McCargo[5] นักวิชาการอังกฤษ เสนอว่าในไทยมีสิ่งที่เรียกว่า เครือข่ายกษัตริย์” (Network Monarchy) ซึ่ง ขัดแย้งกับ “เครือข่ายทักษิณ” ข้อเสนอนี้มีปัญหามากเพราะรัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่เริ่มการรณรงค์ให้คนใส่ เสื้อเหลืองกันทุกสัปดาห์อย่างบ้าคลั่ง คือทั้งทักษิณและทหารแย่งกันใช้กษัตริย์นั้นเอง McCargo เชื่อว่ากษัตริย์เป็นหัวหน้า “เครือข่ายกษัตริย์” และ เขาพยายามอธิยายว่าในสังคมไทย คนที่รับใช้กษัตริย์จะคอยเดาใจกษัตริย์และทำตามความประสงค์โดยไม่ต้องมีการ ออกคำสั่งโดยตรง ซึ่งเป็นความคิดประเภทที่เน้นข้อแตกต่างระหว่าง “วัฒนธรรมตะวันออก-ตะวันตก” เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องอธิบายอะไร เพราะเขามีมุมมองว่าวัฒนธรรมไทยมีอะไร “พิเศษแปลกๆ ที่เข้าใจยาก” เช่น “มือที่มองไม่เห็น” คำถามหนึ่งที่เราต้องถามคือทำไมในยุครัชกาลที่ ๕, ๖ หรือ ๗ ทำไมไม่มี “มือที่มองไม่เห็น” และกษัตริย์สั่งการอย่างตรงไปตรงมา? อีกคำถามหนึ่งคือ ถ้านายภูมิพลมีอำนาจเต็มที่ และเป็นหัวหน้าเครือข่ายกษัตริย์จริง ทำไมต้องมาถ่อมตัวปิดบังอำนาจจริงด้วย “มือที่มองไม่เห็น”? เขากลัวใคร? ประชาชน? เพราะในประเทศอื่นที่กษัตริย์ยังมีอำนาจอยู่ในยุคนี้ พวกนั้นไม่เคยแอบทำอะไรด้วย “มือที่มองไม่เห็น” เลย ดังนั้นการพูดถึง “มือที่มองไม่เห็น” เป็นการหลงไหลไปในนิยายที่ไม่ต้องพิสูจน์ เพราะมันมองไม่เห็นอยู่แล้ว 
วิกี้ลีค

ลอง นึกภาพนายภูมิพลในปี ๒๕๕๔ ตอนนั่งรถเข็นออกมาจากโรงพยาบาลศริรราช ตัวเอียงเพราะบางส่วนของร่างกายอ่อนแอ และพูดเกือบจะไม่ได้ คนนี้จะไปสั่งใครได้? และถ้าสั่งแล้วทหารไม่ทำตาม ใครจะลงโทษทหาร?

บาง คนจะตอบด้วยการสร้างนิยายเพิ่ม ว่าราชินีสิริกิติ์ขึ้นมามีอำนาจแทนภูมิพลแล้ว!! แต่ลองดูว่าคนอย่างองค์มนตรีสุรยุทธิ์คิดอย่างไรเกี่ยวกับนางสิริกิติ์ เราทราบจากวิกี้ลีคว่าในปี ๒๕๔๗ องค์มนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์ เล่าให้ทูตสหรัฐ Ralph L. Boyce และ เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ Eric John ฟังว่า เขาได้เตือนนางสิริกิติ์ ไม่ให้ลงรายละเอียดมากเกินไป เกี่ยว กับสถานการณ์ในภาคใต้ เพราะสิริกิติ์ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับภาคใต้พอ แต่สิริกิติ์ไม่ฟังสุรยุทธ์และออกมาพูดรุนแรงในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ซึ่งไม่ช่วยสถานการณ์เลย นอกจากคำพูดของนายสุรยุทธ์ที่ไม่เคารพนางสิริกิติ์แล้ว เราเห็นความโง่เขลาทางการเมืองของนางสิริกิติ์โดยตรง จากการไปงานศพพันธมิตรฯ เพราะการไปงานศพในวันนั้นทำให้คนส่วนใหญ่ในประเทศหันมาเกลียดชังราชินี พูดง่ายๆ ผลงานของการเชิดชูรณรงค์ให้คนรักราชินีมา 60 กว่าปี สูญหายไปในเพียงหนึ่งวันแห่งความโง่เขลา ไม่มีทหารที่ไหนจะมารับคำสั่งจากคนแบบนี้แน่

ทัศนะขององค์มนตรีต่อเจ้าฟ้าชายยิ่งแล้วใหญ่ เมื่ออ่านวิกี้ลีค เราทราบจากทูตอเมริกา Eric G. John ใน เดือนมกราคมปี ๒๕๕๓ ว่า องค์มนตรีเปรม ติณสูลานนท์ องค์มนตรีพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา และ อานันท์ ปันยารชุน มองว่าเจ้าฟ้าชายมีปัญหามาก นายเปรม ติณสูลานนท์ ไม่พอใจที่ นายวชิราลงกรณ์ ไม่ไปเยี่ยมพ่อที่โรงพยาบาล และการที่คงจะมีความสัมพันธ์กับนายทักษิณบ้าง ส่วน สิทธิ เศวตศิลา ยอมรับว่าวชิราลงกรณ์ไปหาชู้ที่เยอรมันบ่อย และบ่นว่าทูตไทยที่นั้นต้องเสียเวลากับการต้อนรับ นายสิทธิ พูดต่อว่าการเปลี่ยนราชกาลจะเป็นเวลาที่ยากลำบาก แต่ถ้า วชิราลงกรณ์ ตาย….” พระ เทพฯอาจเป็นกษัตริย์แทนก็ได้ นายอานันท์ ปันยารชุน บอกว่าเชื่อมั่นมาตลอดว่าวชิราลงกรณ์จะเป็นกษัตริย์คนต่อไปตามกฎหมาย แต่ถ้าวชิราลงกรณ์ไม่สามารถแก้นิสัยตนเอง ยุ่งการเมืองและมีปัญหาในด้านการเงินต่อ....ควรมีทางเลือกอื่นนอกจาก วขิราลงกรณ์

วิกี้ลีคทำให้เราทราบอีกว่าแม้แต่พันธมิตรฯ ที่อ้างว่า “ทำเพื่อในหลวง” ก็ไม่ฟังนายภูมิพล เพราะในปี ๒๕๕๑ ทูตสหรัฐ Eric John รายงาน รัฐบาลสหรัฐว่า ในเดือนตุลาคมกษัตริย์ภูมิพลสั่งให้ นายสุเมธ ตันติเวชกุล และ นายดิสธร วัชโรทัย ซึ่งใกล้ชิดมากกับนายภูมิพล ไปบอกพันธมิตรฯให้เลิกชุมนุม และเลิกใช้ความรุนแรง อย่างไรก็ตาม นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพรรคพวกไม่ฟัง และสนธิด่าแช่งทั้ง นายสุเมธ ตันติเวชกุล และ นายดิสธร วัชโรทัย จากเวทีพันธมิตรฯ 

คำถามหนึ่งที่เราต้องตั้งขึ้นมาคือ ในเมื่อองค์มนตรีสำคัญๆ เป็นทหาร ทหารเหล่านั้นมีบทบาทหน้าที่อะไร? รับคำสั่งจากนายภูมิพล หรือควบคุมให้คำปรึกษากับนายภูมิพล?
ประวัติรัชกาลที่ ๙

เราไม่ควรเข้าใจผิดว่าการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ไม่สมบูรณ์หรือ “ไม่ได้ประสบความสำเร็จ” เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าเรามองเรื่องนี้จากมุมมองใคร ถ้าเรามองจากมุมมองคนอย่าง อ. ปรีดี เราอาจมองแบบนั้นได้ เพราะเขาต้องการสร้างสังคมที่เป็นธรรมที่เป็นประชาธิปไตย แต่ถ้ามองจากมุมมองทหาร การปฏิวัติ ๒๔๗๕ สำเร็จและบรรลุเป้าหมาย เพราะมันทำให้ทหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ได้ และทำให้ทหารสามารถข่ม หรือใช้งาน กษัตริย์จนถึงทุกวันนี้

หลัง ๒๔๗๕ ฝ่ายทหารกับฝ่าย อ.ปรีดี เป็นคู่แข่งทางอำนาจที่สำคัญ มีการสลับขั้วอำนาจ ฉีก/เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และดึงกันไปดึงกันมาหลายรอบ โดยเฉพาะระหว่างทหารอย่างจอมพลป. กับ อ.ปรีดี นอกจากนี้ก็จะมีพวกนิยมเจ้าซึ่งพยายามฉวยโอกาสแทรกแซงเสมอ เพื่อให้กษัตริย์มีความสำคัญมากขึ้น บางครั้งพวกนิยมเจ้ามีอิทธิพลเพิ่ม บางครั้งมีอิทธิพลน้อย แต่ไม่ใช่เพื่อเป้าหมายในการรื้อฟื้นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่อย่างใด

เมื่อ กษัตริย์รัชกาลที่ ๘ ตายจากกระสุนปืน ซึ่งอาจเป็นการฆ่าตัวตาย หรือเป็นผลของการเล่นปืนกับน้องชายภูมิพล ฝ่ายทหารฉวยโอกาสนี้เพื่อป้ายร้าย อ.ปรีดี และขับไล่ออกนอกประเทศ นายภูมิพล ซึ่งรู้ว่าพี่ชายตายอย่างไร ก็ถูกแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ แต่เนื่องจากเขามีอายุน้อย และทหารยุคนั้นอย่างจอมพลป. ไม่ค่อยนิยมเจ้า นายภูมิพลถูก “คุมตัว” อยู่ในวังอย่างเคร่งครัด จนกลายเป็น เชลยทางการเมืองของฝ่ายทหาร 

Paul Handley เล่า ว่าสมัยรัฐบาลของจอมพลป.พิบูลสงคราม พลต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และ พลอ.ผิน ชุณหะวัณ มีการยกเลิกการใช้ราชาศัพท์และพิธีหมอบคลาน และหลังรัฐประหารปี ๒๔๙๔ ซึ่งมีผลในการนำรัฐธรรมนูญเดิมปี ๒๔๗๕ กลับมาใช้ชั่วคราว เพื่อลดทอนผลประโยชน์กษัตริย์จากรัฐธรรมนูญปี ๒๔๙๒ ปรากฏว่ากษัตริย์ภูมิพลและพวกนิยมเจ้าไม่อยากจะยอมรับรัฐธรรมนูญนี้เท่าไร พลต.อ.เผ่า จึงไปหากษัตริย์ภูมิพลที่หัวหินและใช้การข่มขู่บังคับให้ยอมรับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับกระแสส่วนใหญ่ในสังคมไทยตอนนั้น ที่ไม่ค่อยพอใจกับการเพิ่มผลประโยชน์ให้กษัตริย์ในยุค ๒๔๙๒

แต่ บทบาททางการเมืองของกษัตริย์ภูมิพลเริ่มเปลี่ยนหลังรัฐประหารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี ๒๕๐๐ ยุคนี้เป็นยุคสงครามเย็น และยุคสงครามอินโดจีน รัฐบาลเผด็จการของ สฤษดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐเชื่อว่า สฤษดิ์ และพวกนิยมเจ้า เป็นแนวร่วมที่ดีในการสู้กับคอมมิวนิสต์ ในหนังสือของทักษ์ เฉลิมเตียรณ[6] เขาเสนอว่า สฤษดิ์ ขาดความชอบธรรมที่คนอย่างจอมพล ป. หรือ อาจารย์ปรีดี เคยมี เพราะไม่ได้มีส่วนในการนำการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ดังนั้น สฤษดิ์ จึงแสวงหาความชอบธรรมใหม่โดยการชูและส่งเสริมกษัตริย์ภูมิพล ผู้ เขียนขอเสนอแย้งว่า สฤษดิ์ ต้องเชิดชูกษัตริย์ เพื่อให้ฝ่ายรักเจ้าอนุรักษ์นิยมในไทย และฝ่ายสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเผด็จการของเขามากกว่า มันไม่ใช่เรื่องการหาความชอบธรรมจากประชาชน 

ใน บริบทของสงครามเย็น รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ฝ่ายรักเจ้าอนุรักษ์นิยม และเผด็จการสฤษดิ์ มองว่าสถาบันกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิที่จะใช้ต้านคอมมิวนิสต์ได้ หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐมีบทบาทสำคัญในการแจกรูปถ่ายของภูมิพลและสิริกิติ์ไป ตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ดังนั้นการเชิดชูกษัตริย์ภูมิพลผูกพันกับการปกป้องผลประโยชน์ของอำมาตย์จาก การที่จะถูกท้าทายโดยกระแสคอมมิวนิสต์

ลัทธิ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่มองว่ากษัตริย์เป็นหัวใจของชาติ หัวหน้าศาสนา และสัญลักษณ์ของ ความเป็นไทยที่ ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ มีความสำคัญมากในยุคสงครามเย็น และนี่คือที่มาของบทบาทกษัตริย์ในการเป็นตัวแทนของลัทธิที่ให้ความชอบธรรม กับอำมาตย์ในยุคปัจจุบัน

บาง คนเสนอว่ารัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ เป็นรัฐประหารของพวกนิยมเจ้า แต่เราต้องเข้าใจว่าสฤษดิ์มีความต้องการในอำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเอง ซึ่งเขากอบโกยเต็มที่ผ่านการคอร์รับชั่นโดยไม่ละอายใจเลย และในการทำรัฐประหารของสฤษดิ์ เขายังทำแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์อีกด้วย เพราะแกนนำสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ทำงานใน หนังสือพิมพ์ของสฤษดิ์ และสฤษดิ์อาศัยการประท้วงของนักศึกษาที่ต่อต้านการเลือกตั้งสกปรกของฝ่ายจอม พลป.เพื่อให้ความชอบธรรมกับรัฐประหาร แต่หลังจากที่สฤษดิ์ยึดอำนาจได้ ก็หันมาปราบคอมมิวนิสต์และจับมือกับฝ่ายนิยมเจ้าและสหรัฐอย่างเดียว
 
นาย ภูมิพลระลึกถึงบุญคุณมหาศาลของเผด็จการสฤษดิ์ ในการปลดตนเองออกจากการถูก “คุมตัว” ในวัง โดยแสดงความรักกับสฤษดิ์ในขณะที่สฤษดิ์กำลังป่วยหนักในโรงพยาบาล แต่ท่าทีการแสดงความรักนี้เป็นไปในลักษณะความรักของน้องเล็กต่อพี่ชายใหญ่ มันไม่ทำให้เราคิดว่านายภูมิพลใช้งานสฤษดิ์แต่อย่างใด
 
การระลึกถึงบุญคุณของสฤษดิ์ ทำให้นายภูมิพลเงียบเฉยต่อเผด็จการและการโกงกินของสฤษดิ์และเผด็จการลูกน้อง รุ่นต่อไปที่ตามมา คือจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ไม่ใช่ว่านายภูมิพลขัดกับถนอมหรือประภาสแต่อย่างใด  

หลังการล้มเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ โดยขบวนการประชาชน ความขัดแย้งทางสังคมระหว่างฝ่ายซ้าย ซึ่งประกอบไปด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ นักศึกษา กรรมกร และชาวนา และฝ่ายขวา อันประกอบไปด้วยทหาร นายทุนใหญ่ และพวกนิยมเจ้า ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากตามกระแสโลกในยุคนั้น จนเกิดเหตุการณ์ “ขวาปราบซ้าย” ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ในเหตุการณ์นี้มีกลุ่มอำนาจที่ประกอบไปด้วยนักการเมืองและทหารอย่างน้อย 3 กลุ่ม ที่แข่งกันยึดอำนาจ[7] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทหารมีบทบาทสำคัญที่สุดในหมู่ชนชั้นปกครอง และแย่งอำนาจกันเอง ไม่ใช่ว่าทหารสามัคคี หรือเป็นผู้รับใช้กษัตริย์แต่อย่างใด

จริงๆแล้วนายทหารระดับสูงของไทยแบ่งพวกกันตลอด เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจ ทหารระดับสูงไม่เคยรับใช้บ้านเมืองเลย 

หลัง รัฐประหาร ๖ ตุลา มีการแต่งตั้ง นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร นักกฏหมายขวาตกขอบคนโปรดของนายภูมิพล เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นโยบายขวาจัดของ ธานินทร์ ซึ่งเพิ่มความขัดแย้งในสังคม นำไปสู่การปลดเขาออกไปในรัฐประหารอีกรอบ เพราะทหารกลัวว่าจะยิ่งทำให้คนสนับสนุนคอมมิวนิสต์มากขึ้น ประเด็นนี้ทำให้เราเห็นว่านายภูมิพลไม่ได้มีอำนาจสั่งการทุกอย่างแต่อย่างใด และไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี 

ใน ช่วงรัฐบาลเผด็จการของ รสช. ก็เช่นกัน นายภูมิพลออกมาพูดชักชวนให้ประชาชนสนับสนุน สุจินดา คราประยูร แต่ปรากฏว่าไม่มีใครฟัง สุจินดา จึงถูกประชาชนล้มในเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ 

Paul Handley[8] มองว่า พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ๒๕๒๓ เป็น คนของกษัตริย์ภูมิพลมาตลอดแต่คำถามคือ นายเปรมและนายกคนอื่นๆ หลายคน เข้าใกล้และใช้วังเพื่อปกป้องฐานะตนเอง หรือเป็น คนของวังแต่แรก? และในกรณีเปรม Handley สารภาพ เองว่าการเป็น “คนของวัง” ก็ไม่สามารถปกป้องเปรมจากการถูกปฏิเสธโดยกระแสสังคมและทหารหลายฝ่าย จนในที่สุดต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกคำถามหนึ่งคือก่อนที่นายเปรมต้องออกจากตำแหน่งในปี ๒๕๓๑ ในกรณีการทำรัฐประหารที่ล้มเหลวของทหารหนุ่มในปี ๒๕๒๔ ทำไมกษัตริย์ไม่ยอมออกมาชี้ขาดว่าเข้าข้างใครตั้งแต่นาทีแรก? เป็นเพราะนายภูมิพลพร้อมจะตามกระแสผู้ที่มีอำนาจในสังคม ไม่ว่าจะเป็นใคร เพื่อลอยนวลเสมอหรือไม่?

ในกรณีนายกทักษิณ Handley ดู เหมือนจะเชื่อว่าทักษิณ “อยากเป็นประธานาธิบดีในระบบสาธารณรัฐ” ซึ่งพวกสลิ่มทั่วไปก็เชื่อ แต่ไม่มีข้อมูลอะไรเลยที่รองรับข้อเสนอว่าทักษิณไม่เห็นด้วยกับระบบกษัตริย์ องค์กรที่เป็นของวังร่วมทำธุรกิจกับทักษิณ เช่นธนาคารไทยพาณิชย์ที่ขายหุ้น ITV ให้ทักษิณ และเราก็รู้ว่าทักษิณอาศัยธานาคารนี้ในการขายหุ้น Shin Corp ให้ Temasek อีก ด้วย ยิ่งกว่านั้นทักษิณยืนยันมาตลอดว่าจงรักภักดี ประเด็นนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมพรรคเพื่อไทยภายใต้นายก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะไม่อยากแตะกฏหมาย 112 เพราะนอกจากทหารแล้ว นายทุนใหญ่อย่างทักษิณก็อยากใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมกับตนเอง

วิธีการยัดเยียดให้เรามองว่านายภูมิพลมีอำนาจ  


การยัดเยียดให้คนเชื่อในเรื่องไร้สาระไร้เหตุผลว่านายภูมิพลเป็นเทดาที่ทุกคน ต้องรักและกลัว และเป็นทั้งกษัตริย์ประชาธิปไตยและกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์พร้อมๆ กัน ไม่สามารถทำได้โดยการ “ล้างสมอง” หรือโฆษณาชวนเชื่อเฉยๆ มันต้องมีกระบวนการที่สลับซับซ้อนกว่านั้น


การ ที่มนุษย์สร้างคนหรือสิ่งสามัญประจำวันขึ้นมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มี ฤทธิ์มีอำนาจ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ขอยกตัวอย่างการสร้างพระพุทธรูป (หรืออาจใช้ตัวอย่างการสร้างรูปปั้นพระเยซูหรือเทพเจ้าฮินดูก็ได้) พระพุทธรูปที่คนไทยกราบไหว้อยู่ทุกวัน เริ่มต้นจากดินเผา หรือโลหะ ที่มนุษย์สกัดจากพื้นผิวโลก แล้วมาหล่อมาปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นมีการทาสีแปะทอง แล้วนำมาไว้ในวัด ชาวพุทธส่วนใหญ่จะมีการมองว่าพระพุทธรูปดังกล่าว ซึ่งปั้นขึ้นโดยมือคน กลายเป็นสิ่งที่มี อำนาจและ ความศักดิ์สิทธิ์ชาวพุทธที่คิดแบบนี้ ไม่ได้ โง่และเขามีสาเหตุที่เขาอยากเชื่อว่าพระพุทธรูปมี อำนาจทั้งๆ ที่ตามหลักวิทยาศาสตร์ พระพุทธรูปก็เป็นแค่ดินเผา หรือโลหะ ที่ไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น 

ที่สำคัญคือความเชื่อใน อำนาจของ สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากโลก มีความหมายในทางสังคม และกลายเป็นเครื่องมือ ในการบริหารสังคม ในการกดขี่ขูดรีด หรือในการสร้างความหวังให้มนุษย์ ฯลฯ กระบวนการนี้ ชาวมาร์คซิสต์ เรียกว่า การสร้างสภาวะแปลกแยก” (Alienation)

ในกรณีนายภูมิพล เขาเป็นเพียงมนุษย์สามัญเหมือนท่านผู้อ่านหรือผู้เขียนเอง เขาต้องขี้เยี่ยวหรือตดเหมือนเรา เขาต้องเกิดแก่เจ็บตาย ต้องมีทุกอารมณ์ของความเป็นมนุษย์ แต่เขาถูกอำมาตย์ชนชั้นปกครองสร้างขึ้นมาให้ดูเหมือนมี อำนาจและ ความศักดิ์สิทธิ์ถึงขนาดเทวดา เพื่อเป็นเครื่องมือของทหารและนายทุนในการปกครองเรา

การที่ประชาชนจะถูกกล่อมเกลาให้เชื่อในสิ่งที่ไม่จริงได้ เพื่อประโยชน์ของชนชั้นปกครอง อาศัยเงื่อนไขสำคัญคือ ความรู้สึกขาดความมั่นใจ และไร้อำนาจ ในสังคมไทยและสังคมทั่วโลกประชาชนธรรมดาถูกสอนมาตั้งแต่เล็ก ว่าตัวเองไร้ความสามารถ ไม่เหมือนคนใหญ่คนโต เราเห็นได้จากการที่คนจำนวนมากมองว่าตนไม่สามารถเป็นผู้นำได้ หรือไม่สามารถเปลี่ยนสังคมได้ ดังนั้น “ต้องพึ่งผู้ใหญ่ที่เก่งกว่าตัวเองเสมอ” ในสภาพที่คนจำนวนมากรู้สึกว่าตนเองอ่อนแอขาดอำนาจ และในสภาพที่คนกลัวเผด็จการ เขาจะเชื่อนิยายของชนชั้นปกครองง่ายขึ้น แต่เมื่อคนธรรมดาลุกขึ้นสู้ร่วมกัน และเห็นพลังของมวลชน อย่างที่คนเสื้อแดงทำ เขาจะเริ่มมั่นใจมากขึ้นและเริ่มตั้งคำถามในใจเกี่ยวกับนิยายต่างๆ ตอนนี้ในประเทศไทยคนส่วนใหญ่เลิกมองว่านายภูมิพลเป็นเทวดาที่ควรรัก ถ้าเราสู้ต่อไป คนส่วนใหญ่อาจเริ่มเข้าใจว่าอำนาจของนายภูมิพลที่ทำให้เราเกรงกลัว เป็นแค่นิยายเช่นกัน และถ้าคนเริ่มเห็นว่านายภูมิพลสั่งการอะไรไม่ได้ เขาจะเริ่มมองว่าทหารเป็นตัวสำคัญในการทำลายประชาธิปไตยและใช้อำนาจเผด็จการ


หลายคนในสังคมไทยเข้าใจผิดว่านายภูมิพลวางแผนและสั่งการให้เกิดรัฐประหาร ๑๙ กันยา แท้จริงแล้วนายภูมิพลไม่เคยมีอำนาจแบบนี้และไม่มีปัญญาหรือความกล้าที่จะ เป็นผู้นำด้วย หน้าที่ของกษัตริย์ภูมิพลคือการให้ความชอบธรรมกับพฤติกรรมเลวๆ ของทหารและอำมาตย์ นี่คือสาเหตุที่ทหารและอำมาตย์สร้างภาพว่านายภูมิพลเป็น เทวดาศักดิ์สิทธิ์นอก จากการให้ความชอบธรรมกับการทำลายประชาธิปไตยซ้ำแล้วซ้ำอีก นายภูมิพลมีหน้าที่เสนอลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคัดค้านการกระจายรายได้และแช่แข็งความยากจน โดยมีการเสนอว่าคนจนต้องมีความพึงพอใจในสถานภาพของตนและความร่ำรวยของคนใหญ่ คนโต ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียงไปได้สวยกับลัทธิเสรีนิยมกลไกตลาดของพวกพรรคประชา ธิปัตย์และทหาร ที่ชื่นชมวิธี มือใครยาวสาวได้สาวเอาและมันขัดแย้งกับการใช้รัฐในการพัฒนาชีวิตประชาชน

นายภูมิพลเป็นคนพูดกำกวม เพราะตนไม่อยากรับผิดชอบอะไร แต่ที่สำคัญกว่านั้นการพูดกำกวมเป็นวิธี โยนลูกบอล์ให้ทหารหรืออำมาตย์อื่นใช้ เพื่อให้เขาไปตีความเข้าข้างตนเองเสมอ พอตีความเรียบร้อยแล้ว ก็สร้างภาพว่า ได้รับคำสั่งจากในหลวงการเข้าเฝ้าของพวกนายพลและนักการเมืองก็เช่นกัน เราไม่ทราบว่าเขาคุยอะไรกัน แต่พอออกมาจากวังก็อ้างว่า ได้รับคำสั่ง ในความเป็นจริงพวกทหารที่ทำรัฐประหารแค่ไปแจ้งให้นายภูมิพลทราบเท่านั้น และการที่ไม่ถูกกษัตริย์ต่อว่าด่า จะถูกตีความเป็นว่ากษัตริย์สนับสนุนการกระทำของทหาร

ก้าวต่อไป 

การเริ่มเข้าใจว่าทหารคือศัตรูหลักของเรา ไม่ได้ทำให้การต่อสู้ง่ายขึ้นเท่าไร แต่อย่างน้อยมันช่วยให้เราชัดเจนว่าเราสู้กับใคร เราจะชัดเจนด้วยว่าใครอยู่เบื้องหลังการใช้กฏหมาย 112 แต่เรายังต้องหาทางกำจัดอำนาจทหารที่มาจากการใช้อาวุธและความรุนแรงอย่างที่เราเห็นที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์เมื่อปี ๒๕๕๓

เราทราบดีจากประวัติศาสตร์ของไทยเอง และจากประวัติศาสตร์อียิปต์ อินโดนีเซีย หรือเกาหลี ว่ามวลชนสามารถเอาชนะทหารได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ขบวนการแรงงานออกมาร่วมสู้ด้วยการนัดหยุดงาน ซึ่งเป็นการใช้พลังเศรษฐกิจควบคู่กับการประท้วงบนท้องถนน นอกจากนี้ต้องมีการกดดันชักชวนทหารเกณฑ์ระดับล่างที่ไม่เคยได้ประโยชน์อะไร จากเผด็จการ ให้เปลี่ยนข้าง การต่อสู้ดังกล่าวเสี่ยงกับการเสียเลือดเนื้อ เราปฏิเสธไม่ได้ และทุกคนต้องตัดสินใจเองว่าจะสู้หรือไม่สู้ แต่ถ้าเราสู้เราล้มทหารได้ ถ้าไม่สู้เราจะเป็นทาสต่อไปตลอดกาล

การเคลื่อนไหวต่อสู้กับอำนาจทหาร เป็นสิ่งที่ต้องทำพร้อมๆ กับการคัดค้านกฏหมายเผด็จการ 112 

กฏหมาย นี้ขัดกับสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง มันปฏิรูปให้ดีขึ้นไม่ได้ เพราะตราบใดที่ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะในรูปแบบไหน เราจะไม่สามารถตรวจสอบอำนาจในสังคมได้ กฏหมายนี้เป็นกฏหมายที่ขัดกับกระบวนการยุติธรรมพื้นฐานอีกด้วย เพราะมีการดำเนินคดีลับใน “ศาลเตี้ย” ที่ไม่มีมาตรฐาน และมีการลงโทษอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน เราต้องยกเลิกกฏหมาย112 นี้

การกำจัดพิษภัยทางการเมืองของทหารออกจากสังคมเรา การปฏิรูปกองทัพ การลดงบประมาณ การเอาทหารออกจากสื่อและรัฐวิสาหกิจ และการลงโทษพวกนายพลมือเปื้อนเลือด รวมถึงการยกเลิกกฏหมาย 112 เรา ทำได้ แต่ต้องอาศัยมวลชนเสื้อแดง อย่าตั้งความหวังจอมปลอมว่าแกนนำพรรคเพื่อไทยจะทำ ตรงกันข้ามเขาจะปรองดองกับทหารและชวนให้เราเลิกเคลื่อนไหวต่างหาก  
ในระยะสั้นเราควรรณรงค์กดดันให้รัฐบาลยุติการใช้กฏหมาย 112 และปล่อยนักโทษ 112 ทุกคน เพื่อให้เวลากับการตั้งคณะกรรมการของประชาชนที่จะมาพิจารณากฏหมายนี้ อันนี้ควรจะเป็นข้อเรียกร้องเบื้องต้น ข้อเรียกร้องเบื้องต้นอีกข้อคือการปลดนายพลมือเปื้อนเลือดออกจากตำแหน่ง

แล้วเราควรทำอย่างไรกับสถาบันกษัตริย์?


การปฏิรูปกองทัพ เพื่อไม่ให้แทรกแซงการเมือง และการยกเลิกกฏหมาย 112 ไม่ ได้แปลว่าเราต้องยกเลิกสถาบันกษัตริย์ ตรงนี้เราเข้าใจได้จากการศึกษาประเทศในยุโรป อย่างเช่นอังกฤษหรือสแกนดิเนเวียที่มีกษัตริย์แต่ไม่มีกฏหมาย 112 หรือ เผด็จการทหาร แต่เราต้องตั้งคำถามต่อไปว่า “มีสถาบันนี้ไว้ทำไม?” เพราะนอกจากจะใช้งบประมาณมหาศาลที่ควรใช้ในการพัฒนาสภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ แล้ว ประวัติของสถาบันกษัตริย์ไทยเป็นประวัติของการร่วมมือกับทหารป่าเถื่อนมา ตลอด มันเป็นประวัติของการทำลายประชาธิปไตย คิดไปคิดมามันยากที่จะเห็นข้อดีเลย และนอกจากนั้นความคิด “ลัทธิกษัตริย์” เป็นความคิดย้อนยุค ขัดกับวิทยาศาสตร์ และขัดกับพฤติกรรมจริงของพวกราชวงศ์ เพราะลัทธิกษัตริย์ชวนให้เราเชื่อว่าในโลกนี้มีเทวดา และเทวดาสืบทอดความเก่งและความ “ดีงาม” ผ่านสายเลือดได้ สรุปแล้วในความเห็นของผู้เขียนประเทศไทยควรเป็นสาธารณรัฐ แต่ถ้าจะเป็นหรือไม่เป็น ก็ขึ้นอยู่กับคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย           
             
(ที่มา)     
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-39-03/252----112-.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น