หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ส่งท้ายปีเก่า 2555 ส่องบทบาท "สื่อไทย" "พิษ" จากรัฐประหาร 2549

ส่งท้ายปีเก่า 2555 ส่องบทบาท "สื่อไทย" "พิษ" จากรัฐประหาร 2549



แวดวงสื่อประเทศไทย ปี พ.ศ.2555 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป หากมองในเชิงสรุป ถือเป็นอีกปีหนึ่งของความขัดแย้งภายในวงการ

เป็นความขัดแย้งในเรื่องแนวคิด และมาตรฐานการทำหน้าที่สื่อ

ขณะที่องค์กรสื่อเอง ยังไม่สามารถกำหนดจุดยืนและท่าทีที่เหมาะสมได้ในสถานการณ์ต่างๆ

ปัญหาสำคัญของวงการสื่อ ได้แก่ การถูกแทรกแซงจากอำนาจภายนอก

ข้อ เขียนของนักวิชาการอิสระทางด้านสื่อ ตลอดจนคอลัมนิสต์-นักเขียนที่จับตามองบทบาทสื่อ วิเคราะห์คล้ายๆ กันอยู่ประเด็นหนึ่งว่า ต้นเหตุของความ "เป๋" ของสื่อไทยบางส่วน เป็นผลจากการถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจที่มีบทบาททางการตั้งแต่หลังการรัฐ ประหารเมื่อปี 2549

นักวิชาการอย่าง พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ถึงกับชี้ว่า สื่อไทยนั้นมือเปื้อนเลือดไม่แพ้ฝ่ายอื่นๆ ในวิกฤตการเมืองที่มีประชาชนล้มตายมากมาย

รัฐประหารปี 2549 อาจจะดูผิดที่ผิดทาง และไม่ช่วยให้ผู้นำรัฐประหารได้ดีทางการเมืองอย่างจีรังยั่งยืน

แต่ ความสำเร็จของการรัฐประหารหากมองจากมุมของผู้ก่อการรัฐประหาร คือการสร้าง "เครือข่ายอำนาจ" ผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ยังทำหน้าที่ต่อต้าน "ทักษิณ" อย่างแข็งขันมาจนปัจจุบัน

แม้ผู้นำรัฐประหาร อย่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จะเกิดอาการ "ตาสว่าง" และพยายามจะล้มรัฐธรรมนูญที่ตัวเองสร้างขึ้นมาเองแท้ๆ ก็ยังทำไม่สำเร็จ

หนึ่งใน "เครือข่าย" ที่คณะรัฐประหารและรัฐธรรมนูญ 2550 สร้างขึ้น ก็คือเครือข่ายของสื่อมวลชนนี่เอง

ตอนรัฐประหาร 2549 สื่อไทยจำนวนมากรับไม่ได้กับท่าทีผู้นำที่แข็งกร้าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น

แต่การรัฐประหาร 2549 ทำให้สถานการณ์พลิกไปอีก เนื่องจากสื่อจำนวนหนึ่ง เห็นว่าประเทศไทยกำลังก้าวเดินผิดทาง

แม้จะไม่ชอบทักษิณ แต่ก็รับไม่ได้ที่จะโค่นล้มกันด้วยวิธีการนอกระบบ

สื่อ หลายสำนัก พยายามตีปี๊บโหมชื่นชมรัฐประหาร เสนอข่าวความน่ารักกุ๊กกิ๊กของการยึดอำนาจ มีเด็กนักเรียนไปถ่ายรูปกับรถถัง ประชาชนนำดอกไม้ไปให้ นำโคโยตี้ไปเต้นให้ทหารชม

แต่ไม่ช่วยให้การรัฐประหารกลายเป็นความถูกต้องขึ้นมาได้

การ แจกจ่ายตำแหน่งทางการเมือง ในสภานิติบัญญัติบ้าง ในสภาร่างรัฐธรรมนูญบ้าง ให้กับบุคคลจากวงการสื่อ แม้กระทั่งคนระดับ "ประธานสภาหนังสือพิมพ์" และนายกสมาคมนักข่าวฯ ขณะนั้น ก็ยังเข้าไปอยู่ในวงจรนี้

ทำให้สื่อบางส่วนเทใจให้กับภารกิจต่อต้านทักษิณ และสนับสนุนรัฐบาลหลังการรัฐประหารที่นำโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

และสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้เป็นรัฐบาลด้วยการสนับสนุนของกองทัพ แม้ไม่ได้เป็นพรรคอันดับ 1 จากการเลือกตั้งก็ตาม

กรณี ดังกล่าว เป็นสาเหตุของวิกฤตการเมืองใหญ่ในเวลาต่อมา เมื่อคนเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาล

ด้วยการชุมนุมใหญ่ในเดือนเมษายน 2552 แต่ถูกสลาย และชุมนุมอีกครั้งในปี 2553 ถูกสลายด้วยกำลังทหาร มีผู้เสียชีวิต 99-100 ศพ บาดเจ็บ 2,000 ราย

ก่อนสลายม็อบในเดือนเมษายน 2553 มีคอลัมนิสต์จากสื่อบางฉบับเขียนเชียร์ให้รัฐบาลใช้มาตรการรุนแรง โดยให้นายกฯ ยอมมือเปื้อนเลือด
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356769335&grpid=01&catid=&subcatid=

1 ความคิดเห็น: