หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การจัดตั้งพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของชนชั้นกรรมาชีพ

การจัดตั้งพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของชนชั้นกรรมาชีพ 


 

พรรคจะต้องเป็นแหล่งรวมของประสบการณ์และทฤษฎีการ ต่อสู้ แหล่งรวมของนักเคลื่อนไหวไฟแรง และเป็นเครื่องมือในการประสานงานและปลุกระดมการต่อสู้ในหมู่กรรมาชีพและคนจน พรรคเปรียบเสมือน “ลูกสูบ” ไอน้ำ และ “คลังความรู้ของกรรมาชีพ”

เรียบเรียงโดย  เรด ชิป(Red ship)


หากถามว่าพรรคการเมืองปัจจุบันเป็นตัวแทนของชนชั้นใด คำตอบคือ “พรรคนายทุน” ไม่มีพรรคใดเลยที่ต่อสู้บนจุดยืนผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง บางนโยบายอาจจะเอื้อต่อการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ก็เป็นเพียงการสร้างภาพ หรือผลประโยชน์เฉพาะหน้าเพียงช่วงสั้นๆ นั่นหมายความว่าเรามีแต่พรรคฝ่ายขวาที่เสนอแนวทางทุนนิยมเสรี และฝ่ายขวาจัดที่เป็นเครือข่ายอำมาตยาธิปไตย  หลักใหญ่ 3 ประการในการสร้างพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพ ซึ่งต่างกับพรรคแบบนายทุนอย่างสิ้นเชิง คือ

พรรคของกรรมาชีพต้องยึดถือผลประโยชน์ทางชนชั้น โดยยึดกรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก ต้องไม่เสนอให้มีการสร้างแนวร่วมระหว่างกรรมาชีพกับศัตรูอย่างนายทุนอย่าง ที่ พ.ค.ท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) เคยเสนอไว้ และพ่ายแพ้ไปในที่สุด หรืออย่างพรรคเพื่อไทยที่เสนอแนวนโยบายประชานิยม

พรรคสังคมนิยมต้องไม่หลงคล้อยตามกระแส “เพื่อชาติ” ซึ่งในรูปธรรมแปลว่า “เพื่อนายทุนและอนุรักษ์ระบบเดิมๆ” พรรคจึงต้องเป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงานทั้งมวลในการเรียกร้องอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำที่สูงกว่าปัจจุบัน การที่พรรคเพื่อไทยกำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท แต่ประวิงเวลาหลังจากเป็นรัฐบาลเกือบปีครึ่ง ถือเป็นการหลอกลวง เพราะค่าครองชีพสูงขึ้นตลอด ค่าเงินบาทก็ลดลงโดยตลอด

ประการที่สองพรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คนใดคนหนึ่ง ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาร่วมกันเป็น ผู้ควบคุมนโยบาย ควบคุมผู้นำ และกำกับการทำงานของผู้แทนพรรคในสภาได้ตลอดเวลา ตรงนี้นอกจากจะต่างกับพรรคนายทุนแล้วจะต่างกับพรรคเผด็จการสตาลิน-เหมาแบบ  พ.ค.ท. ด้วย

เราควรเข้าใจว่าขั้นตอนของการตั้งพรรคไม่เกี่ยวอะไรเลยกับ “การไปเชิญผู้มีชื่อเสียงคนโน้นคนนี้มาเป็นหัวหน้า”

ประการที่สามพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพต้องอาศัยเงินทุนที่เก็บจากสมาชิกใน อัตราก้าวหน้า คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูงจ่ายมาก ส่วนสมาชิกที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย แต่ทุกคนต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อให้พรรคเป็นพรรคแท้ของคนจน ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุนจากที่อื่น หรือจากกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และตกเป็นเครื่องมือของใครคนใดคนหนึ่ง

ถึงแม้ว่าพรรคจะมีทุนน้อย แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบพรรคนายทุนคือการเป็นพรรคของมวลชนจริง การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำภายใต้นโยบายที่ชัดเจน ผู้สนับสนุนพรรค นอกจากเข้าร่วมภายใต้นโยบายของพรรคแล้ว ยังได้รับการส่งเสริมให้นำตนเอง และมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายด้วย

พรรคฝ่ายซ้ายมุ่งเน้นการต่อสู้นอกรัฐสภา

พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพไม่ใช่พรรคประเภท “คุณเลือกเราเป็น ส.ส. แล้วเราจะทำให้ทุกอย่าง” พรรคต้องไม่ตั้งเป้าหลักที่การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา  เพราะรัฐสภาไม่ใช่ศูนย์กลางอำนาจแท้ในระบบประชาธิปไตยของนายทุน เนื่องจากอำนาจแท้ของเผด็จการนายทุนอยู่ที่การควบคุมการผลิตและการสร้าง มูลค่าทั้งปวงในสังคม

ดังนั้นการจดทะเบียนพรรคจึงไม่สำคัญในขั้นตอนแรก อย่างไรก็ตามการเลือกตั้ง ส.ส.(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)  ในระบบสังคมไทยปัจจุบันอาจเป็นโอกาสดีสำหรับการโฆษนาแนวคิด  ดังนั้นเราไม่ควรปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรณรงค์ในการเลือกตั้ง  และกล้าสร้างสรรค์รูปแบบการเคลื่อนไหวใหม่ๆ ท่ามกลางมวลชน ท่ามกลางการปฏิบัติ แทนการท่องบ่นทฤษฎี และหลีกหนีจากมวลชน ทำตัวเป็นผู้บรสุทธิ์ ที่กลัวการเปลี่ยนแปลง และแปดเปื้อน

หากพรรคไม่เน้นการเลือกตั้งในรัฐสภานายทุนเป็นหลัก พรรคต้องทำอะไร 
         
พรรคจะต้องเป็นแหล่งรวมของประสบการณ์และทฤษฎีการต่อสู้ แหล่งรวมของนักเคลื่อนไหวไฟแรง และเป็นเครื่องมือในการประสานงานและปลุกระดมการต่อสู้ในหมู่กรรมาชีพและคนจน พรรคเปรียบเสมือน “ลูกสูบ” ไอน้ำ และ “คลังความรู้ของกรรมาชีพ”  วี ไอ เลนิน และ ลีออน ตรอทสกี นักปฏิวัติสังคมนิยมชาวรัสเซียสองคนเสนอบทบาทสำคัญของพรรคไว้ดังนี้....
         
ลีออน ตรอทสกี เสนอว่าในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมนิยมตามหลักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ต้องอาศัยพลังของมวลชนกรรมาชีพ สมาชิกพรรคทำการเปลี่ยนแปลงแทนกรรมาชีพไม่ได้ แต่พลังกรรมาชีพที่ไร้เป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนจะเป็นเสมือนพลังไอน้ำ ที่ไม่มีลูกสูบ มันจะสำแดงพลังแล้วสูญสลายไป ไม่สามารถผลักหัวรถจักรให้พุ่งไปข้างหน้าฉุดรถไฟทั้งขบวนให้ขับเคลื่อนไป

ส่วน เลนิน อธิบายว่าสมาชิกพรรคไม่ควรตั้งตัวขึ้นมาเป็นศาสดาใหญ่ที่สอนกรรมาชีพ ยกตนอยู่เหนือมวลชน หรือทำตัวเป็นพี่เลี้ยงตลอดเวลา  เพราะพรรคต้องเรียนรู้จากการต่อสู้ของกรรมาชีพพื้นฐานทั้งในอดีต และปัจจุบัน  นั่นคือ พรรคต้องเป็นคลังรวบรวมประสบการณ์การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก เพื่อนำเสนอประสบการณ์ดังกล่าวกลับเข้าไปสู่ชนชั้นกรรมาชีพในขณะที่กำลัง ต่อสู้อยู่

พรรคกรรมาชีพต้องติดอาวุธทางปัญญา ท้าทายทางความคิดอย่างสม่ำเสมอ

อันโตนีโอ กรัมชี่ นักปฏิวัติสังคมนิยมชาวอิตาเลียน เคยเตือนว่าพรรคไม่สามารถ “ป้อนความรู้” ใส่สมองกรรมาชีพเหมือนพี่เลี้ยงป้อนอาหารให้เด็ก

แต่พรรคต้องเสนอประสบการณ์จากอดีตกับคนที่กำลังเปิดกว้าง กำลังแสวงหาทางออกเพราะอยู่ในสถานการณ์การต่อสู้ ดังนั้นสมาชิกพรรคต้องร่วมในการต่อสู้พื้นฐานของกรรมาชีพ เพื่อเสนอความคิดและแนวทางในการต่อสู้ที่ท้าทายความคิดกระแสหลักของทุนนิยม อย่างสม่ำเสมอ
     
วิธีหนึ่งที่สำคัญในการสื่อแนวคิดคือการใช้หนังสือพิมพ์ของพรรค เลนินมองว่าหนังสือพิมพ์เป็น “นั่งร้าน” ใน การสร้างพรรค คำพูดนี้หมายความว่า หนังสือพิมพ์ของพรรคผลิตออกมาเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งทฤษฏีให้กับ สมาชิกพรรคเอง เป็นอาวุธทางปัญญาในการขยายงาน  นอกจากนี้หนังสือพิมพ์ของพรรค เปรียบได้กับ “คำประกาศจุดยืนของพรรค”  ที่ชัดเจน

การที่สมาชิกต้องขายหนังสือพิมพ์ให้คนภายนอกพรรคเป็นวิธีการในการสร้างความ สามัคคีทางความคิดภายในพรรคไปในตัว  เพราะเวลาสมาชิกขายหนังสือพิมพ์ให้คนอื่นสมาชิกต้องกล้าถกเถียงเพื่อปกป้อง แนวคิดของหนังสือพิมพ์และของพรรค เป็นการฝึกฝนตนเองในขณะเดียวกัน  ดังนั้นสมาชิกต้องอ่านและขายหนังสือพิมพ์ของพรรค นอกจากนี้การขายหนังสือพิมพ์แทนการแจกหนังสือพิมพ์เป็นการพึ่งตนเองทางการ เงิน และเป็นวิธีทดสอบว่าคนภายนอกสนใจแนวคิดของพรรคมากน้อยแค่ไหนอีกด้วย สมาชิกทุกคนต้องยอมรับความจริงเพื่อสู้ในโลกจริงเสมอ การปฏิเสธการอ่าน การถกเถียง และการขายหนังสือพิมพ์ ทำให้ช่องว่างทางความคิดในหมู่มวลสมาชิกยิ่งถ่างออก และห่างไกลกัน

ประชาธิปไตยรวมศูนย์คือเครื่องมือสร้างเสรีภาพ และวินัยภายในพรรค

ในอดีตพรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลิน-เหมาทั้งหลาย เช่น พ.ค.ท. มักใช้คำว่า “ประชาธิปไตยรวมศูนย์” เพื่อเป็นข้ออ้างว่าทำให้สมาชิกพรรคต้อง “เชื่อฟัง” คำสั่งและนโยบายของผู้นำ แต่จริงๆ แล้วความหมายของประชาธิปไตยรวมศูนย์ตามที่ เลนิน หรือ ตรอทสกี ตีความ คือการมีเสรีภาพในการถกเถียงนโยบายเต็มที่ภายในพรรคในขณะที่พรรคต้องมีนโย บายที่ชัดเจน ดังนั้นพอถึงเวลาปฏิบัติต้องมีการลงคะแนนเสียงเพื่อกำหนดนโยบายที่นำไปสู่ ปฏิบัติการโดยที่เสียงข้างมากต้องเป็นผู้กำหนดนโยบายที่ทุกคนต้องทำตามอันมี เอกภาพระดับหนึ่ง

แน่นอนว่าการเป็นสมาชิกพรรคไม่เสรีเท่ากับการเป็นปัจเจกชน แต่ปัจเจกชนไม่มีอำนาจใดๆ ในสังคมถ้าไม่รวมตัวกับคนอื่นสร้างกลุ่มก้อน สร้างทีมที่เข้มแข็ง ระบบประชาธิปไตยรวมศูนย์จึงเป็นวิธีการทำงานที่พยายามรวมสองสิ่งที่ขัดแย้ง กัน เสรีภาพในการคิด กับการมีนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิบัติเพื่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง ถ้าพรรคไม่มีการถกเถียงนโยบายอย่างเสรี กว้างขวางและเปิดเผย สมาชิกพรรคทุกคนก็ไม่สามารถจะนำปัญหาของโลกจริงมาทดสอบแนวของพรรคได้ใน รูปธรรม และพรรคไม่สามารถสะท้อนความคิดของแนวหน้าของชนชั้นกรรมาชีพได้

ดังนั้นเสรีภาพในการถกเถียงภายในพรรคเป็นสิ่งที่ปกป้องไม่ให้พรรคหยุดอยู่ กับที่ หรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้นำคนกลุ่มน้อยที่เหินห่างมวลชน หนีจากโลกจริงและทำตัวเป็นเผด็จการ หรือขุนนางที่คอยชี้แนะชี้นิ้วสั่งการอยู่ตลอดเวลา  ทุกคนต้องจำไว้ว่าพรรคผิดได้และถ้าผิดเมื่อไร ต้องสามารถแก้ข้อบกพร่องด้วยการถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเสรี บ่อยครั้งในอดีตคนที่เป็นสมาชิกพรรคมานานอาจยึดติดกับความคิดเดิมๆ และไม่กล้าปรับเปลี่ยนแนวการทำงาน
     
ดังนั้นพรรคต้องพยายามสร้างเอกภาพระหว่างการรักษาจุดยืนและอุดมการณ์กับการกล้าทำอะไรใหม่ๆ
     
การที่พรรคต้องนำแนวคิดไปทดสอบในโลกจริงแล้วรายงานกลับเข้าพรรคเพื่อเป็น ประเด็นถกเถียงอย่างสม่ำเสมอ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย  แสดงว่าสมาชิกพรรคต้องร่วมการต่อสู้ในชีวิตภายนอกพรรค ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ภายในสหภาพแรงงาน กลุ่ม ชมรม นักศึกษา กลุ่มผู้ประท้วง กลุ่มการเคลื่อนไหวในประเด็นเฉพาะหน้า หรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันในชุมชน สมาชิกต้องสันทัดที่จะรวบรวมประเด็นต่างๆ ในโลกจริงมาถกเถียง แบ่งปันกันภายในพรรค

พรรคต้องพยายามเชื่อมโยงการต่อสู้ของผู้ถูกกดขี่ที่หลากหลายเข้ากับการต่อสู้ของกรรมาชีพ

สิ่งที่สมาชิกพรรคไม่ควรลืมคือ พลังแท้จริงของฝ่ายซ้ายที่จะท้าทายพลังของนายทุนหรือพรรคฝ่ายขวาทั้งหลาย อยู่ที่การรวมตัวกันของกรรมาชีพ  สิ่งนี้พรรคฝ่ายซ้ายบริสุทธิ์ทำไม่ได้ เพราะมัวแต่โดดเดี่ยวตนเอง ในรูปธรรมสมาชิกต้องให้ความสำคัญกับการประชุมเป็นระบบ หมายถึงมีการเตรียมตัวล่วงหน้า  หลายคนสงสัยว่าทำไมสมาชิกพรรคต้องประชุมทุกสัปดาห์ บางคนมองว่าเป็นการเสียเวลาและเป็นการมัวแต่นั่งคุยกันโดยไม่ออกไปร่วม ต่อสู้ในโลกจริง คำตอบคือ

(1)การประชุมเป็นประจำและเป็นระบบ  จะเป็นวิธีสำคัญในการรักษารูปแบบขององค์กร การประชุมเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยน ฝึกฝนการพูด วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วโลก  พัฒนาความคิดและความสามารถทางด้านทฤษฎีของสมาชิก ในขณะที่การอ่านหนังสือคนเดียว หรือสะสมหนังสือใส่ตู้ ไม่มีวันให้ประโยชน์ได้

(2)การประชุมเป็นประจำเป็นวิธีเดียวที่จะประสานการต่อสู้ประจำวันของสมาชิก เพื่อนำประสบการณ์เข้ามาในพรรคและเพื่อพัฒนาการต่อสู้ให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น

และ (3) การประชุมเป็นประจำเป็นวิธีเดียวที่สมาชิกสามารถควบคุมนโยบาย ทิศทาง และผู้นำของพรรคผ่านการมีส่วนร่วมได้


(ที่มา)   
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/12/blog-post_7432.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น