วาทะล่าสุด-อภิสิทธิ์ ไม่มีที่ไหนที่นายกฯ ต้องรับผิดชอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ออกรายการข่าวของสำนักข่าวบีบีซี ประเทศอังกฤษ เผยแพร่ออกไปทั่วโลก
และเป็นคลิปที่ระบาดอยู่ในโลกไซเบอร์เมืองไทย
เรียกปฏิกิริยาทั้งจากฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิจารณ์ได้อย่างอื้ออึงเช่นเคย
ดังตัวอย่างบางส่วน
"...เราไม่ได้แม้แต่เข้าไปสลายการชุมนุม แต่เราเพียงแค่ตั้งด่านตรวจเช็กและก็มีการต่อสู้กันบนถนน และโชคร้ายที่มีประชาชนเสียชีวิต"
ถาม-คุณควรจะยอมรับว่าการตายส่วนใหญ่นั้นเกิดจากกองทัพไม่ใช่หรือ?
นายอภิสิทธิ์-ไม่ ครับ ไม่ เพราะว่า เรามีการสอบสวนอยู่ราว 20 กรณี และเพียงแค่ 2 กรณีเท่านั้นที่มีการสรุปว่าเป็นการตายจากการถูกกระสุนปืนซึ่งใช้ในกองทัพ แต่คุณก็ควรจะต้องจำด้วยว่าผู้ชุมนุมได้ขโมยอาวุธจากกองทัพไป
ถาม-แต่คุณก็ยอมรับใช่ไหมว่าคุณต้องรับผิดชอบต่อการตายในบางกรณี คุณยอมรับไหม?
นาย อภิสิทธิ์-ไม่ครับ การแจ้งข้อหาต่อผมในขณะนี้ คือการเสียชีวิตของคนที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมเลยด้วยซ้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีรถตู้คันหนึ่งพยายามฝ่าแนวกั้นของทหาร ผู้ตายเพียงแต่ออกมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วก็โชคร้ายที่เขาถูกยิง
ถาม-คุณเสียใจต่อการตัดสินใจ (ให้ใช้กระสุนจริง) หรือไม่
นายอภิสิทธิ์-ถ้าอย่างนั้นคุณจะสู้กับกลุ่มคนที่ติดอาวุธได้ยังไงล่ะ
ถาม-ฉะนั้นคุณก็ไม่เสียใจต่อการใช้กระสุนจริง?
นาย อภิสิทธิ์-ผมเสียใจที่มีผู้เสียชีวิต แต่มีคำสั่งก็ชัดเจนว่าพวกเขาควรใช้กระสุนจริงอย่างไรภายใต้สถานการณ์แบบ ไหน...และถ้าการใช้คำสั่งนี้แปลว่าพวกเราสั่งให้มีการฆ่าคน ผมคิดว่าไม่แฟร์
ผม ได้เข้าร่วมการประชุมหลายครั้งทั่วโลก กรณีการประชุมกลุ่มประเทศ G-20 ก็มีบางคนเสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่พยายามปฏิบัติหน้าที่ของตน และก็ต้องมีการสอบสวน
แต่ไม่มีที่ไหนที่นายกรัฐมนตรีจะต้องมารับผิดชอบกับปฏิบัติการ
ถาม-แต่นี่คือเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดในช่วงหลายสิบปีของประเทศของคุณ และนี่เป็นปัญหาในยุคที่คุณอยู่ในอำนาจ
นาย อภิสิทธิ์-เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่มีการประท้วงโดยมีประชาชนที่มีอาวุธเข้า ร่วม หากเป็นการประท้วงโดยสันติภายใต้รัฐธรรมนูญและถูกกฎหมาย สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น
ถ้าพวกเขาไม่มีชายชุดดำซึ่งมีอาวุธ ยิงตำรวจ ยิงประชาชน ยิงทหาร ก็จะไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้น
"...ผมต้องการถูกฟ้องร้อง ผมจะต่อสู้ ผมจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในศาล"
รายงานศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) ระบุว่า
ในคดีสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 99 ราย บาดเจ็บกว่า 2,000 คน
สาเหตุการเสียชีวิต-ร้อยละ 87 ถูกยิง ร้อยละ 9 ถูกสะเก็ดระเบิด ร้อยละ 4 จากเหตุอื่นๆ
อวัยวะที่ถูกกระสุน-ร้อยละ 30 ศีรษะและคอ ร้อยละ 30 ลำตัวถึงหัวเข่า ร้อยละ 22 หน้าอก ร้อยละ 4 ศีรษะและส่วนอื่น ร้อยละ 1 ไม่ระบุ
สรุปภาพรวมของการสลายการชุมนุม-ใช้กำลังทหารมากกว่า 30,000 นายพร้อมอาวุธครบมือ
เบิกกระสุนจริง 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ยิงกระสุนจริงออกไป 117,923 นัด
เบิกกระสุนสไนเปอร์ 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด
ยิงกระสุนสไนเปอร์ไป 2,120 นัด
สำหรับการรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 13 ธันวาคม เป็นคดีการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง
ยังมีอีก 35 คดี อยู่ในกระบวนการส่งให้ศาลพิจารณาว่าเป็นการตายโดยฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่
ในจำนวนนี้ ศาลมีคำสั่งว่าคดีนายชาญณรงค์ พลศรีลา เป็นการตายโดยฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ศอฉ. เช่นกัน
ขณะที่อีก 3 คดีคือ การเสียชีวิตนายชาติชาย ชาเหลา ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา และนายบุญมี เริ่มสุข
ศาลอาญานัดฟังคำสั่งคดีไต่สวนชันสูตรสาเหตุการตาย ในวันที่ 17 กับ 20 ธ.ค. นี้
และวันที่ 16 ม.ค. ปีหน้า ตามลำดับ
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355368050&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น