กลยุทธ์ เพื่อไทย การแก้ "รัฐธรรมนูญ" ยิ่งกลัว ยิ่งเสื่อม
ต่างเห็นชอบที่จะเดินหน้าการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3
ทั้งๆ ที่แม้กระทั่งประธานวุฒิสภาซึ่งเป็น ส.ว.ฉะเชิงเทรา รวมถึง ส.ว.เลือกตั้ง ส.ว.สรรหาจำนวนไม่น้อย
ต่างเห็นชอบที่จะเดินหน้าการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3
แต่ ดูเหมือนว่าเกจิทางการเมืองระดับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เกจิทางการเมืองระดับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ซึ่งดำรงอยู่ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ดำรงอยู่ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นประธานรัฐสภา
จะตกอยู่ในอาการลังเล ไม่แน่ใจ คนหนึ่ง ต้องการเวลาให้รัฐบาลในการทำงาน คนหนึ่งอ้างพระราชโองการในเรื่องการปรองดอง สามัคคี
เป้าหมายก็เพื่อที่จะยังไม่ให้มีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ
เหมือน กับเป็นความปรารถนาดี เหมือนกับเป็นยุทธวิธีของการรักษาเสถียรภาพ เหมือนกับเป็นการปรองดองสมานฉันท์โดยไม่ไปแตะในสิ่งที่อีกฝ่ายหงุดหงิด ไม่พอใจ
ทำตัวเป็น "เด็กดี" ทางการเมือง
ความจริง การพิจารณาเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างแยกจำแนกให้เป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างที่คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอต่อนายก รัฐมนตรีนั้น
ถูกต้อง
ถูกต้องเพราะรัฐบาลถือว่าอยู่ในปีกของอำนาจบริหาร ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของอำนาจนิติบัญญัติ
น่าแปลกที่บางส่วนในรัฐบาลมิได้มีความแจ่มชัดในเรื่องนี้
คำ กล่าวที่ว่า "เรื่องนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป หากเร่งรีบโดยที่ไม่เข้าใจกันประเทศและประชาชนอาจเสียหาย ยืนยันรัฐบาลทำแน่แต่ไม่ได้บอกว่าต้องทำให้เสร็จภายใน 3 วัน 7 วัน"
เหมือนกับเป็นความปรารถนาดี
แต่คำถามที่เสนอเข้ามาก็คือ เป็นความปรารถนาอย่างเห็นถึงสภาพความเป็นจริงทางการเมืองอันดำรงอยู่มากน้อยเพียงใด
เหมือนกับปรารถนาดีต่อพรรค เหมือนกับปรารถนาดีต่อรัฐบาล
กระนั้น ความปรารถนาดีในลักษณาการเดียวกันนี้ก็เคยเห็นมาแล้วในห้วงต้นของรัฐบาลนาย สมัคร สุนทรเวช ที่ประกาศว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนหมดวาระ 1 ปี แต่แล้วเพียงไม่กี่เดือนต่อมาก็ถูกโค่นล้มด้วยกลไกของรัฐธรรมนูญ
เพราะเป็นความปรารถนาดีบนพื้นฐานของความประมาท
ความเป็นจริงที่พรรคเพื่อไทยไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ สภาพการดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นการดำรงอยู่อย่างไร
1 เป็นการดำรงอยู่ในทางยุทธศาสตร์
เป็นยุทธศาสตร์อันแน่วแน่ มั่นคง ของขบวนการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 อย่างเด่นชัด ไม่ปิดบังอำพราง
1 ยุทธศาสตร์นั้นมีเป้าหมายเพื่อโค่นล้ม ทำลายศัตรูที่แน่นอนของตน
นั่นก็คือ การนำไปสู่การยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 นั่นก็คือ การนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนเมื่อเดือนธันวาคม 2551
และไม่เคยหยุดยั้งความพยายามที่จะจัดการกับพรรคเพื่อไทย
ไม่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะนอบน้อม อ่อนหวาน อย่างไร ไม่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะทำตัวเป็น "เด็กดี" อยู่ในโอวาทอย่างไร
ยุทธศาสตร์ ในการโค่นล้ม ทำลาย ก็ไม่เคยแปรเปลี่ยน ที่ไม่แปรเปลี่ยนเพราะเครื่องมือสำคัญคือรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ยังดำรงคงอยู่และเพิ่มเขี้ยวเล็บมากยิ่งขึ้น
เห็นได้จากบทบาทของ 40 ส.ว.อันมาจากกลไกของรัฐธรรมนูญ เห็นได้จากบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ยิ่งกลัว อำนาจเหล่านี้ยิ่งฮึกเหิม
เหตุปัจจัยอันใดทำให้ นางออง ซาน ซูจี ได้รับการยกย่องจากนานาอารยประเทศอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัย 1 เพราะนางไม่สำแดงความหวาดกลัวให้เป็นที่ปรากฏ ปัจจัย 1 เพราะนางกำหนดยุทธวิธีรองรับยุทธศาสตร์การต่อสู้อย่างเป็นฝ่ายรุก เป็นฝ่ายกระทำ แม้กระทั่งเมื่อจำเป็นต้องถอย
นี่คือสิ่งที่พรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องศึกษา
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354853119&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น