หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

'สสส.' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว 'สมยศ' ทันที

'สสส.' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว 'สมยศ' ทันที

 

 

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน แถลงร่วมกับองค์กรสิทธิระหว่างประเทศ ย้ำการควบคุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุขขัดกับมาตรฐานสากล ชี้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่ทำได้ตามอนุสัญญาระหว่าง ประเทศ

The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders
Union for Civil Liberty (UCL)

แถลงการณ์ร่วม

ประเทศไทย: คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติแถลงว่าการควบคุมตัวนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
  
ปารีส เจนีวา และกรุงเทพ, วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555  FIDH และ OMCT ในการทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมด้วยสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ในประเทศไทย ยินดีคณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD)  ที่ระบุว่าการควบคุมตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรฐานสากล รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ
  
นายสมยศ ถูกควบคุมตัวมากว่า 20 เดือนแล้วตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน ปีพ.ศ. 2554 หลังจากที่เขาเริ่มการรณรงค์ที่จะรวบรวมรายชื่อ 10,000 รายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   คำขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้รับการปฎิเสธมาโดยตลอดโดยศาลยุติธรรม  นายสมยศถูกต้องข้อหาอาญาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 เพียงเพราะว่าเขาอนุญาตให้มีบทความสองบทความของผู้เขียนอีกคนหนึ่งที่เป็น การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ในวารสารชื่อ “เสียงทักษิณ”  ซึ่งโดยปกติการพิจารณาคดีในศาลจะเป็นการพิจารณาคดีลับกรณีเกี่ยวกับข้อความ ที่ระบุว่าเป็นความผิดอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ไม่โปร่งใส
 
นายแดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ประเทศไทย ได้กล่าวว่า นายสมยศเป็นสมาชิกขององค์กรสิทธิมนุษยชนและเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกในทางการพูดได้รับผลกระทบจากกฎหมายเข้ม งวดที่เป็นการละเมิดสิทธิฯ
  
นอกจากเสียงสะท้อนจากประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน อดีตเพื่อนร่วมงาน นายโคทม อารยา ปัจจุบันเป็นอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า“ผมรู้จักสมยศตั้งแต่ตอนที่เราทำงานที่ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน เขามีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อพัฒนาสภาพของผู้แรงงาน ต่อมาได้ทำงานในด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางการเมืองให้กับแรงงงานไทย ด้วย   เขามีประวัติการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย แรงจูงใจทางการเมืองใดใดไม่ควรนำเขาต้องถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับคดี หมิ่นฯ"


รวมทั้งอดีตประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชนอีกท่านหนึ่ง นายจตุรงค์ บุญญรัตนสมบูรณ์ ได้กล่าวว่า “นายสมยศมักจะทำงานร่วมกับคนงานทั้งในเวลาที่สุขและทุกข์  เขาทำงานอุทิศตนเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน เขายืนหยัดในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย  เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย และไม่เห็นด้วยกับเผด็จการและรัฐประหาร นายสมยศเป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนงานในขณะที่เขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิ แรงงานให้กับสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน”
  
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะทำงานขององค์กรสหประชาติว่าด้วยการควบคุมตัวไม่ชอบ ได้ส่งจดเหมายอย่างเป็นทางการถึงประเทศไทยเพื่อเรียกร้องและตั้งคำถามเกี่ยว กับการควบคุมตัวนายสมยศ   รัฐบาลได้ตอบจดหมายเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน กล่าวว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นกฎหมายที่มีความชอบธรรมและและเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ และอธิบายด้วยว่า การกระทำความผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นการคุกคามความมั่นคงและ บูรณาการแห่งรัฐ เสี่ยงต่อการดำรงอยู่ของรัฐไทย  แต่ก็ไม่ได้ให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริงตามข้อ อ้างถึงความชอบธรรมในการกล่าวหานายสมยศ
  
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD)  พร้อมด้วยผู้แทนพิเศษว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทย ทำให้การถกเถียงกันเรื่องสำคัญที่เป็นความสนใจของสาธารณะกลายเป็นสิ่งต้อง ห้าม  ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก”  สิทธิเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองภายใต้มาตรา 19 ขออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและปฎิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน
  
“ประเทศไทยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการคุกคามทางกฎหมาย     รวมทั้งการควบคุมตัวนายสมยศ และบุคคลอื่นๆ ที่ใช้สิทธิในการแสดงออกทางความคิดเห็นของพวกเขา  ทั้งๆ ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมืองและมีภาระหน้าที่ในการเคารพและคุ้มครองเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิด เห็น”  ประธาน FIDH กล่าวเสริม
 
คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD)  ระบุว่า การรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการตีพิมพ์บทความที่วิ พากษณ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์นั้น เป็นการกระทำที่ต้องได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศตามข้อบท มาตรา 19 ขออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและปฎิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน  คณะทำงานฯ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ และให้ชดเชยค่าเสียหายแก่นายสมยศด้วย
  
คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) ได้ส่งจดหมายจากองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับกรณีคดีอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพในหลายครั้ง รวมถึงเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ผู้แทนพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน นาง Margaret Sekaggya และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยเรื่องสิทธิในการแสดงออกทางความคิดเห็น นาย Frank La Rue ได้ส่งหนังสือร้องเรียนเร่งด่วน มายังประเทศไทย เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ถูกดำเนินคดีอาญา รวมทั้งกรณีนายสมยศด้วย    ในเดือนตุลาคม พ.ศ.           2554 นาย Frank La Rue เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายพรบ.ความผิดอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ในกฎหมายอาญาของไทย โดยระบุว่า “กฎหมายดังกล่าวเป็นข้อหาที่กว้างและไม่ชัดเจน รวมทั้งมีบทลงโทษที่หนัก ไม่ได้สัดส่วนกับความจำเป็นในการปกป้องสถาบันกษัตริย์และความมั่นคงแห่งรัฐ”
   
ในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2554  สำนักงานข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ  คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) และผู้แทนพิเศษทั้งสามประเด็นได้ส่งข้อร้องเรียนเร่งด่วนอีกครั้งเมื่อเดือน ธันวาคม 2554 เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับการปฎิบัติต่อนายสมยศระหว่างการควบคุมตัวและ ความสอดคล้องของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศ
   
เดือนตุลาคม  ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำตัดสินว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยปีพ.ศ. 2550 นายสมยศจะต้องขึ้นศาลอาญาอีกครั้งในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำสั่งนี้
  
เลขาธิการของ OMCT นาย Gerald Staberock กล่าวว่า “ เราขอยืนยันอีกครั้งว่าเราเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ โดยทันที จากการถูกควบคุมตัวและจากการใช้กระบวนการทางศาลในการคุกคามเขา   เราขอให้ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติ องค์กรพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งสถานทูตประเทศต่าง ๆ ประจำประเทศไทยได้เรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ไทยเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายสมยศ  และจัดให้มีผู้สังเกตการณ์คดีในการพิจารณาคดีของนายสมยศที่จะถึงนี้ในวัน ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น