หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Timeline: ชัยชนะของกรรมกรข้ามชาติ 'เอ็มแอพพาแรล' กับการต่อสู้เพื่อสิทธิค่าจ้างขั้นต่ำ

Timeline: ชัยชนะของกรรมกรข้ามชาติ 'เอ็มแอพพาแรล' กับการต่อสู้เพื่อสิทธิค่าจ้างขั้นต่ำ

 

เขียนโดย ปรานม สมวงศ์ ศูนย์แรงงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง (WH4C)
(เผยแพร่ครั้งแรกใน Facebook ส่วนตัวของเธอ Pranom Somwong 
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150900350109332)

 

ปรานม สมวงศ์ บันทึกการต่อสู้ของกรรมกรข้ามชาติชาวพม่า 323 คน ที่ทำงานในโรงงาน เอ็มแอพพาแรล จำกัด ได้ร่วมกับมูลนิธิแมพและสมาคมแรงงานยองชีอูเพื่อเจรจากับนายจ้างจนได้รับการ จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ ตามกฎหมาย

แรงงานพม่า 323 คนที่ทำงานในโรงงาน เอ็มแอพพาแรล จำกัด ได้ร่วมกับมูลนิธิแมพและสมาคมแรงงานยองชีอูเพื่อเจรจากับนายจ้างโดยผ่านทาง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สาขาอำเภอแม่สอด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา แรงงานได้ประสบความสำเร็จในการเจรจาและขณะนี้ได้รับการจ่ายค่าจ้างตามอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ของแม่สอด ซึ่งจริงๆแล้วแรงงานทุกคนต้องได้รับการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ โดยต้องรวมถึงแรงงานข้ามชาติด้วย อย่างไรก็ตามแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตาม กฎหมายและค่าจ้างจริงๆที่ได้รับมักจะต่ำกว่าที่รัฐบาลไทยกำหนดทางกฎหมายมาก

แรงงานได้รับชัยชนะในการต่อสู้เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามกฎหมายค่า จ้างขั้นต่ำ และเพื่อให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ เมื่อแรงงานไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย ตามที่รัฐบาลกำหนดอัตราใหม่เพิ่มขึ้นในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา แรงงานได้เรียกร้องสิทธิของตนและได้ดำเนินกระบวนการเพื่อนัดหยุดงานจำนวน 21 วัน เริ่มเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งตามกฎหมายแรงงานควรมีสิทธิได้รับค่าแรง 226 บาทในเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงของวันทำงานปกติ ก่อนที่จะมีการกำหนดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำใหม่นี้ แรงงานในพื้นที่นี้ควรจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย วันละ 162 บาท

ทว่าก่อนที่แรงงานจะเรียกร้องสิทธิพวกเธอและเขา แรงงานได้รับค่าแรงจริงเพียงแค่ 60-100 บาท ซึ่งในเงินจำนวนนี้ได้รวมค่าทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุดแล้ว แรงงานต้องทำงานโดยไม่มีวันหยุดตั้งแต่ 8.00 เช้าถึงห้าทุ่ม โดยโรงงานจ่ายค่าล่วงเวลาแค่ชั่วโมงละ 8-10 บาท 

เหตุเกิดจากการนายจ้างไม่จ่ายค่าแรงตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ส่งผลให้แรงงานประสบความยากลำบาก ต้องอยู่โดยไม่มีเงิน ต้องอดอยากไม่มีเงินซื้ออาหารกินและไม่มีเงินใช้จ่ายในสิ่งของพื้นฐานที่จะ เป็นต่อการดำรงชีวิต แรงงานเริ่มที่จะเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าแรงขั้นต่ำอัตราใหม่ตามที่ กฎหมายกำหนด และอยากให้นายจ้างซ่อมแซมที่พัก จัดให้มีน้ำดื่มที่สะอาดและมีไฟฟ้าใช้ และได้รับสิทธิที่พึงมีพึงได้เหมือนแรงงานคนอื่นๆ 

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41110

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น