หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สัญญาณ"ปรองดอง"แผ่ว "ยิ่งลักษณ์" ปรับโหมด"การเมือง" เร่งถอดชนวนปะทุ!

สัญญาณ"ปรองดอง"แผ่ว "ยิ่งลักษณ์" ปรับโหมด"การเมือง" เร่งถอดชนวนปะทุ!

 


หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 1 รับไต่สวนคำร้องที่กล่าวหาว่าการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 68 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ดูเหมือนว่าการเมืองเริ่มมีการเปลี่ยนอีกครั้ง

ทั้งนี้เพราะ มาตรา 68 บัญญัติห้ามการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข หรือการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน


โทษความผิดตามมาตรานี้รุนแรงถึงขั้นยุบพรรค!
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับไต่สวน และสั่งห้ามสภาลงมติ

ในวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จึงทำให้สัญญาณปรองดองที่เคยแจ่มชัด กลับแผ่วเบาลง

ย้อน หลังกลับไปเมื่อไม่นานมานี้ ดูเหมือนว่าเมื่อพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีจึงไม่สะดุด ขณะที่นานาชาติให้ความสำคัญทำให้บรรยากาศทางการเมืองไทยแลดูดีขึ้น

ยิ่งเมื่อมีการจัดงาน
"รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย" ที่ ทำเนียบรัฐบาล และการร่วมมือร่วมใจของนักวิชาการกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการเห็นกระบวนการปรองดองเกิดขึ้น มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองและมีการ ดำเนินการตามคำแนะนำ

ขณะนั้นดูเหมือนว่าการเมืองไทยกำลังก้าวเข้าสู่โหมดปรองดอง

กระทั่ง มีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติเข้าสู่การพิจารณา ของรัฐสภา โดยมีเนื้อความบ่งบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะได้รับนิรโทษกรรมด้วย

เท่านั้นเองสัญญาณปรองดองที่เคย "เข้ม" กลับ "แผ่ว" ขณะที่ความขัดแย้งรอบใหม่กำลังเกิดขึ้น

จังหวะ นี้เอง ศาลรัฐธรรมนูญที่รับไต่สวนตามมาตรา 68 และมีคำสั่งให้สภาชะลอการลงมติในวาระ 3 จนเกิดความขัดแย้งในขั้นตอนกระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฝ่ายหนึ่งเห็นว่า มาตรา 68 เปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องต่อ "อัยการสูงสุด" เท่านั้น ไม่สามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เรื่องดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญสามารถยื่นคำร้องได้โดยตรง

ความขัดแย้งดังกล่าวได้แตกประเด็นออกไปเรื่อยๆ แม้แต่พรรคเพื่อไทยเองก็มีความเห็นแตกต่าง

ฝ่าย หนึ่งผลักดันให้รัฐสภาไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ โดยโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 ไปเลย แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่าหากโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญไปได้ แต่เมื่อกฎหมายยังมีข้อน่าสงสัยอาจกระทบต่อสถานภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทูลเกล้าฯ กฎหมาย และอาจกระทบต่อพรรค

เพื่อไทย และเสถียรภาพของรัฐบาลในที่สุด


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339896588&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น