หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เผยผลสำรวจหลังปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พบร้องเรียนกว่า 5 พันราย

เผยผลสำรวจหลังปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พบร้องเรียนกว่า 5 พันราย

 




(19 ก.ค.55) ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างที่ไม่เป็น ธรรม 8 ศูนย์พื้นที่ แถลงผลสำรวจการรับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม ไตรมาสแรก หลังนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล 300 บาทต่อวัน มีผลบังคับใช้พื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภูเก็ต เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา

ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า จากการสำรวจ มีผู้ร้องเรียน 5,134 คน ใน 3 กรณีปัญหา ได้แก่ การไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2,380 คน โดยพบในกิจการธุรกิจโรงแรม ธุรกิจขนส่ง ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์และจิวเวอรี การเปลี่ยนสภาพการจ้าง เช่น ปรับย้ายตำแหน่ง ลดสวัสดิการ ย้ายฐานการผลิต จำนวน 2,168 คน ในกิจการสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และการนำสวัสดิการมารวมค่าจ้าง 586 คน พบในกิจการอิเล็กทรอนิกส์ บริการ ธุรกิจขนส่ง อาหารและเฟอร์นิเจอร์

ชาลี กล่าวด้วยว่า สถานประกอบการกว่า 50% มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาลกำหนดจริง แต่กลับปรับลดสวัสดิการอื่นๆ ลงแทน เพื่อทำให้สถานประกอบการจ่ายเงินให้ลูกจ้างได้ในอัตราผลรวมเท่าเดิม เช่น ในกิจการธุรกิจขนส่ง พบว่า แรงงานที่เป็นพนักงานขับรถส่งของ นายจ้างไม่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้ แต่เอาค่าขับรถในแต่ละรอบไปรวมกับเงินเดือนกลายเป็นค่าจ้างแทน ทั้งที่ค่าขับรถแต่ละเที่ยวนั้นไม่ใช่ค่าจ้างประจำจึงไม่สามารถนำไปรวมเป็น ค่าจ้างตามกฎหมายได้ และเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน หากวันใดไม่มาทำงานก็จะไม่ได้รับ การทำเช่นนี้ยิ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและส่งผลต่อความไม่ ปลอดภัยในการทำงานเพิ่มขึ้น เพราะแรงงานจะต้องทำงานมากขึ้น ชั่วโมงการทำงานยาวขึ้น

ชาลี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีการปรับเพิ่มค่าจ้างขึ้นตามอายุงาน ทำให้แรงงานที่เข้ามาทำงานใหม่ได้รับค่าจ้างเกือบเท่ากับแรงงานที่ทำงานมา นานนับสิบปี ส่งผลให้แรงงานที่ทำงานมานานหมดกำลังใจในการทำงานตามฝีมือแรงงาน และเมื่อแรงงานกลุ่มนี้ร้องเรียนต่อผู้บริหารเพื่อขอปรับค่าจ้าง นายจ้างก็จะใช้วิธีข่มขู่เรื่องการเลิกจ้างแทน ทั้งที่สถานประกอบการย่อมทราบดีว่าแรงงานที่อายุการทำงานมาก เมื่อถูกเลิกจ้างมักหางานทำยาก เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานสูงอายุ 

บางบริษัทใช้วิธีประกาศเลิกกิจการแล้วเปิดกิจการใหม่ โดยประกาศรับพนักงานแล้วเริ่มนับอายุงานใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับค่าจ้างแรงงานในกลุ่มแรงงานที่ทำงานมานานแล้วในอัตรา ที่สูงขึ้น ขณะที่แรงงานในภาคบริการ เช่น แม่บ้าน ยามรักษาความปลอดภัย ซึ่งส่วนมากเป็นการจ้างงานผ่านบริษัทเหมาช่วง มีการทำสัญญาการจ้างงานที่มีระยะเวลาแน่นอน เมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ยังมีการใช้สัญญาจ้างเดิม ไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแต่อย่างใด

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41632

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น