หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยกฟ้อง! คดีโปรแกรมเมอร์ถูกกล่าวหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นสถาบัน

ยกฟ้อง! คดีโปรแกรมเมอร์ถูกกล่าวหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นสถาบัน


ฝากรูป

31 ต.ค.55 เวลาประมาณ 9.50 น. ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา รัชดา ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.4857/2554 ที่นายสุรภักดิ์ ภูไชยแสง เป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 และ มาตรา 3, 14, 17 โดยศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ฟ้องหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2

(อ่านคำพิพากษาฉบับย่อด้านล่าง)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ได้แก่ ผู้พิพากษาณรงค์เดช นวลมณี ผู้พิพากษาสุรพล โตศักดิ์ และผู้พิพากษาอิสริยา ยงพาณิชย์ ส่วนบรรยากาศในห้องพิจารณาคดีวันนี้มีผู้เข้าร่วมฟังคำพิพากษาจนเต็มห้อง ทั้งสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ขณะที่เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประกาศว่าผู้สื่อข่าวสามารถรับคำพิพากษาฉบับ ย่อได้ที่สำนักเลขานุการศาลอาญา

หลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาสุรภักดิ์มีอาการยิ้มแย้มและเข้าสวมกอด มารดาก่อนจะถูกคุมตัวไปยังเรือนจำ และคาดว่าเขาจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯในช่วงเย็นวันนี้

สุรภักดิ์กล่าวในภายหลังว่า การประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่มาตราในรัฐธรรมนูญกลับกับมีค่าไม่เท่ากัน การไม่ได้รับการประกันตัวทำให้เขามีความยากลำบากในการต่อสู้คดีอย่างมาก ต้องอยู่ในเรือนจำเกือบ 1 ปี 2 เดือน ทำให้สูญเสียทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการงาน ครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจเยียวยาได้ รัฐไทยมีงบประมาณปกป้ององค์กรต่างๆ มากมายแต่กลับไม่มีการปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์

ธิติพงษ์ ศรีแสน ทนายความของสุภักดิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าคดีอะไรก็ตาม ถ้าจำเลยต้องติดคุกในระหว่างพิจารณาคดีจะทำให้จำเลยเสียเปรียบ โดยเฉพาะกฎหมายไทยเป็นระบบกล่าวหา และคดีลักษณะนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคซับซ้อน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราควรพูดกันมากกว่าสิทธิการประกันตัวตามที่รัฐธรรมนูญรับรองซึ่งพูด กันมามากแล้ว ก็คือ อำนาจของการไม่ให้ประกันของแต่ละส่วนว่ามีอำนาจแค่ไหน หากเราวางระบบให้ดี ก็จะปิดช่องการใช้ดุลยพินิจที่อาจละเมิดสิทธิประชาชนได้

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43413

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น