ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศนี้จะเลิกใช้ระบบ "ดุลพินิจของผู้พิพากษาไม่กี่คน และหันมาใช้ดุลพินิจของประชาชนธรรมดาแบบคณะลูกขุน
ผมตั้งคำถามนี้จากกระทู้เมื่อวาน
กรณีที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจผิด จนผู้ต้องหาเสียชีวิต
ผู้พิพากษาต้องรับผิดชอบ (แบบเดียวกับอาชีพอื่นๆทุกอาชีพ) หรือไม่
แต่ก็มีแฟนเพจบางท่านถามกลับ "อ้าว โทษผู้พิพากษาได้อย่างไง มันมีคณะลูกขุนไม่ใช่หรือ ?"
....ผม
เรียนดังนี้เพื่อเป็นความรู้ ประเทศเราไม่ได้ใช้ระบบลูกขุนนะครับ
ประเทศเราใช้ "ดุลพินิจผู้พิพากษา" ในการตัดสินข้อเท็จจริง
(แต่มักมีข้อคิดเห็นมาปนๆมั่วๆบ่อยๆ) ในการตัดสินคดี
ซึ่งอาจมีผู้ช่วยผู้พิพากษา
แต่อำนาจทั้งหมดในศาลจะอยู่ที่ผู้พิพากษาเป็นสิทธิ์ขาดเพียงคนเดียว
จากการใช้อำนาจตุลาการจนล้นเกิน จนเกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิตประชาชน
ทั้งๆที่บางคนมิได้มีความผิด หือมิได้มีความผิดรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
ทำให้มีประชาชนจำนวนมากถกเถียงกันเรื่อง "อำนาจในมือผู้พิพากษา"
อันเป็นสิทธิ์ขาด ชี้เป็นชี้ตายประชาชน
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้พิพากษา
แต่แค่
"ดุลพินิจของผู้พิพากษา" เท่านั้น มันเพียงพอแล้วหรือ
กับการชี้เป็นชี้ตายชีวิตประชาชน มันเพียงพอแล้วหรือ...
ที่จะจับคนๆนึงติดคุก และเปลี่ยนชีวิตเค้าไปทั้งชีวิต
มันถึงเวลาหรือยังที่ประเทศนี้จะเลิกใช้ระบบ "ดุลพินิจของผู้พิพากษาไม่กี่คน และหันมาใช้ดุลพินิจของประชาชนธรรมดาแบบคณะลูกขุน
หากท่านไม่รู้จักคณะลูกขุนคืออะไร สามารถอ่านได้ตามลิงค์
เขียนโดยทนายประเวศ
http://spadmc.blogspot.com/2010/11/blog-post_9917.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น