ชุมนุมครบรอบสองปีปฏิวัติอียิปต์กับ 'ความฝันที่ยังไม่เป็นจริง'
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=CrEBFlx6yks
Fatal clashes on Egypt uprising anniversary
http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-21191260
แม้อียิปต์จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการลุกฮือในภูมิภาค อาหรับเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ในการชุมนุมครบรอบการปฏิวัติก็ยังมีกลุ่มคนผู้ไม่พอใจรัฐบาลใหม่ออกมา ประท้วงกันในหลายเมือง รวมถึงจัตุรัสทาห์รีร์ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ พร้อมกับคำขวัญเดิมจากเมื่อสองปีที่แล้ว คือ 'ขนมปัง, เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม'
เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2013 ประชาชนชาวอียิปต์ได้มาชุมนุมที่จัตุรัสทาห์รีร์อีกครั้งเพื่อรำลึกถึงวัน ครบรอบการลุกฮือของประชาชนที่สามารถโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ลงได้
มีประชาชนหลายร้อยคนมาชุมนุมกันตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ก็เกิดเหตุกลุ่มผู้ชุมนุมวัยรุ่นที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลปะทะกับเจ้า หน้าที่ตำรวจ โดยที่เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินกลางเปิดเผยว่ามีประชาชน 110 คนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการปะทะ
สื่อรัฐบาลอียิปต์รายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก็สน้ำตาเพื่อสลายผู้ ชุมนุมที่พยายามข้ามแผงกั้นลวดหนามรอบทำเนียบประธานาธิบดี ขณะที่มีผู้เห็นเหตุการณ์ให้ข้อมูลกับสื้อต่างประเทศว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลได้ใช้อาวุธติดไฟที่มีคนขว้างใส่พวกเขาเอาไปจุด เผาเต็นท์ผู้ชุมนุมเยาวชนสองหลัง
จากที่ก่อนหน้านี้จัตุรัสทาห์รัร์เป็นแหล่งประวัติศาสตร์โค่นล้มอดีตผู้ นำเผด็จการในปี 2011 เปิดทางให้มีการเลือกตั้งจนกระทั่งได้ผู้นำคนใหม่คือโมฮัมเมด มอร์ซี แต่ก็มีชาวอียิปต์บางส่วนที่ต่อต้านโดยเฉพาะกลุ่มเสรีนิยมและฆราวาสนิยม เพราะคิดว่ามูบารัคได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ทำให้มีผู้หวังว่าการชุมนุมครบรอบปีในครั้งนี้จะเป็นการชุมนุมของกลุ่มคนที่ ต่อต้านรัฐบาลของโมฮัมเมด มอร์ซี
'ขนมปัง, เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม' ความฝันที่ยังไม่เป็นจริง
ทั้งอัลจาซีร่าและ BBC กล่าวตรงกันว่าการชุมนุมในครั้งนี้ไม่ได้มาจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม แต่มาจากกลุ่มฆราวาสนิยมที่ต่อต้านรัฐบาล และกลุ่มภราดรภาพฯ ก็ส่งข้อความไม่ให้สมาชิกออกไปร่วมชุมนุมประท้วง โดยเสนอให้ออกไปบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เช่น การปลูกต้นไม้ หรือการทำการกุศลแทน โดยใช้ประโยคเชิญชวนว่า "ร่วมกัน เราช่วยสร้างอียิปต์" (Together we will build Egypt)
ทางด้านผู้ประท้วงในครั้งนี้ก็ใช้สโลแกนเดียวกันกับที่ใช้ในประท้วงมูบารัคในปี 2011 คือ "ขนมปัง, เสรีภาพ, ความเป็นธรรมในสังคม"
ผู้ประท้วงรายหนึ่งชื่อ ฮันนา อะบู เอล-การ์ กล่าวต่อ BBC ว่า ที่พวกเขาประท้วงเพราะพวกเขาเคยเรียกร้อง 'ขนมปัง, เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม' ซึ่งการปฏิวัติก็ผ่านมาสองปีแล้ว แต่ความฝันของพวกเขาไม่เป็นจริงสักอย่าง
โมฮาเมด เอล บาราดาย ผู้นำฝายต่อต้านรัฐบาลปัจจุบันได้กล่าวผ่านทวิตเตอร์เรียกร้องให้ออกไป ชุมนุมที่จัตุรัสเพื่อทำให้จุดประสงค์ของการปฏิวัติเป็นจริง ขณะที่ประธานาธิบดีมอร์ซีได้กล่าวปราศรัยก่อนหน้านี้ในวันที่ 24 ม.ค. เรียกร้องให้ประชาชนชุมนุมในวันครบรอบด้วยความสงบสันติและมีอารยะ
เหตุวุ่นวายในอียิปต์ กับ 'การปฏิวัติ' ที่ยังดำเนินต่อไป
BBC รายงานว่า ในช่วงเช้าผู้ชุมนุมบางคนได้ตั้งจุดตรวจที่หน้าทางเข้าจัตุรัสเพื่อระบุตัว ตนของประชาชนที่เข้าร่วม มีผู้ชุมนุมอีกส่วนหนึ่งที่จัดนิทรรศการภาพถ่ายผู้เสียชีวิตจากการชุมนุม หลายครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา
"การปฏิวัติของพวกเรายังคงดำเนินต่อไป พวกเราปฏิเสธการยึดครองอำนาจเหนื่อรัฐนี้ไม่ว่าจะมาจากพรรคใดฝ่ายใด พวกเราขอปฏิเสธรัฐของกลุ่มภราดรภาพฯ" ฮัมดีน ซาบาฮี ผู้นำฝ่ายซ้ายกล่าว
ผู้ชุมนุมชื่อฮานี รากี กล่าวต่อ BBC ว่า เขาได้ลงคะแนนให้มอร์ซีเพราะไม่อยากเห็นคนจากรัฐบาลก่อนหน้านี้กลับมามี อำนาจอีกครั้ง แต่มอร์ซีก็ไม่สามารถทำตามสัญญาได้ เศรษฐกิจของอียิปต์ย้ำแย่ เขามาชุมนุมเพราะต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปอย่างจริงจัง
รอบๆ จัตุรัสทาห์รีร์รายล้อมไปด้วยอาคารที่ทำการของรัฐบาลและสถานทูตต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดถูกกั้นด้วยกำแพงคอนกรีตตั้งแต่เดือน พ.ย. 2012 แต่เมื่อคืนวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมาก็มีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามรื้อทำลายกำแพงส่วนหนึ่ง แต่ก็มีการสร้างกำแพงใหม่ปิดที่ทำการรัฐสภา มีเหตุความวุ่นวายเกิดขึ้นข้ามคืน ด้านสถานีโทรทัศน์ไนล์ทีวีรายงานว่ามีการปะทะรุนแรงขึ้นด้านนอกที่ทำการ กระทรวงมหาดไทย
ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่า ไมค์ ฮันนา รายงานจากกรุงไคโร บอกว่ามีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามฝ่าเข้าไปในที่ทำการกระทรวงมหาดไทยที่ถูกกั้นไว้
ขณะที่ อะลีม มัคบูล ผู้สื่อข่าว BBC รายงานจากจัตุรัสทาห์รีร์ว่ามีผู้มาชุมนุมประท้วงจำนวนมากแต่เหตุความรุนแรง เกิดขึ้นแค่ในมุมเล็กๆ โดยมีกลุ่มเยาวชนขว้างปาก้อนหินใส่อาคารรัฐสภา และประชาชนก็ได้กล่าวคำขวัญต่อต้านปธน.มอร์ซีแบบเดียวกับที่เคยใช้ต่อต้าน อดีตปธน.มูบารัค
นอกจากในกรุงไคโรแล้ว ยังมีการประท้วงกลุ่มเล็กกว่าในเมืองอื่นๆ ของอียิปต์ เช่น อเล็กซานเดรีย, อิสไมลิยา, สุเอช และพอรืต ซาอิด โดยที่ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ากล่าวว่ากลุ่มผู้ประท้วงแสดงความไม่พอใจ เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่ารัฐบาลทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขา
โดยในอเล็กซานเดรีย เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอียิปต์ ผู้ชุมนุมได้จับมือกันเป็นโซ่มนุษย์ในมัสยิด อัล-คาอิด อิบราฮิม ขณะที่ผู้ประท้วงอีกส่วนหนึ่งพากันไปยืนปิดกั้นทางรถไฟ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก็สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมในย่านสองย่านของอเล็ก ซานเดรีย โดยผู้ชุมนุมบางส่วนก็ได้จุดไฟเผายางรถยนต์
ในเมืองอิสไมลิยา ผู้ชุมนุมได้บุกเข้าไปในสำนักงานผู้ว่าราชการ มีผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าพบเห็นกลุ่มวัยรุ่นบุกเข้าไปในสำนักงานของพรรคฟรี ดอมแอนด์จัสติส ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของมอร์ซี ก่อนจุดไฟเผา ขณะที่โทรทัศน์ช่องรัฐบาลอียิปต์ได้เผยแพร่ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมขว้างปาก้อนหิน ใส่อาคารในเมืองสุเอช
อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า แม้จะมีการประท้วงจำนวนมาก แต่ก็มีกลุ่มคนบางส่วนออกมาชุมนุมเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบปีที่สองของการ ปฏิวัติอียิปต์
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44915
Deadly clashes as Egyptians mark uprising
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2013/01 /201312571638570662.html Fatal clashes on Egypt uprising anniversary
http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-21191260
แม้อียิปต์จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการลุกฮือในภูมิภาค อาหรับเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ในการชุมนุมครบรอบการปฏิวัติก็ยังมีกลุ่มคนผู้ไม่พอใจรัฐบาลใหม่ออกมา ประท้วงกันในหลายเมือง รวมถึงจัตุรัสทาห์รีร์ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ พร้อมกับคำขวัญเดิมจากเมื่อสองปีที่แล้ว คือ 'ขนมปัง, เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม'
เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2013 ประชาชนชาวอียิปต์ได้มาชุมนุมที่จัตุรัสทาห์รีร์อีกครั้งเพื่อรำลึกถึงวัน ครบรอบการลุกฮือของประชาชนที่สามารถโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ลงได้
มีประชาชนหลายร้อยคนมาชุมนุมกันตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ก็เกิดเหตุกลุ่มผู้ชุมนุมวัยรุ่นที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลปะทะกับเจ้า หน้าที่ตำรวจ โดยที่เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินกลางเปิดเผยว่ามีประชาชน 110 คนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการปะทะ
สื่อรัฐบาลอียิปต์รายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก็สน้ำตาเพื่อสลายผู้ ชุมนุมที่พยายามข้ามแผงกั้นลวดหนามรอบทำเนียบประธานาธิบดี ขณะที่มีผู้เห็นเหตุการณ์ให้ข้อมูลกับสื้อต่างประเทศว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลได้ใช้อาวุธติดไฟที่มีคนขว้างใส่พวกเขาเอาไปจุด เผาเต็นท์ผู้ชุมนุมเยาวชนสองหลัง
จากที่ก่อนหน้านี้จัตุรัสทาห์รัร์เป็นแหล่งประวัติศาสตร์โค่นล้มอดีตผู้ นำเผด็จการในปี 2011 เปิดทางให้มีการเลือกตั้งจนกระทั่งได้ผู้นำคนใหม่คือโมฮัมเมด มอร์ซี แต่ก็มีชาวอียิปต์บางส่วนที่ต่อต้านโดยเฉพาะกลุ่มเสรีนิยมและฆราวาสนิยม เพราะคิดว่ามูบารัคได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ทำให้มีผู้หวังว่าการชุมนุมครบรอบปีในครั้งนี้จะเป็นการชุมนุมของกลุ่มคนที่ ต่อต้านรัฐบาลของโมฮัมเมด มอร์ซี
'ขนมปัง, เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม' ความฝันที่ยังไม่เป็นจริง
ทั้งอัลจาซีร่าและ BBC กล่าวตรงกันว่าการชุมนุมในครั้งนี้ไม่ได้มาจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม แต่มาจากกลุ่มฆราวาสนิยมที่ต่อต้านรัฐบาล และกลุ่มภราดรภาพฯ ก็ส่งข้อความไม่ให้สมาชิกออกไปร่วมชุมนุมประท้วง โดยเสนอให้ออกไปบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เช่น การปลูกต้นไม้ หรือการทำการกุศลแทน โดยใช้ประโยคเชิญชวนว่า "ร่วมกัน เราช่วยสร้างอียิปต์" (Together we will build Egypt)
ทางด้านผู้ประท้วงในครั้งนี้ก็ใช้สโลแกนเดียวกันกับที่ใช้ในประท้วงมูบารัคในปี 2011 คือ "ขนมปัง, เสรีภาพ, ความเป็นธรรมในสังคม"
ผู้ประท้วงรายหนึ่งชื่อ ฮันนา อะบู เอล-การ์ กล่าวต่อ BBC ว่า ที่พวกเขาประท้วงเพราะพวกเขาเคยเรียกร้อง 'ขนมปัง, เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม' ซึ่งการปฏิวัติก็ผ่านมาสองปีแล้ว แต่ความฝันของพวกเขาไม่เป็นจริงสักอย่าง
โมฮาเมด เอล บาราดาย ผู้นำฝายต่อต้านรัฐบาลปัจจุบันได้กล่าวผ่านทวิตเตอร์เรียกร้องให้ออกไป ชุมนุมที่จัตุรัสเพื่อทำให้จุดประสงค์ของการปฏิวัติเป็นจริง ขณะที่ประธานาธิบดีมอร์ซีได้กล่าวปราศรัยก่อนหน้านี้ในวันที่ 24 ม.ค. เรียกร้องให้ประชาชนชุมนุมในวันครบรอบด้วยความสงบสันติและมีอารยะ
เหตุวุ่นวายในอียิปต์ กับ 'การปฏิวัติ' ที่ยังดำเนินต่อไป
BBC รายงานว่า ในช่วงเช้าผู้ชุมนุมบางคนได้ตั้งจุดตรวจที่หน้าทางเข้าจัตุรัสเพื่อระบุตัว ตนของประชาชนที่เข้าร่วม มีผู้ชุมนุมอีกส่วนหนึ่งที่จัดนิทรรศการภาพถ่ายผู้เสียชีวิตจากการชุมนุม หลายครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา
"การปฏิวัติของพวกเรายังคงดำเนินต่อไป พวกเราปฏิเสธการยึดครองอำนาจเหนื่อรัฐนี้ไม่ว่าจะมาจากพรรคใดฝ่ายใด พวกเราขอปฏิเสธรัฐของกลุ่มภราดรภาพฯ" ฮัมดีน ซาบาฮี ผู้นำฝ่ายซ้ายกล่าว
ผู้ชุมนุมชื่อฮานี รากี กล่าวต่อ BBC ว่า เขาได้ลงคะแนนให้มอร์ซีเพราะไม่อยากเห็นคนจากรัฐบาลก่อนหน้านี้กลับมามี อำนาจอีกครั้ง แต่มอร์ซีก็ไม่สามารถทำตามสัญญาได้ เศรษฐกิจของอียิปต์ย้ำแย่ เขามาชุมนุมเพราะต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปอย่างจริงจัง
รอบๆ จัตุรัสทาห์รีร์รายล้อมไปด้วยอาคารที่ทำการของรัฐบาลและสถานทูตต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดถูกกั้นด้วยกำแพงคอนกรีตตั้งแต่เดือน พ.ย. 2012 แต่เมื่อคืนวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมาก็มีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามรื้อทำลายกำแพงส่วนหนึ่ง แต่ก็มีการสร้างกำแพงใหม่ปิดที่ทำการรัฐสภา มีเหตุความวุ่นวายเกิดขึ้นข้ามคืน ด้านสถานีโทรทัศน์ไนล์ทีวีรายงานว่ามีการปะทะรุนแรงขึ้นด้านนอกที่ทำการ กระทรวงมหาดไทย
ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่า ไมค์ ฮันนา รายงานจากกรุงไคโร บอกว่ามีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามฝ่าเข้าไปในที่ทำการกระทรวงมหาดไทยที่ถูกกั้นไว้
ขณะที่ อะลีม มัคบูล ผู้สื่อข่าว BBC รายงานจากจัตุรัสทาห์รีร์ว่ามีผู้มาชุมนุมประท้วงจำนวนมากแต่เหตุความรุนแรง เกิดขึ้นแค่ในมุมเล็กๆ โดยมีกลุ่มเยาวชนขว้างปาก้อนหินใส่อาคารรัฐสภา และประชาชนก็ได้กล่าวคำขวัญต่อต้านปธน.มอร์ซีแบบเดียวกับที่เคยใช้ต่อต้าน อดีตปธน.มูบารัค
นอกจากในกรุงไคโรแล้ว ยังมีการประท้วงกลุ่มเล็กกว่าในเมืองอื่นๆ ของอียิปต์ เช่น อเล็กซานเดรีย, อิสไมลิยา, สุเอช และพอรืต ซาอิด โดยที่ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ากล่าวว่ากลุ่มผู้ประท้วงแสดงความไม่พอใจ เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่ารัฐบาลทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขา
โดยในอเล็กซานเดรีย เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอียิปต์ ผู้ชุมนุมได้จับมือกันเป็นโซ่มนุษย์ในมัสยิด อัล-คาอิด อิบราฮิม ขณะที่ผู้ประท้วงอีกส่วนหนึ่งพากันไปยืนปิดกั้นทางรถไฟ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก็สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมในย่านสองย่านของอเล็ก ซานเดรีย โดยผู้ชุมนุมบางส่วนก็ได้จุดไฟเผายางรถยนต์
ในเมืองอิสไมลิยา ผู้ชุมนุมได้บุกเข้าไปในสำนักงานผู้ว่าราชการ มีผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าพบเห็นกลุ่มวัยรุ่นบุกเข้าไปในสำนักงานของพรรคฟรี ดอมแอนด์จัสติส ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของมอร์ซี ก่อนจุดไฟเผา ขณะที่โทรทัศน์ช่องรัฐบาลอียิปต์ได้เผยแพร่ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมขว้างปาก้อนหิน ใส่อาคารในเมืองสุเอช
อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า แม้จะมีการประท้วงจำนวนมาก แต่ก็มีกลุ่มคนบางส่วนออกมาชุมนุมเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบปีที่สองของการ ปฏิวัติอียิปต์
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น