หน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วาทกรรม “เบื่อความรุนแรง” กับเส้นทาง “เอกราชอาบเลือด” ที่ปาตานี

วาทกรรม “เบื่อความรุนแรง” กับเส้นทาง “เอกราชอาบเลือด” ที่ปาตานี



 
"ถ้าเบื่อความ รุนแรงจริง ก็ต้องเจรจา แต่ไม่ใช่การเจรจาจัดฉากเพื่องานการข่าวเหมือนหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา เพราะเชื่อว่าอารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนและสมาชิกขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อ เอกราชปาตานี ก็คงเบื่อภาวะความรุนแรงไม่ต่างกับทาง กอ.รมน. เหมือนกัน และในเวลาเดียวกันก็ “เบื่อการเจรจาจัดฉาก” ด้วยเหมือนกัน
 
ท่าทีที่ไม่ชัดเจนของรัฐไทยว่ากำลังทำสงครามเพื่อยุติสงครามกับขบวนการ เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี ด้วยความรุนแรงโดยใช้การทหาร หรือ ด้วยสันติวิธีที่ต้องสิ้นสุดที่การเจรจา แบบมีคนกลางที่มีความเป็นรัฐโดยใช้การเมือง ทำให้เหลือพื้นที่การต่อสู้สำหรับประชาชนปาตานีที่ต้องการเอกราชเป็นทางเลือกแห่งสันติภาพด้วยการหลั่งเลือดเท่านั้น

นี่คือสภาพความเป็นจริงของสถานการณ์ความไม่สงบ บนเส้นทางเอกราชอาบเลือดที่ปาตานีหรือชายแดนใต้ของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน"


โดย ตูแวดานียา ตูแวแมแง
สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (YDA)


เริ่มเข้าเดือนแรกของปีที่ 10 ของสถานการณ์สงครามนอกระบบระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีกับรัฐ ไทย ก็พอเห็นแสงแห่งความหวังของสันติภาพบ้างแบบคลุมเครือ โดยผ่านวาทกรรม “เบื่อความรุนแรง” ตามป้ายริมถนนสายหลักทั่วพื้นทีจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการเดินทางหารือเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียในการ คลี่คลายปัญหาความรุนแรงของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กับ ดาโต๊ะศรีฮัจญี มูฮำหมัดนายิบ บินต่วนฮัจญีอับดุลรอซัก นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย 

ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าชนวนเหตุการณ์สู้รบระลอกใหม่ครั้งนี้ ถูกจุดด้วยยุทธการปล้นปืนที่ค่าย ร.5 พันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ.2547 จากนั้นมากลิ่นอายของบรรยากาศสงครามประชาชนก็เกิดขึ้นอย่างมีพัฒนาการชัด ขึ้นและชัดขึ้นเรื่อยๆของภาพการมีหุ้นส่วนสำคัญ ในการดำเนินการสงครามจรยุทธ์ที่มาจากบทบาทของประชาชนโดยผ่านทั้งกองกำลังติด อาวุธและแนวทางทางการเมืองทุกรูปแบบ แต่ไม่ได้หมายความว่าก่อนปี พ.ศ.2547 นั้นสถานการณ์อยู่ในภาวะสงบ เพราะชนวนเหตุของสงครามนอกระบบในดินแดนมลายูแห่งนี้ ตามที่หลายชุดข้อมูลทางวิชาการประวัติศาสตร์ปาตานีกับสยามได้อ้างถึง ชัดเจนว่ามาจากอุดมการณ์ปลดแอกจากการยึดครองดินแดนของสยามโดยคนมลายูปาตานี กับอุดมการณ์รักษาดินแดนอันเป็นผลลัพธ์ของการล่าอาณานิคมสำเร็จของสยามหรือ กรุงเทพฯโดยรัฐไทย ซึ่งเริ่มต้นภาวะสงครามด้วยเหตุการณ์แรกที่อาณาจักรปาตานีถูกตีแตกโดย อาณาจักรสยามเมื่อปี ค.ศ.1786

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น