แนวชาตินิยมและการทหาร แก้ปัญหาชายแดนใต้ไม่ได้
เสนอให้ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงทุกฉบับ และถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยให้กับคนในพื้นที่สามารถออกแบบรูปแบบการปกครอง ของตนเองได้ เพราะการมีกฎหมายความมั่นคงและทหารอยู่ในพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ความ รุนแรงสงบลงได้ และบ่อยครั้งทหารมักจะเป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงด้วย
โดย วัฒนะ วรรณ
การก่นด่าเหตุการณ์ที่ผู้บริสุทธิ์ ตามภาพข่าวที่นำเสนอออกมาสู่สาธารณะ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในชายแดนใต้ ด้วยความเครียดแค้นเช่นที่เห็นตามสื่อโดยทั่วไปของพลเมืองในรัฐไทย ย่อมเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ภายใต้ชุดความคิดด้านมนุษยชาตินิยม เพราะเป็นการก่นด่าเครียดแค้นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของกลุ่มกบฏ แต่ละเลยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการฆ่า จับกุม ทรมาน ในหลายกรณี ภายใต้กฎหมายความมั่นคง
แต่การตายไม่ว่าจะเกิดกับใคร ก็ไม่สมควรเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเราอาจจะก่นด่า ประณามการกระทำที่โหดร้ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ และฝ่ายกบฏ แต่การพูดแบบนี้ ก็ไม่ได้นำไปสู่ทางออกใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าเราจะหาทางออก เราต้องมองหาสาเหตุ ว่าอะไรทำให้เกิดสงครามกลางเมืองชายแดนใต้ ซึ่งมีทั้งมิติทางประวัติศาสตร์ และมิติในปัจจุบันผสมอยู่มิใช่น้อย ในด้านมิติประวัติศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยมิติชาตินิยมมาลายู(ผมไม่แน่ใจว่าควร ใช้ชื่อเรียกชนชาติที่ถูกต้องในเขตพื้นที่นี้ว่าอย่างไร ท่านใดพอทราบช่วยอธิบายด้วย) ที่ชนชั้นปกครองของชนชาติมาลายูไม่ยอมจำนนท์ต่อรัฐสยามในอดีต และต่อสู้เรื่อยมา ซึ่งมิติเช่นนี้ มันได้แปรสภาพการต่อสู้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงประชาชน คนธรรมดาในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงมาตั้งแต่กระบวนการกลืนชาติ กลืนอัตลักษณ์ท้องถิ่น ดูถูกเหยียดหยาม และการก่ออาชญากรรมอันโหดเหี้ยมของรัฐสยาม และรัฐไทยในเวลาต่อมาในหลายเหตุการณ์ จนกระทั่งเหตุการณ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ก็คนรุ่นผมน่าจะจดจำได้ดี คือเหตุการณ์ตากใบ ที่รัฐไทยก่ออาชญากรรมต่อคนในพื้นที่อย่างโหดเหี้ยม
ถ้าคุณเป็นคนในพื้นที่ที่เติบโตมากับประวัติศาสตร์และสภาพปัจจุบันแบบนี้ และไม่ยอมจำนนท์ต่อรัฐไทย คุณก็มีทางเลือกอยู่แค่สองทาง คือใช้การเมืองนำการต่อสู้ หรือใช้การทหารนำการต่อสู้ ซึ่งในพื้นที่มีการใช้ทั้งสองรูปแบบ จากหลายกลุ่ม แต่ด้วยบรรยากาศที่รัฐไทย ใช้การแก้ปัญหาด้วยแนวทางชาตินิยม โดยใช้การทหารนำการเมือง ก็ได้ทำให้พื้นที่ทางการเมืองของกลุ่มคนในพื้นที่ที่ต้องการใช้การเมืองนำ การต่อสู้กับรัฐไทยหายไป ดังกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่ตากใบ ดังกรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ดังกรณีการตรวจค้นจับกุม ซ้อมทรมาน แกนนำนักศึกษา และอีกหลายกรณีที่ไม่เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะชนเท่าใดนัก ด้วยแนวทางของรัฐไทยที่ใช้การทหารนำการเมืองเช่นว่านี้ ก็เท่ากับบีบการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวในพื้นที่ให้เหลือเพียงแนวทางการทหาร หรือการก่อสงครามกลางเมืองเพียงเท่านั้น
ถ้าเราจะแก้ปัญหาในภาคใต้ เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ขบวนการประชาชนในรัฐไทย ต้องหาทางกดดันรัฐไทยให้ยกเลิกการใช้การเมืองนำการทหารให้ได้ ต้องลดบทบาททหารให้ได้ ซึ่งสามารถกระทำไปพร้อมๆ กับการเรียกร้องประชาธิปไตยของรัฐไทยได้ เพราะทหารมีประวัติศาสตร์ในการก่ออาชญากรรมกับพลเมืองในรัฐไทยเช่นเดียวกัน ทั้งในอดีต 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 และเมษา พฤษภา 53
โดยรูปธรรมคือการเสนอให้ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงทุกฉบับ และถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยให้กับคนในพื้นที่สามารถออกแบบรูปแบบการปกครอง ของตนเองได้ เพราะการมีกฎหมายความมั่นคงและทหารอยู่ในพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ความ รุนแรงสงบลงได้ และบ่อยครั้งทหารมักจะเป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงด้วย และการออกแบบรูปแบบการปกครองเช่นว่านี้ ก็จะต้องสามารถกระทำได้ในทุกพื้นที่ของรัฐไทย เพราะประชาชนในพื้นที่ย่อมมีเสรีภาพในการกำหนดอนาคตตนเอง ซึ่งการจะเสนอและเข้าใจข้อเสนอเช่นว่านี้ได้ เราต้องสลัดแนวความคิดชาตินิยม แนวคิดแผ่นดินไทยแบ่งแยกไม่ได้ ออกจากหัวของเราเสียก่อน เพราะแนวคิดนี้ ไม่ใช่สิ่งธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับมนุษย์ แต่เป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่พึ่งถูกสร้างขึ้นมาไม่นาน พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของระบบทุนนิยมนี่เอง
เสนอให้ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงทุกฉบับ และถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยให้กับคนในพื้นที่สามารถออกแบบรูปแบบการปกครอง ของตนเองได้ เพราะการมีกฎหมายความมั่นคงและทหารอยู่ในพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ความ รุนแรงสงบลงได้ และบ่อยครั้งทหารมักจะเป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงด้วย
โดย วัฒนะ วรรณ
การก่นด่าเหตุการณ์ที่ผู้บริสุทธิ์ ตามภาพข่าวที่นำเสนอออกมาสู่สาธารณะ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในชายแดนใต้ ด้วยความเครียดแค้นเช่นที่เห็นตามสื่อโดยทั่วไปของพลเมืองในรัฐไทย ย่อมเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ภายใต้ชุดความคิดด้านมนุษยชาตินิยม เพราะเป็นการก่นด่าเครียดแค้นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของกลุ่มกบฏ แต่ละเลยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการฆ่า จับกุม ทรมาน ในหลายกรณี ภายใต้กฎหมายความมั่นคง
แต่การตายไม่ว่าจะเกิดกับใคร ก็ไม่สมควรเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเราอาจจะก่นด่า ประณามการกระทำที่โหดร้ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ และฝ่ายกบฏ แต่การพูดแบบนี้ ก็ไม่ได้นำไปสู่ทางออกใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าเราจะหาทางออก เราต้องมองหาสาเหตุ ว่าอะไรทำให้เกิดสงครามกลางเมืองชายแดนใต้ ซึ่งมีทั้งมิติทางประวัติศาสตร์ และมิติในปัจจุบันผสมอยู่มิใช่น้อย ในด้านมิติประวัติศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยมิติชาตินิยมมาลายู(ผมไม่แน่ใจว่าควร ใช้ชื่อเรียกชนชาติที่ถูกต้องในเขตพื้นที่นี้ว่าอย่างไร ท่านใดพอทราบช่วยอธิบายด้วย) ที่ชนชั้นปกครองของชนชาติมาลายูไม่ยอมจำนนท์ต่อรัฐสยามในอดีต และต่อสู้เรื่อยมา ซึ่งมิติเช่นนี้ มันได้แปรสภาพการต่อสู้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงประชาชน คนธรรมดาในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงมาตั้งแต่กระบวนการกลืนชาติ กลืนอัตลักษณ์ท้องถิ่น ดูถูกเหยียดหยาม และการก่ออาชญากรรมอันโหดเหี้ยมของรัฐสยาม และรัฐไทยในเวลาต่อมาในหลายเหตุการณ์ จนกระทั่งเหตุการณ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ก็คนรุ่นผมน่าจะจดจำได้ดี คือเหตุการณ์ตากใบ ที่รัฐไทยก่ออาชญากรรมต่อคนในพื้นที่อย่างโหดเหี้ยม
ถ้าคุณเป็นคนในพื้นที่ที่เติบโตมากับประวัติศาสตร์และสภาพปัจจุบันแบบนี้ และไม่ยอมจำนนท์ต่อรัฐไทย คุณก็มีทางเลือกอยู่แค่สองทาง คือใช้การเมืองนำการต่อสู้ หรือใช้การทหารนำการต่อสู้ ซึ่งในพื้นที่มีการใช้ทั้งสองรูปแบบ จากหลายกลุ่ม แต่ด้วยบรรยากาศที่รัฐไทย ใช้การแก้ปัญหาด้วยแนวทางชาตินิยม โดยใช้การทหารนำการเมือง ก็ได้ทำให้พื้นที่ทางการเมืองของกลุ่มคนในพื้นที่ที่ต้องการใช้การเมืองนำ การต่อสู้กับรัฐไทยหายไป ดังกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่ตากใบ ดังกรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ดังกรณีการตรวจค้นจับกุม ซ้อมทรมาน แกนนำนักศึกษา และอีกหลายกรณีที่ไม่เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะชนเท่าใดนัก ด้วยแนวทางของรัฐไทยที่ใช้การทหารนำการเมืองเช่นว่านี้ ก็เท่ากับบีบการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวในพื้นที่ให้เหลือเพียงแนวทางการทหาร หรือการก่อสงครามกลางเมืองเพียงเท่านั้น
ถ้าเราจะแก้ปัญหาในภาคใต้ เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ขบวนการประชาชนในรัฐไทย ต้องหาทางกดดันรัฐไทยให้ยกเลิกการใช้การเมืองนำการทหารให้ได้ ต้องลดบทบาททหารให้ได้ ซึ่งสามารถกระทำไปพร้อมๆ กับการเรียกร้องประชาธิปไตยของรัฐไทยได้ เพราะทหารมีประวัติศาสตร์ในการก่ออาชญากรรมกับพลเมืองในรัฐไทยเช่นเดียวกัน ทั้งในอดีต 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 และเมษา พฤษภา 53
โดยรูปธรรมคือการเสนอให้ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงทุกฉบับ และถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยให้กับคนในพื้นที่สามารถออกแบบรูปแบบการปกครอง ของตนเองได้ เพราะการมีกฎหมายความมั่นคงและทหารอยู่ในพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ความ รุนแรงสงบลงได้ และบ่อยครั้งทหารมักจะเป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงด้วย และการออกแบบรูปแบบการปกครองเช่นว่านี้ ก็จะต้องสามารถกระทำได้ในทุกพื้นที่ของรัฐไทย เพราะประชาชนในพื้นที่ย่อมมีเสรีภาพในการกำหนดอนาคตตนเอง ซึ่งการจะเสนอและเข้าใจข้อเสนอเช่นว่านี้ได้ เราต้องสลัดแนวความคิดชาตินิยม แนวคิดแผ่นดินไทยแบ่งแยกไม่ได้ ออกจากหัวของเราเสียก่อน เพราะแนวคิดนี้ ไม่ใช่สิ่งธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับมนุษย์ แต่เป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่พึ่งถูกสร้างขึ้นมาไม่นาน พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของระบบทุนนิยมนี่เอง
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/02/blog-post_17.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น