หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม


 
เราชาวมาร์คซิสต์ขอฟันธงว่าถ้ายังมีอาจารย์คนไหน ในไทยที่สอนเรื่อง “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” โดยคิดว่าทฤษฏีนี้ยังใช้ได้ อาจารย์คนนั้นต้อง โง่ ปิดหูปิดตาตนเองถึงโลกจริง หรือขี้เกียจศึกษาโลกจริงเพื่อท่องสูตรเดิมเป็นวันๆ

โดย ลั่นทมขาว

“ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” คือกลุ่มคนที่มารวมตัวกันทางการเมืองเพื่อรณรงค์ในประเด็นเฉพาะหน้า ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นเดียวหรือกลุ่มประเด็นที่ใกล้เคียงกัน ตัวอย่างที่ดีคือขบวนการเสื้อแดง สมัชชาคนจน ขบวนการ 99% ในสหรัฐอเมริกา ขบวนการเพื่อสิทธิทางเพศ ขบวนการสมานฉันท์กับปาเลสไตน์ หรือ ขบวนการต้านสงครามในตะวันตก
   
โดยสรุปแล้วขบวนการเสื้อแดงรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในไทย สมัชชาคนจนรณรงค์เรื่องปัญหาชีวิตเกษตรกรยากจนโดยเฉพาะที่ดินที่ถูกน้ำท่วม จากเขื่อน ขบวนการ 99% เป็นขบวนการประท้วงต่อต้านกลุ่มทุนใหญ่และเศรษฐีในสหรัฐที่มีส่วนในการสร้าง วิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่กลับผลักดันให้คนธรรมดาส่วนใหญ่ 99% ต้องรับภาระด้วยการตกงานหรือโดนลดค่าจ้าง

ขบวนการเรียกร้องสิทธิทางเพศมีหลายขบวนการ เช่นกลุ่มสิทธิสตรี และกลุ่มเรียกร้องสิทธิให้คนที่รักเพศเดียวกันเป็นต้น (GLBT) ขบวนการสมานฉันท์กับปาเลสไตน์เป็นขบวนการทั่วโลกที่พยายามสนับสนุนการต่อสู้ ปลดปล่อยตนเองของชาวปาเลสไตน์ที่กำลังถูกพวกไซออนนิสต์ในอิสราเอลกดขี่เข่น ฆ่าอยู่ทุกวัน และขบวนการต้านสงครามในตะวันตกเป็นขบวนการที่ออกมาเมื่อมหาอำนาจจักรวรรดิ นิยมทำสงคราม โดยเฉพาะในตะวันออกกลางเป็นต้น
   
แม้แต่กลุ่มพิทักษ์สยาม ก็เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมชนิดหนึ่ง ซึ่งพิสูจน์ว่าเป้าหมายในการเคลื่อนไหวอาจไม่ก้าวหน้าเลยก็ได้
   
เมื่อประมาณสิบห้าปีก่อนจะมีนักวิชาการฝ่ายขวาในตะวันตก ที่ได้กำลังใจจากการจบลงของสงครามเย็นท่ามกลางความพ่ายแพ้ล่มสลายของรัฐ เผด็จการสตาลิน พวกนี้จะเสนอว่าหลังสงครามเย็น มีสิ่งที่เรียกว่า “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” (New Social Movements)และนักวิชาการไทยหลายคนที่เอนเอียงไปตามทิศทางลม เช่น ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร และนักวิชาการสายเอ็นจีโอไทย ก็พากันเห่อแนวคิดนี้
ความเชื่อหลักของแนว “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” คือการประกาศว่าชนชั้นเป็นเรื่องหมดยุค ดังนั้นเขาจะเสนอว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคปัจจุบันไม่เกี่ยวกับชน ชั้น ไม่มีข้อเรียกร้องที่สังกัดประโยชน์ชนชั้นใด เน้นเรื่องวัฒนธรรมแทนการเมือง เน้นสันติวิธี และไม่มีข้อเรียกร้องให้ล้มรัฐหรือเปลี่ยนระบอบ อีกทั้งไม่สังกัดพรรคการเมืองอีกด้วย ตัวอย่างที่เขามักจะยกมาเสนอคือขบวนการปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือขบวนการปกป้อง วิถีชีวิตคนพื้นเมือง
   
เราชาวมาร์คซิสต์ขอฟันธงว่าถ้ายังมีอาจารย์คนไหนในไทยที่สอนเรื่อง “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่” โดยคิดว่าทฤษฏีนี้ยังใช้ได้ อาจารย์คนนั้นต้อง โง่ ปิดหูปิดตาตนเองถึงโลกจริง หรือขี้เกียจศึกษาโลกจริงเพื่อท่องสูตรเดิมเป็นวันๆ
   
ในประการแรกขบวนการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันออกมาในรูปแบบขบวนการต้านโลกร้อน ในที่สุดจะปะทะกับผลประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ที่ไม่ต้องการลงทุนเพื่อลดการผลิต ก๊าซคาร์บอนไดออคไซด์ เพราะมันไปลดกำไรกลุ่มทุน อันนี้เห็นชัดจากความคิดพวกนายทุนและนักการเมืองนายทุนในสหรัฐที่ปฏิเสธ ปัญหาโลกร้อน ดังนั้นมันเป็นเรื่องผลประโยชน์ชนชั้นอย่างชัดเจน
ปัญหาคนพื้นเมืองก็เป็นปัญหาจากการรวมศูนย์อำนาจในรัฐทุนนิยม ซึ่งชนชั้นนายทุนคุม แล้วขบวนการเสื้อแดง สมัชชาคนจน 99% ก็มักสังกัดชนชั้นระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพ หรือเกษตรกรคนจน การต้านหรือสนับสนุนสงครามจักรวรรดินิยม หรือการต้านหรือสนับสนุนอิสราเอล ก็ล้วนแต่เป็นจุดยืนทางชนชั้นที่ขัดแย้งกัน และพรรคการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการเหล่านี้ ยิ่งกว่านั้น “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” ที่ใหญ่ที่สุดและยั่งยืนที่สุดตามประเทศต่างๆ ในโลก คือสหภาพแรงงาน ซึ่งแน่นอนสังกัดชนชั้นกรรมาชีพ
   
นักมาร์คซิสต์สนใจขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมาก ไม่ใช่ว่าเรามองว่าไม่ต้องมี หรือหลงคิดว่ามีแค่พรรคปฏิวัติสังคมนิยมก็พอ เพราะพรรคปฏิวัติสังคมนิยมของเราเป็นจุดรวมศูนย์คนที่ก้าวหน้าที่สุดที่มี ความคิดทางการเมืองสังคมนิยม แต่พรรคต้องเชื่อมโยงตลอดเวลากับมวลชนในสหภาพแรงงาน ขบวนการต้านกลุ่มทุน ขบวนการสิทธิทางเพศ หรือขบวนการเพื่อประชาธิปไตย เนื่องจากการเปลี่ยนระบบอาศัยทั้งพรรคและมวลชนนอกพรรค ดังนั้นเมื่อมีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเกิดขึ้น เราต้องมีส่วนในการสร้างมัน และกระโดดเข้าไปทำงานร่วม ถ้าเป้าหมายและข้อเรียกร้องเป็นเป้าหมายก้าวหน้าที่ผลักดันผลประโยชน์ กรรมาชีพและคนจน
   
แต่พวกอนาธิปไตยมักมองว่ามีแค่ขบวนการเคลื่อนไหว ทางสังคมก็พอ ไม่ควรมีพรรค ปัญหาโลกจริงคือ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมีมวลชนก็จริง และพลังของมันอยู่ตรงนั้น แต่ภายในขบวนการมีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่การช่วงชิงการนำทางความคิดในที่สุด 

ตัวอย่างที่ดีคือเสื้อแดง ซึ่ง นปช.และพรรคเพื่อไทยเสนอให้เสื้อแดงเป็นแค่กองเชียร์ให้รัฐบาลเพื่อไทย ในขณะที่รัฐบาลหักหลังวีรชน การที่เสื้อแดงก้าวหน้ามีความยากลำบากในการช่วงชิงการนำทางความคิดจากแกนนำ นปช. ก็เพราะไม่มีพรรคของตนเองที่จะเป็นศูนย์รวมนักสังคมนิยมเพื่อเผฃิญหน้ากับ พรรคเพื่อไทย อีกปัญหาหนึ่งคือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมักจะขึ้นๆ ลงๆ และไม่ค่อยมีเสถียรภาพยาวนาน ยกเว้นกรณีสหภาพแรงงาน ดังนั้นเมื่อประเด็นเฉพาะหน้าหมดความสำคัญลงขบวนการเคลื่อนไหวก็จะหายไป ไม่เหมือนพรรคการเมืองสังคมนิยมที่พยายามเสนอชุดความคิดภาพใหญ่เกี่ยวกับการ เมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างสม่ำเสมอ



(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/03/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น