หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

สงครามไม่จบ จบศึกผู้ว่าฯกทม.

สงครามไม่จบ จบศึกผู้ว่าฯกทม.

 




ศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. วันที่ 3 มี.ค.ผ่านไปโดยมีสถิติใหม่ให้ต้องจารึกหลายด้าน

ไม่ ว่าคะแนนเสียงคนกรุงที่เทให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จำนวน 1,256,349 เสียง ทุบสถิติ 1,016,096 เสียงที่นายสมัคร สุนทรเวช เคยทำไว้เมื่อปี 2543

ขณะที่อันดับ 2 พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ถึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่ก็ไม่ธรรมดา ได้คะแนนทะลุหลักล้านเช่นกัน

เป็น การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่มี คนกรุงออกมาใช้สิทธิมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ 2,715,640 คน คิดเป็นร้อยละ 63.98 จากผู้มีสิทธิทั้งหมด 4,244,465 คน

เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชน มากที่สุดยิ่งกว่าครั้งใดๆ เนื่องจากผลได้ผลเสียถูกนำไปผูกโยงกับการเมืองในภาพใหญ่ระดับชาติ

กว่า 1.2 ล้านเสียงที่ได้มาสร้างความฮึกเหิมให้บรรดาแกนนำและสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไม่น้อย แม้จะยังปิดเกมได้ไม่สนิท

เนื่องจากมีคำร้องคัดค้านคาอยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) และกกต.กลาง 2-3 เรื่องด้วยกัน

ใน ประเด็นการปราศรัยใส่ร้ายป้ายสีคู่แข่ง ถึงจะไม่ร้ายแรงเท่าคำร้องเรื่องทุจริตซื้อเสียง แต่เมื่อมีผู้ร้องคัดค้าน กกต.ก็ต้องสอบสวนตามระเบียบ

ทำให้ยังไม่สามารถประกาศรับรองผลการ เลือกตั้งเป็นทางการได้ ต้องรอไปอีกอย่างน้อย 15 วัน หรืออย่างมากไม่เกิน 30 วันนับจากวันเลือกตั้ง 3 มี.ค.

ยังไม่นับรวมกรณีมีการยอมรับว่า การปราศรัยบนเวทีบางกะปิที่ นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปราศรัยพาดพิงฝ่ายตรงข้ามเรื่องขโมยวิทยุ

อาจเข้าข่ายโดนแจกใบเหลืองได้

ดีใจจนเผลอทำปืนลั่นใส่พวกเดียวกันเอง

มีการแสดงความคิดเห็นไว้หลายแง่หลายมุมต่อชัยชนะของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และพรรคประชาธิปัตย์

ที่ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันคือ เป็นชัยชนะจากส่วนผสม 2 ประการระหว่างคะแนนจัดตั้งอันแข็งแกร่งกับวาทกรรมสร้างความหวาดกลัวให้คน กรุงเทพฯ

นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า การนำอุดมการณ์เรื่อง ?ยึดเมือง? มาใช้เพราะต้องการทำให้คนกรุงเทพฯ รู้สึกร่วมกันว่ากำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอก

หว่านล้อมคนกรุงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อต่อสู้กับศัตรูที่จะมายึดเมือง แต่ในทางกลับกันเป็นการตอกย้ำความแตกแยกในสังคม

ทั้ง ที่การต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชา ธิปไตยควรเป็นเรื่องของการขายความคิด ขายนโยบาย ไม่ใช่ขายความกลัว ชี้นำประชาชนมองคนคิดต่างเป็นข้าศึกศัตรู

สะท้อนปัญหาของพรรคที่ใช้วาทกรรมดังกล่าว ว่าไม่มีผู้สมัครหรือนโยบายที่จะใช้สู้ฝ่ายตรงข้ามได้ จึงต้องสร้างความหวาดกลัวเหล่านี้ขึ้น

ผลตอบแทนระยะสั้นถึงจะนำมาสู่ชัยชนะ แต่ผลระยะยาวคือคนกรุงเทพฯ จะไม่เห็นนโยบายการทำงานที่แตกต่างไปจากเมื่อ 4 ปีก่อน

หรือหากมองในมุมการเมืองระดับชาติ การใช้วิธีดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสิ้นหวังในเรื่องความปรองดอง

ในส่วนพรรคเพื่อไทยแกนนำรัฐบาล ผลพวงจากการเลือกตั้งครั้งนี้ถึงจะได้กว่า 1 ล้านคะแนน

แต่ ความพ่ายแพ้อาจทำให้แผนผลักดันงาน การเมืองด้านต่างๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยกระแสประชาชนเป็นเครื่องสนับสนุน อาทิ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การผ่านร่างกฎหมายปรองดอง ตลอดจนกระบวนการออกกฎหมายนิรโทษกรรม

ต้องสะดุดลงชั่วคราว หรือไม่ก็ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกว่าเดิม

ขณะที่ฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์แน่นอนว่า ชัยชนะครั้งล่าสุดที่มีการนำมาขยายเป็นวาทกรรมหลังเลือกตั้งว่าประเทศชาติรอดแล้ว

แต่ความจริงน่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ที่รอด

ชัยชนะของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เหมือนร่มชูชีพที่มาช่วยบรรเทาสภาวะ ?ขาลง? ของพรรคทันเวลา

แกนนำพรรคปราศรัยในช่วงโค้งสุดท้ายว่าหากแพ้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ต่อไปภาคใต้ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายก็คงเอาไม่อยู่

หัว หน้าพรรคอาจต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ เช่นเดียวกับเลขาธิการพรรคที่ไม่ค่อยมีส่วนร่วมกับมหกรรมชี้เป็นชี้ตายครั้ง นี้เท่าไหร่ก็จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้

แต่เมื่อผลเลือกตั้งออกมาแบบชนะม้วนเดียวจบ ถึงจะทิ้งห่างคู่แข่งไม่มาก แต่ก็เอาไปคุยต่อได้อีกนานหลายวัน

ความฮึกเหิมของประชาธิปัตย์สะท้อนผ่านการเมืองในหลายเรื่อง

ไม่ ว่าจะเป็นการมีมติปฏิเสธคำเชิญนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภา หัวหอกชักชวนพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองคู่ขัดแย้ง ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อเขียว พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ เข้าหารือประเด็นการนิรโทษกรรม

ทั้งยังตอบปฏิเสธคำเชิญรัฐบาล ตามที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ส่งเทียบเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนายถาวร เสนเนียม เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางดับไฟใต้

พรรคประชา ธิปัตย์นั้นถึงจะป้องกันพื้นที่กรุงเทพฯ ไว้ได้ แต่ก็กำลังถูกรัฐบาลเร่งเจาะพื้นที่ภาคใต้อย่างหนักเช่นกัน ผ่านมาตรการแนวทางดับไฟใต้อย่างยั่งยืน

เริ่มจากการประกาศนโยบายการ เมืองนำการทหาร เตรียมยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หันมาใช้มาตรา 21 แห่งพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เปิดโอกาสผู้หลงผิดวางอาวุธ เข้ารับการอบรมโดยไม่ถูกดำเนินคดี

ผ่านกรณีตัวแทนรัฐบาลเดินทางไป ร่วมลงนามเข้าสู่กระบวนการเจรจากับแกนนำบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต ก้าวแรกที่จะนำไปสู่การยุติปัญหาความรุนแรงในภาคใต้

เป็นจุดเริ่ม ต้นกระบวนการแสวงหาความสันติสุข ที่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากคนพื้นที่ ผู้นำศาสนาและนักวิชาการที่เกาะติดปัญหามาตลอด กองทัพก็เห็นด้วยกับแนวทางนี้เช่นกัน

เท่ากับเป็นการยืนยันว่ารัฐบาลกำลังเดินมาถูกทาง

ถ้าทำสำเร็จก็มีโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะมีพื้นที่ยืนทางการเมืองในภาคใต้ จึงไม่แปลกที่พรรคเจ้าถิ่นต้องหาทางสกัดกั้นทุกรูปแบบ

ทั้งหมดคือสัญญาณยืนยันว่าถึงศึกเลือก ตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะจบลง แต่สงครามการเมืองระหว่าง 2 พรรคใหญ่

ยังดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้นในทุกแนวรบ 
 
(ที่มา)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น