หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

รัฐสวัสดิการกับเรื่องสตรี

รัฐสวัสดิการกับเรื่องสตรี 

 

http://3.bp.blogspot.com/-gt2G5UuaGm4/UUmpYQKTzgI/AAAAAAAAB6Y/6dLiX26Z2KQ/s1600/housewife2.jpg 
นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังได้เงินช่วยเหลือยาม ตั้งครรภ์เป็นเงิน 80 % ของรายได้ต่อปี ตัวเลขคูณด้วย 0.989 แล้วหารด้วย  365 วัน ต่อปีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะเป็นตัวเงินที่ได้รับ เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว หากต้องการมีเวลาลี้ยงลูกก็สามารถลางานหรือหยุดงานได้ ซึ่งการลางานในก็จะได้เงินค่าช่วยเหลือผู้ครอง เป็นเงินทดแทนจากการขาดรายได้ การลางานเพื่อเลี้ยงลูกนั้นแม่เด็กสามารถลางานได้ถึง 1 ปี 3 เดือน

โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม 


หากจะพูดถึงเรื่องการกดขี่สตรี แน่นอนรูปแบบการกดขี่นั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะในรูปแบบของภาระหน้าที่ที่ต้องเผชิญ ความคิดทัศนคติทางวัฒนธรรมที่กดขี่ ความไม่เท่าเทียมกันของสิทธิระหว่างเพศหญิงชาย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายกลุ่มหรือหลายองค์กรพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ดูเหมือนแนวทางในการสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อลดการกดขี่สตรีจะไม่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเลย

ถามว่าการมีรัฐสวัสดิการจะช่วยลดการกดขี่สตรีอย่างไร คำตอบคือการมีรัฐเข้ามาแบ่งเบาภาระของสตรี โดยการเข้ามาดูแลตั้งแต่เรื่องการตั้งครรภ์ การคลอด การเลี้ยงดูแก่เด็กที่เกิดมา และเอื้อให้สตรีมีโอกาสในการทำงานนอกบ้านมากขึ้น และรูปธรรมที่ชัดเจนที่ในการบอกว่า รัฐสวัสดิการนั้นช่วยลดการกดขี่สตรีได้จริงนั้น ดูตัวอย่างที่เป็นจริงจากประเทศสวีเดน ที่จริงแล้วสวีเดนเป็นประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่อยู่ในสวีเดน จะได้รับสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ประเด็นที่อยากชี้ให้เห็นในแง่ของการช่วยลดการกดขี่สตรีคือ การนำเอางานบ้านและการเลี้ยงดูลูกซึ่งเป็นภาระของสตรี มาให้เป็นภาระที่รัฐที่ต้องดูแลแทน ยกตัวอย่างดังนี้



ว่าด้วยเรื่องสวัสดิการแม่และเด็กระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด รัฐมีการออกกฎหมายให้นายจ้าง อนุญาตให้หยุดงานได้หรือเปลี่ยนงาน ในสภาวะที่ตัวงานไม่เอื้ออำนวยต่อสภาพร่างกายและจิตใจ โดยการให้บอกนายจ้างล่วงหน้า 1 เดือน และนายจ้างต้องหางานที่เหมาะสมให้ หากไม่สามารถหาให้ได้ นายจ้างต้องจ่ายค่าช่วยเหลือเป็นเงิน 50 วัน

นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังได้เงินช่วยเหลือยามตั้งครรภ์เป็นเงิน 80 % ของรายได้ต่อปี ตัวเลขคูณด้วย 0.989 แล้วหารด้วย  365 วัน ต่อปีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะเป็นตัวเงินที่ได้รับ เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว หากต้องการมีเวลาลี้ยงลูกก็สามารถลางานหรือหยุดงานได้ ซึ่งการลางานในก็จะได้เงินค่าช่วยเหลือผู้ครอง เป็นเงินทดแทนจากการขาดรายได้ การลางานเพื่อเลี้ยงลูกนั้นแม่เด็กสามารถลางานได้ถึง 1 ปี 3 เดือน นอกจากจะมีเงินช่วยเหลือแม่เด็กแล้ว ยังมีเงินช่วยเหลือเด็กอีก เด็กที่ไม่มีพ่อแม่หรือพ่อแม่เด็กเกษียณ ก็จะได้เงินช่วยเหลือจนกว่าเด็กจะอายุครบ 16 ปี หรือ 19 ปีในกรณีที่เด็กต้องเรียนต่อ เด็กสามารถได้รับค่าเลี้ยงดูจากรัฐได้ เท่ากันหมดโดยที่ไม่สำคัญว่าเด็กคนนั้นจะต้องจนที่สุดแต่อย่างใด

เมื่อเด็กคนหนึ่งเข้าสู่วันเรียน รัฐสวัสดิการสวีเดนจัดให้มีการเรียนฟรี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย ที่น่าสนใจคือมีสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนให้กับผู้พ่อแม่ที่ต้องออกไปงานฟรี ซึ่งจุดนี้ทำให้ผู้หญิงสามารถทำงานนอกบ้านได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องลูก ความสำคัญของการออกไปทำงานนอกบ้านของผู้หญิงคือ ทำให้ผู้หญิงสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยทำให้มีอำนาจทางเศรษฐกิจภายครอบครัวเท่าเทียมกับผู้ชาย ดังนั้นผู้หญิงจึงมีอำนาจการต่อรองอย่างเท่าเทียม โดยไม่ตกเป็นเบี้ยล่างหรือผู้รับภาระเพียงผู้เดียว

สถานที่เลี้ยงเด็กโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่รัฐตั้งขึ้นนั้น ก็มีคุณภาพเท่าเทียมกันหมด แม้แต่โรงเรียนเอกชนก็ยังฟรี เพราะรับให้การอุดหนุนงบประมาณ ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน อีกด้วย เมื่อมีงานโรงเรียนพ่อแม่เด็กยังสามารถลางาน เพื่อไปทำกิจกรรมสมาคมผู้ปกครองได้อีกด้วย

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การทำแท้งเป็นเรื่องของสิทธิสตรี ผู้หญิงสามารถเลือกที่จะเก็บเด็กไว้ หรือเอาเด็กออกได้ตามสิทธิทางร่างกายของตนเอง แม้เด็กอายุต่ำกว่า 15  ปี ต้องการทำแท้งแล้วไม่อยากให้พ่อแม่รู้ เรื่องการทำแท้งก็จะถูกเจ้าหน้าที่เก็บเป็นความลับ ในประเทศสวีเดนเป็นเรื่องถูกกฎหมาย และสถานบริการการทำแท้ง เป็นสถานบริการที่ปลอดภัยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำให้คำปรึกษา เท่านั้นยังไม่พอยังมีการแนะนำการคุมกำเนิด แจกจ่ายยาคุมกำเนิดฟรี และยังรวมไปถึงการทำหมันให้ฟรีอีกด้วย

ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างประเด็นเดียว เกี่ยวกับเรื่องสตรีและเด็ก ของการมีสวัสดิการแบบครบวงจรในประเทศสวีเดน ในจุดนี้อยากชี้ให้เห็นว่าการสร้างรัฐสวัสดิการนั้น เป็นการช่วยแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ ในระบบทุนนิยมที่ก้าวหน้าที่สุด ซึ่งสวัสดิการดังกล่าวช่วยทำให้ผู้หญิงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นการกดขี่ลดลง ดังนั้นหากต้องการเรียกร้องสิทธิสตรีแล้ว เราควรที่จะเรียกร้องให้เป็นรัฐสวัสดิการ ดีกว่าการเรียกร้องให้เรื่องของสิทธิความเท่าเทียมกับระหว่างหญิงกับชาย หรือมัวแต่นั่งพูดซ้ำซากถึงต้นต่อปัญหา ว่าเกิดจากชายเป็นใหญ่ เพราะผู้ถูกกดขี่ไม่ใช่มีเพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายเองก็ถูกกดขี่ด้วย

ดังนั้นการรณรงค์เรื่องสิทธิสตรี เราจึงไม่ควรแบ่งเพศ ผู้ชายเองก็เข้าร่วมกับผู้หญิงได้ เพราะต้นต่อของการกดขี่ไม่ได้เกิดเพราะเหตุชายเป็นใหญ่ แต่เกิดเพราะนายทุนเป็นใหญ่ต่างหาก ดังนั้นถ้าคิดจะสู้เรื่องสิทธิเสรีภาพ เราต้องรู้ว่าศัตรูคือใคร และต้องหลุดจากวาทะลวงๆเรื่องชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นวาทะของชนชั้นปกครองที่ใช้เป็นเครื่องมือ ในการสลายการสามัคคีเพศสักที

เอกสารอ้างอิง: บุญส่ง ชเลธร (2553), รัฐสวัสดิการสวีเดน, 
 
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/03/blog-post_4678.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น