ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในพม่าถูกปลุกโดยทหาร
สื่อ
กระแสหลักชอบเผยแพร่นิยายว่าความรุนแรงที่กำลังเกิดในพม่า มาจากความขัดแย้ง
“ธรรมชาติ” ระหว่างคนที่มีเชื้อชาติและศาสนาต่างกัน
แต่ในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นพม่า ชนชาติต่างๆ อาศัยด้วยกันอย่างสงบมานาน
ยุทธวิธี “แบ่งแยกและปกครอง” เป็นสิ่งที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษพัฒนามานาน
เพื่อไม่ให้เกิดความสามัคคีกันระหว่างคนพื้นเมืองซึ่งจะมาท้าทายการปกครอง
ของเจ้าอาณานิคม และจักรวรรดินิยมตะวันตกมีนักวิชาการเชื่องชื่อ J.S. Furnivall
ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการอังกฤษ ที่เสนอทฤษฏีเรื่อง “พหุสังคม”
เพื่อแก้ตัวว่าคนเชื้อชาติต่างๆ มักแยกกันอยู่และแบ่งงานกันทำตามธรรมชาติ
และแน่นอน “ธรรมชาติ” ระบุว่าคนตะวันตกต้องเป็นผู้ปกครอง
มันตรงข้ามกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง
เพราะอำนาจตะวันตกเป็นผู้กำหนดว่าเชื้อชาติไหนจะมีสิทธิ์ทำงานประเภทไหน
พูดภาษาอะไร และอาศัยอยู่ในส่วนไหนของเมือง
ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ องค์กรชาตินิยมพม่าชื่อ Dobama Asiayone
ซึ่งมี อองซาน เป็นสมาชิกสำคัญ มีนโยบายชาตินิยมพุทธสุดขั้ว
องค์กรนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการก่อจลาจลทำร้ายคนเชื้อสายอินเดียที่เป็นกรรมกร
ท่าเรือในปี 1930
ในปีนั้นกรรมกรท่าเรือเชื้อสายอินเดียนัดหยุดงาน
แต่อังกฤษนำแรงงานพม่ามาแทนที่ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหนัก
พวกชาตินิยมพม่ามองว่าแรงงานเชื้อสายอินเดียเป็น “คนต่างชาติ”
ที่มาแย่งงานคนพม่า
นอกจากนี้พวกชาตินิยมใช้นายธนาคารอินเดียเป็นแพะรับบาปเพื่อโทษว่าเขาเป็น
ต้นเหตุแห่งความยากจนในหมู่ชาวนาพม่า
แต่ในความเป็นจริงชนบทพม่ามีความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในเชื้อชาติพม่าสูง
และคนที่ปล่อยกู้ให้คนจนในชนบทเป็นคนพม่าในหมู่บ้านเดียวกัน ต่อมาในปี 1938 มีการทำร้ายชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลาม
นักวิชาการชื่อ Martin Smith ในหนังสือ “Burma, insurgency and the politics of ethnicity”, รายงาน
ว่า อองซาน มีอคติกับการเรียกร้องเสรีภาพโดยชนชาติต่างๆ
นอกจากชนชาติพม่าและไทยใหญ่ ซึ่งอองซานมองว่าเป็น “ชนชาติจริง”
และกองทัพปลดแอกพม่า ภายใต้การนำของ อองซาน
ถูกกล่าวหาว่าเข่นฆ่าพลเรือนชาวกะเหรียงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เพราะชาวกะเหรี่ยงมักจะรบในกองทัพของอังกฤษ
ในปี 1991 สามปีหลังความล้มเหลวของการลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยที่พยายามล้มเผด็จการทหาร “8-8-88” ตำรวจพม่าออกมาปราบปรามชาวโรฮิงญาในรัฐอาราคานด้วยความรุนแรง ต่อมาในปี 1997 พระสงฆ์คลั่งชาติ ถูกทหารจัดตั้งให้ไปเผาบ้านและมัสยิดของชาวมุสลิมในเมือง พะโค
ถ้าเราจะเข้าใจความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นต่อชาวมุสลิมในขณะนี้
ซึ่งส่วนหนึ่งกระทำโดยอันธพาลพระสงฆ์พุทธ เราต้องดูประวัติศาสตร์ของการ
“แบ่งแยกและปกครอง” ในพม่า ทั้งโดยอังกฤษและรัฐบาลเผด็จการทหารที่ตามมา
รวมถึงลัทธิคลั่งชาติสายพุทธขององค์กร Dobama Asiayone อีกด้วย ตอนนี้มีรายงานข่างว่า พระสงฆ์ชาตินิยมสุดขั้วชื่อ วีราธุ เป็นหัวหน้าขบวนการขวาจัด “969” และพวกนี้ใกล้ชิดกับทหาร โดยเฉพาะนายพล Khin Nyunt จากองค์กรราชการลับของกองทัพพม่า
การที่ทหารพม่าสนับสนุนและปลุกระดมพระสงฆ์ “ฟาสซิสต์” ในองค์กร “969” มีความสำคัญยิ่งสำหรับกองทัพ เมื่อเราเข้าใจว่าพระสงฆ์ก้าวหน้าเคยออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านทหารในปี 1988 และ 2007
และการรณรงค์จัดตั้งกระแสเหยียดเชื้อชาติมีประโยชน์สำหรับทหารที่ยังครอง
อำนาจเผด็จการอยู่หลังหน้ากากปลอมของประชาธิปไตยในช่วงนี้
เพราะมันเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากการที่พม่ายังไม่มีประชาธิปไตยจริง
การที่สภาพการเมืองไม่แน่นอน
และการที่ความเหลื่อมล้ำในสังคมกำลังเพิ่มขึ้นเมื่อบริษัททุนใหญ่เข้ามาลง
ทุนในพม่าภายใต้เงื่อนไขของตลาดเสรี ชาวมุสลิมมักถูกป้ายสี
เหมือนชาวยิวในยุโรป หรือคนจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า “คุมเศรษฐกิจ”
มันมีตัวอย่างมากมายของการที่ชนชั้นปกครองเก่าพยายามปลุกปั่นความรุนแรงทาง
เชื้อชาติในยามที่มีการเปลี่ยนแปลง ในอินโดนีเซีย
เมื่อนายพลซุฮารโต้ยึดอำนาจในปี 1965
มีการระดมพวกมุสลิมสุดขั้วไปฆ่าคนจีน พร้อมๆ
กันนั้นมีการไล่ฆ่าคอมมิวนิสต์ถึงหนึ่งล้านคน ต่อมาเมื่อซุฮาร์โต้ถูกล้ม
บางกลุ่มในชนชั้นปกครองเดิมพยายามปลุกระดมม็อบให้ไปทำร้ายคนจีนในปี 1998 เพื่อให้คนมองว่าการไม่มีเผด็จการทหารสร้างความปั่นป่วน ทุกวันนี้หลังจากการเลือกตั้งหลายรอบในอินโดนีเซีย ประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono เป็นอดีตนายพลจากพรรคของซุฮาร์โต้
ในปี 1969 เมื่อพรรครัฐบาล UMNO ใน
มาเลเซียเริ่มเสียคะแนนเสียง
รัฐบาลก็ไปปลุกระดมให้คนมาเลย์ไปก่อจลาจลทำร้ายคนจีน
หลังจากนั้นมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน
มาเลเซียขึ้นชื่อว่าใช้การเมืองเชื้อชาติ เพื่อปกปิดการต่อสู้ทางชนชั้น
รัฐบาลเขมรก็เคยใช้ความรุนแรงต่อคนเชื้อชาติเวียดนาม
และรัฐบาลเวียดนามก็ขับไล่คนจีนออกจากประเทศเช่นกันล
ในอดีตยูโกสลาเวีย เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหนัก
นักการเมืองท้องถิ่นใช้การเมืองเชื้อชาติเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
จนเกิดสงครามกลางเมืองป่าเถื่อน
สิ่งที่น่าสลดใจ แต่ไม่แปลกใจ คือการที่นาง อองซาน ซูจี ลูกสาวของ อองซาน
ออกมาปกป้องจุดยืนของทหารพม่า แทนที่จะปกป้องชาวมุสลิม แถมในกรณีโรฮิงญา
มีการพูดว่าเขาไม่ใช่พลเมืองอีกด้วย นางซูจี
เป็นตัวหลักในการให้ความชอบธรรมกับประชาธิปไตยจอมปลอมในพม่าในยุคนี้
นอกจากนี้เขาสนับสนุนกลุ่มทุนใหญ่และแนวกลไกตลาด
เมื่อไม่นานมานี้ชาวบ้านไล่ด่านางอองซาน
เมื่อเขาบอกว่าชาวบ้านต้องเสียสละยอมออกจากที่
เพื่อให้กลุ่มทุนใหญ่เข้ามาทำเหมืองแร่
ความรุนแรงทางเชื่อชาติที่เกิดในพม่า ไม่ใช่ “ธรรมชาติ” ของความขัดแย้งระหว่างชุมชนต่างเชื้อชาติหรือศาสนา ซึ่งรัฐจะเข้ามาแก้ได้ เพราะรัฐเป็นตัวกลางในการปลุกระดมความรุนแรงแต่แรก รัฐพม่าไม่ใช่ตัวปีศาจ “Leviathan” ที่จะห้ามไม่ให้มนุษย์ฆ่ากัน ตามความคิด ทอมมัส ฮอบส์ รัฐพม่าเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองในการกดขี่ชนชั้นอื่น มันเป็นอุปสรรค์ต่อประชาธิปไตยและสันติสุข
(ที่มา)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/404-2013-03-25-14-07-08.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น