หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

ค. “ความเป็นคน”

ค. “ความเป็นคน”


http://1.bp.blogspot.com/-4t-0FL0MU3s/UVF65oE3dkI/AAAAAAAAB6o/0XrwEBSB67c/s1600/Darwin+Wallpaper.jpg 
สำหรับความคิดแบบพุทธศาสนาล้าหลังประเภทที่เน้น เรื่อง “กรรม” มาร์คซ์มีคำอธิบายที่ดีกว่า คือสังคมมนุษย์ตั้งแต่มันเริ่มมีการผลิตส่วนเกิน เช่นตั้งแต่สมัยเกษตรกรรม เริ่มเป็นสังคมชนชั้น ซึ่งจะมีคนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่คุมอำนาจและทรัพยากร และคนกลุ่มนี้ซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง จะบังคับให้คนอื่นที่เป็นคนส่วนใหญ่ทำงานให้ตนเอง นี่คือที่มาของความยากลำบากและความยากจน

โดย ลั่นทมขาว 

นักมาร์คซิสต์อย่าง คาร์ล มาร์คซ์ และ เฟรดเดอร์ริก เองเกิลส์ สนใจประเด็นเรื่องความเป็นคนมาก ก่อนหน้านั้นพวกงมงายในศาสนาจะเสนอว่า “พระเจ้าสร้างมนุษย์ในรูปแบบเดียวกับเขา” แต่นักวัตถุนิยมในยุคมาร์คซ์ ที่ชื่อ ฟอยเออร์บัค เสนอกลับไปว่ามนุษย์ต่างหากที่สร้างพระเจ้าในจินตนาการขึ้นมาในรูปแบบเดียว กับคน ในสังคมพุทธอาจมีหลายคนเชื่อเรื่องกรรมเก่าและการเกิดใหม่หลังตาย แต่นั้นเพียงแต่เป็นการปิดหูปิดตาถึงสาเหตุแท้ของความยากลำบากในสังคม และเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นเพื่อจะได้ไม่ต้องพิจารณาว่ามนุษย์มาจากไหนในทาง ชีววิทยา
   
ในสมัยที่มาร์คซ์กำลังเขียนหนังสือ “ว่าด้วยทุน” นักชีววิทยาชื่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับ อัลเฟรด วอล์เลส กำลังเสนอทฤษฏีวิวัฒนาการของมนุษย์จากลิง ทฤษฏีวิทยาศาสตร์นี้ขัดแย้งโดยตรงกับทฤษฏีศาสนา โดยเฉพาะข้อเสนอว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ และเราสามารถวัดความล้าหลังในบางส่วนของสังคมสหรัฐอเมริกาได้ เพราะทุกวันนี้ยังมีบางกลุ่ม บางชุมชน ที่ยังยึดมั่นในความเชื่อโง่ๆ ว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์และปฏิเสธทฤษฏีวิวัฒนาการ ความล้าหลังดังกล่าวในสหรัฐเป็นอาการหนึ่งของการที่แนวความคิดฝ่ายขวาครอบงำ สังคม เพราะความเป็นวิทยาศาสตร์และความคิดวัตถุนิยม ที่เน้นโลกจริง เหตุผล และสิ่งที่พิสูจน์ได้ เป็นแนวความคิดของฝ่ายซ้าย
   

สำหรับความคิดแบบพุทธศาสนาล้าหลังประเภทที่เน้นเรื่อง “กรรม” มาร์คซ์มีคำอธิบายที่ดีกว่า คือสังคมมนุษย์ตั้งแต่มันเริ่มมีการผลิตส่วนเกิน เช่นตั้งแต่สมัยเกษตรกรรม เริ่มเป็นสังคมชนชั้น ซึ่งจะมีคนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่คุมอำนาจและทรัพยากร และคนกลุ่มนี้ซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง จะบังคับให้คนอื่นที่เป็นคนส่วนใหญ่ทำงานให้ตนเอง นี่คือที่มาของความยากลำบากและความยากจน โดยเฉพาะในยุคทุนนิยมที่มีการผลิตล้นเกิน และเทคโนโลจีสมัยใหม่ที่ทำให้สภาพดินฟ้าอากาศไม่จำเป็นต้องควบคุมชีวิตเรา ตลอดเวลา มันไม่เกี่ยวอะไรกับ “กรรม” แต่แน่นอนท่ามกลางความขัดแย้งทางชนชั้นและความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่าง ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง กระแสความคิดจากเบื้องบนมักจะเสนอว่าความยากลำบากเป็นเรื่อง “กรรม” คือมันติดตัวเรามาตั้งแต่ก่อนเกิดและเราเปลี่ยนมันไม่ได้ ดังนั้นอย่าคิดกบฏ
   
มาร์คซ์ เสนอว่าคนเราเกิดมาในครอบครัวและสังคมที่แตกต่างกันก็จริง และเราไม่สามารถเลือกได้ว่าเราจะไปเกิดในตระกูลคนจนหรือคนรวย หรือในยุคปฏิวัติหรือยุคปฏิกิริยา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรา ในฐานะที่เป็นคน สามารถลุกขึ้นต่อสู้ได้ พูดง่ายๆ เราสู้ได้เสมอเพื่อเปลี่ยนสังคม แต่เราเลือกสมรภูมิรบไม่ได้
   
เมื่อเรามาพิจารณาเรื่อง “ความเป็นคน” เราจะเห็นว่าเราต่างจากสัตว์ตรงที่สังคมมนุษย์มีชนชั้น และมีความขัดแย้งทางชนชั้น แต่ชนชั้นดังกล่าวเป็นผลของประวัติศาสตร์ คือเป็นผลจากสิ่งที่มนุษย์หลายๆ คนกระทำไว้ หรือสร้างไว้ มันไม่ได้มาจากธรรมชาติ ไม่เหมือนสัตว์สังคมบางชนิดเช่นผึ้งหรือมด ซึ่งอาจมีการแบ่งงานกันทำ และอาจมองได้ว่าคล้ายๆ “ชนชั้น” แต่จริงๆ แล้วถูกกำหนดก่อนเกิดจากชีววิทยา และที่สำคัญคือในฝูงสัตว์ไม่มีการกบฏอย่างเป็นระบบ
   
ดังนั้น มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ มองว่ามนุษย์คือสัตว์สังคม แต่สิ่งที่ทำให้คนต่างจากสัตว์ทุกชนิดคือ เราอยาก “ทำงาน” อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกรอบตัวเราความสร้างสรรค์ของเราต่างจากสัตว์เพราะเรา สามารถจินตนาการงานที่เราจะทำก่อนที่มันจะเกิดขึ้น และเราจินตนาการสิ่งที่ไม่เคยมีในโลกได้ด้วย

การยืนสองขาของบรรพบุรุษมนุษย์ในสมัยที่เราคล้ายลิง มีผลทำให้เราสามารถใช้มือในการทำงานได้ และเมื่อเราเริ่มทำงานอย่างสร้างสรรค์ มือเราก็เริ่มเปลี่ยนแปลงตามการวิวัฒนาการ เพื่อให้เหมาะกับการทำงาน สมองเรา และภาษาที่ตามมา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการทำงานรวมหมู่ในรูปแบบสังคม เรามีผลกระทบต่อโลกรอบตัวเราด้วยการทำงาน และโลกรอบตัวเราก็มีผลกลับไปสู่คน โดยการคัดเลือกคุณสมบัติของร่างกายเราที่ดีที่สุดสำหรับสิ่งที่เราพยายามทำ ตามการวิวัฒนาการ
   
ด้วยเหตุนี้นักมาร์คซิสต์เข้าใจว่า “ความเป็นคน” คือการที่เราเป็นสัตว์สังคม เราไม่ใช่ปัจจเจกที่ห่างเหินจากคนอื่น และที่สำคัญคือเรารักการทำงานที่สร้างสรรค์ และความสร้างสรรค์นั้นมาจากความคิดอิสระของเราแต่ในโลกแห่งทุนนิยมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ในโลกไม่มีสิทธิทำงานสร้างสรรค์ในรูปแบบที่มาจากความคิดอิสระของ เรา เพราะเราถูกบังคับให้ทำงานให้นายทุน มันแปลว่าระบบทุนนิยมขโมยความเป็นคนขั้นพื้นฐานจากเราไป เป้าหมายของการต่อสู้เพื่อสังคมนิยมจึงเป็นการต่อสู้เพื่อให้เราได้ความเป็น คนกลับมานั้นเอง


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/03/blog-post_26.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น