รำลึกการปฏิวัติ 2475
“ราษฎร
ทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขา
หลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมาจากข้าศึก
พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน.....
การปกครองซึ่งคณะราษฎร์จะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการโดยอาศัยหลักวิชา
ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว....”
เมื่อเราอ่านแถลงการณ์ของคณะราษฎร์อันนี้ ซึ่งเขียนโดย ปรีดี พนมยงค์
เราอาจคิดว่าหลังการปฏิวัติล้มกษัตริย์ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475
ฝ่ายกษัตริย์กระทำการปฏิวัติซ้อนและดึงอำนาจกลับมาสู่กษัตริย์
แต่นั้นจะเป็นความเข้าใจผิดมหาศาล
ระบบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของรัชกาลที่ ๗
เป็นระบบเผด็จการทุนนิยมที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕
โดยมีการรวมศูนย์ประเทศและสร้างรัฐไทยขึ้นมาเป็นครั้งแรก
การทำการปฏิวัติล้มรัชกาลที่ ๗
กระทำไปเพื่อขยายชนชั้นปกครองจากการผูกขาดของกษัตรย์และราชวงศ์
ไปสู่ชนชั้นปกครองที่กว้างกว่าและประกอบไปด้วยทหาร
นายทุนเอกชนที่ไม่ใช่กษัตริย์ และข้าราชการที่ไม่ใช่ราชวงศ์ คนอย่าง ปรีดี
พนมยงค์ อยากเห็นรัฐสวัสดิการด้วย
แต่นั้นเป็นกระแสความคิดของคนกลุ่มน้อยในคณะราษฎร์
การฟื้นฟูบทบาทกษัตริย์เกิดขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน โดยหัวหอกสำคัญคือจอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพรรคพวก รวมถึงนายทุนใหญ่และสหรัฐอเมริกา
พวกนี้ไม่ใช่รุ่นคณะราษฎร์
แต่ประเด็นที่เราต้องเข้าใจคือ ชนชั้นนายทุนไทย ซึ่งรวมถึงนายทหารระดับสูง
ข้าราชการพลเรือน และนายทุนเอกชน นำกษัตริย์รัชกาลที่ ๙
กลับมามีบทบาทเป็นประมุข หลังจากที่ทำให้อำนาจกษัตริย์เป็นหมัน
ผลคือกษัตริย์เป็นเครื่องมือของพวกนี้อย่างเบ็ดเสร็จ แน่นอนต้องมีการ
“ติดสินบน” เพื่อให้เชื่องด้วย
คือยกทรัพย์สินมหาศาลให้และให้คนเล่นละครหมอบคลาน
แต่อำนาจแท้อยู่ที่นายทหารระดับสูง ข้าราชการพลเรือน และนายทุนเอกชน
โดยเฉพาะทหาร และนี่คือสถานการณ์ปัจจุบัน
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น