(เก่า เล่าใหม่) 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ"
อ.วรเจตน์ ปฐมบทรัฐธรรมนูญ 80ปีปฏิวัติประชาธิปไตย
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=u7PazFBvVaM#at=176
"อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้ง
หลาย" นั่นคือประโยคสำคัญในมาตรา 1 มาตราแรกของ
"พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475"
ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 แม้ประโยคนี้จะไม่มีในรัฐธรรมนูญ
10 ธันวาคม 2475 ซึ่งเป็นผลจากการ "ปรองดอง"
ระหว่างคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
แต่เนื้อหาที่แจ่มชัดในรัฐธรรมนูญ 2475 ทั้ง 2 ฉบับ และฉบับที่ปรีดี
พนมยงค์ แก้ไขใหม่ในปี 2489
คือคณะราษฎรได้เทิดสถาบันพระมหากษัตริย์ให้พ้นไปจากการเมืองการปกครอง
เป็นองค์ประมุขที่เคารพสักการะ
แต่ฝ่ายตรงข้ามไม่ยินยอมให้เป็นเช่นนั้น
เมื่อรัฐประหาร 2490 จึงเกิดรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เกิดอภิรัฐมนตรี
ที่แปลงมาเป็นองคมนตรีในรัฐธรรมนูญ 2492
และยังให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกตั้งวุฒิสมาชิก
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จะชี้ให้เห็นว่า
เหตุใดนิติราษฎร์จึงเสนอให้การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยึดเอารัฐธรรมนูญ 3
ฉบับแรก กับบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นแบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น