หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คุยกับผู้ก่อการจัดงาน ‘เฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนา’

คุยกับผู้ก่อการจัดงาน ‘เฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนา’

 


 
จงมา เฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนา

ประชาไท : ที่มาของ คณะจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนา เป็นใครบ้าง?

ภรณ์ทิพย์ มั่นคง : ก็เริ่มจากเรา(ภรณ์ทิพย์)อยากจัดงานวันชาติในแบบที่ไม่เหมือนทุกๆปี เรารู้สึกว่างานรำลึกมันบอกอะไรได้น้อยกว่า เราเลยไปชวนพี่ๆ กลุ่ม 24 มิถุนา มาร่วมกันจัดงาน จริงๆบอกเค้าว่าพี่เราอยากจัดงานแบบงานวัดแบบงานฉลองสมัยก่อน พี่เค้าก็ตกลง จากนั้นก็เลยรวบรวมเพื่อนที่เคยเล่นละครด้วยกัน แล้วก็ไปชวนกลุ่มอื่นๆ มาร่วมกัน ตอนนี้ก็มีกลุ่มประกายไฟการละครรวมการเฉพาะิกิจแห่งประเทศไทย, กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, กลุ่มเพื่อนนักกิจกรรม, กลุ่มกวีราษฎร์, เสื้อแดงธนบุรี 15 เขต, ไทยแลนด์ มิเรอร์ และคณะราษฎร 2555 เหมือนจะเยอะนะ แต่คนทำงานนิดเดียว (หัวเราะ) เป็นปกติของงานกิจกรรมแบบนี้แหละ งานปีนี้เราก็พยายามจะรวบรวมงานในแต่ละที่ที่จัดมาใส่ไว้ในกำหนดการที่จะแจก ให้กับคนที่มาเข้าร่วมงานกับเรานะ  เพื่อจะได้เป็นทางเลือกให้คนได้มีพื้นที่เรียนรู้เรื่องนี้เยอะๆ เค้าจะเลือกไปที่ไหนก็ได้ ไม่ได้แค่ให้มางานเราอย่างเดียว งานเราไม่มีข้อมูลความรู้มากเท่างานวิชาการที่หลายที่จัดขึ้นแต่ถ้าคนที่ชอบ งานรื่นเริงแล้วอยากไปเรียนรู้เพิ่มเราก็แค่บอกเค้าว่ามีที่ไหนให้ไปบ้าง


“กอล์ฟ” ภรณ์ทิพย์ มั่นคง

 
ทำไมต้องการให้วันที่ 24 มิ.ย.เป็น ‘วันชาติ’ ?

ภรณ์ทิพย์ :  จริงๆ แล้วคิดว่าทุกคนที่อ่านประวัติศาสตร์หรือพอจะเข้าใจการเมืองบ้างก็น่าจะเข้า ใจอยู่ เพราะมันเป็นวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร พ.ศ 2475    ซึ่งชาติในที่นี้มันได้ถูกเปลี่ยนเป็นความหมายว่าเป็นประชาชน  ดังนั้นถ้าวันนี้เรายังยืนยันว่าเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแล้ว วันนี้จึงเป็นวันชาติที่แท้จริง

และทำไมต้องออกมาเฉลิมฉลองกัน?

ภรณ์ทิพย์ :  เนื่องจากวันนี้จอมพล ป. ได้ประกาศให้เป็นวันที่เฉลิมฉลองวันชาติ ในปี พ.ศ. 2482 และ ชาติในที่นี้หมายความถึงชาติที่มีความเป็นประชาธิปไตยแล้ว เค้าก็มีการจัดงานเฉลิมฉลองกันให้ประชาชนได้เข้าใจถึงความสำคัญของ ประชาธิปไตย อย่างในต่างประเทศเขาก็จะนับเอาวันที่ปฏิวัติหรือวันที่ได้รับเอกราชเป็นวัน ชาติ  แต่ก่อนหน้านี้มันได้หายไปโดยการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เปลี่ยนวันชาติเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งมันคือการแทนที่ชาติของประชาชนเป็นชาติที่ครอบครองโดยพระมหากษัตริย์   ทำให้ความเข้าใจเรื่องวันชาติหรือการให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตยถูกทำ ให้เลอะเลือนไป 

ดังนั้นในวิกฤตการณ์ทางสังคม  ณ ตอนนี้ที่หลายฝ่ายหลายๆคนมักอ้างถึงประชาธิปไตยอยู่เสมอแต่ด้วยการแสดงออก กลับไม่ได้เป็นในทิศทางของการส่งเสริมประชาธิปไตย  นี้ไม่ได้พูดถึงสีใดสีหนึ่งแต่หมายถึงคนสองสี หรือคนที่ชอบบอกว่าตัวเองเป็นกลางด้วย เอาเข้าจริงแล้วพวกเราเข้าใจประชาธิปไตยมากแค่ไหนกันเชียว ทุกวันนี้วัฒนธรรมของประเทศเราไม่ได้ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยเลยพวกเรา ที่เติบโตมาจึงพูดถึงประชาธิปไตยแค่เปลือก นี่ไม่ได้หมายความว่าเราเข้าใจมากกว่าคนอื่น แต่เราอยากให้ทบทวนว่าเราเข้าใจกันแล้วจริงๆ ใช่ไหม ทีนี้  เราก็เลยอยากจะจัดงานมาในลักษณะของงานวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อย้อนให้คนเห็นถึง ยุคสมัยที่ทุกคนเฉลิมฉลองวันชาติที่เป็นวันชาติที่เฉลิมฉลองการเปลี่ยนแปลง การปกครอง ฟื้นงานเฉลิมฉลองวันชาติของประชาชนขึ้นมาอีกครั้ง

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/06/47338

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น