หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

'ณัฐพล ใจจริง' ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ประจำปี 56 "ชีวประวัติของพลเมืองไทยฯ"

'ณัฐพล ใจจริง' ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ประจำปี 56 "ชีวประวัติของพลเมืองไทยฯ"

 

ณัฐพล ใจจริงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ 2556
http://www.youtube.com/watch?v=FELjtr_ner8&feature=player_embedded 

ทำความรู้จัก "ณัฐพล ใจจริง" - "จากหนอนหนังสือเก่า สู่เงาเสียงจอมพล ป."
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372207310&grpid=03&catid&subcatid 


มื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 81 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ กรุงเทพมหานคร มีการแสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2556 โดย ดร. ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา โดยกล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ชีวประวัติของพลเมืองไทย : กำเนิดพัฒนาการและอุปสรรคกับภาระกิจการปกป้องประชาธิปไตย (2475 - ปัจจุบัน)" ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนผู้สนใจ ตลอดจนทายาทของคณะราษฎรและเสรีไทยเข้าร่วมฟังปาฐกถาดังกล่าวจำนวนมาก

โดยณัฐพลระบุว่าเป้าหมายของบทความดังกล่าว คือ บททดลองการนำเสนอประวัติศาสตร์สามัญชน เพื่อคืนตำแหน่งแห่งที่ของสามัญชน กลับสู่ประวัติศาสตร์ไทย หรือคืนบทบาทพลเมืองกลับสู่ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย ด้วยการพยายามฉายภาพความเป็นมาของสถานะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ ภายใต้การปกครองตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันว่าเป็นเช่นไร ตลอดจนให้ภาพวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตและความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงสถานะ หนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง เช่น "ไพร่" "ราษฎร" ที่ต่ำต้อย มาสู่ "พลเมือง" ผู้ทรงคุณค่าเป็นผู้มีเสรีภาพและความเสมอภาคภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการเรียกร้องให้พลเมืองมีความตระหนักในการพิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่อำนวยถึงความเป็นคนให้กับสมาชิกทุกคนในชุมชนทาง การเมืองเหมือนดังคำกล่าวที่ว่า "พลเมืองเท่ากับความเป็นคน"


ณัฐพล ระบุในปาฐกถาว่า ในประเทศประชาธิปไตย การเขียนถึงประวัติศาสตร์สามัญชน ผู้มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นเรื่องปกติ ขณะที่ของไทยนั้นยากจะปรากฏ ทั้งมีงานเขียนประวัติศาสตร์มหาบุรุษ เข้ามาครองพื้นที่ความรู้อย่างมากในสังคมไทย โดยงานเขียนชนิดนี้ถูกคนชั้นปกครองใช้ครอบงำผู้ถูกปกครองให้จำนนและเจียมตัว ให้สมฐานะแห่งตน จนอาจเกิดคำถามถึงผลกระทบของความรู้เช่นนี้ที่มีต่อความมั่นคงและความ ยั่งยืนของประชาธิปไตยไทย

หากความมั่นคงและยั่งยินของระบอบประชาธิปไตยไทยตั้งอยู่บนความรู้ความ เข้าใจ ความภูมิใจและการตระหนักในความสำคัญของคนทุกคนในฐานะผู้ที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจ อธิปไตย ที่มีสิทธิและหน้าที่แล้วไซร้ หน้าที่ประการหนึ่งที่พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยทุกคนพึงมีคือการพิทักษ์ปก ป้องระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น หนึ่งในหนทางในการธำรงความมั่นคงให้กับระบอบการปกครองดังกล่าว คือ การส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจในที่มาแห่งตน ความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงสถานะจากความต่ำต้อยสู่เสรีภาพและความเสมอภาค ของผู้คนให้กับพลเมือง หรือการเขียนประวัติศาสตร์ไทยให้สอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตยด้วย

ในวาระสำคัญแห่งการรำลึกถึง 8 ทศวรรษ 2475 และ 4 ทศวรรษ 14 ตุลาคม 2516 จึงดูเหมือนไม่มีหัวข้อใดที่เหมาะสมไปกว่าการกล่าวถึงชีวประวัติพลเมืองไทย ที่พยายามให้ภาพความเป็นมาของสามัญชนไทยผู้เคยเดินผ่านความขมขื่น ความเบิกบาน ความทุกข์ระทมที่แปรเปลี่ยนไปตามบริบทการเมืองการปกครองในแต่ละยุคสมัย

โดยของการปาฐกถาดังกล่าว ประชาไทจะนำเสนอต่อไป

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น