นำความร่ำรวยของนายทุน กลับคืนสู่สังคม ชอบธรรมแล้ว
โดย วัฒนะ วรรณ
ในระบบทุนนิยม ความร่ำรวยกินดีอยู่ดี ของนายทุนเกิดขึ้น สร้างมา ด้วยตัวของนายทุนแต่เพียงลำพังใช่หรือไม่ คำถามแบบนี้ มักจะเกิดขึ้น เมื่อนักสังคมนิยมเรียกร้องให้เก็บภาษีสูงๆ เป็นพิเศษจากคนรวยมากๆ ในสังคม หรือแม้กระทั่งการเรียกร้องสวัสดิการเพิ่มของแรงงาน หรือกระทั่งการยึดกิจการมาเป็นของรัฐ ก็ตาม
นายทุนในระบบทุนนิยมไทยมีหลายกลุ่มหลายส่วน บางส่วนตกทอดมรดกมาจากยุคสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช บางส่วนเกิดขึ้นยุคเผด็จการทหาร บางส่วนเกิดขึ้นมาภายหลัง ดังนั้นที่มาที่ไปจึงต่างกัน นายทุนบางส่วนที่เกิดมาก่อน 2475 การสะสมทุนอาจจะเริ่มต้นด้วยการบังคับแรงงานไพร่ทาส ทำสงครามปล้นชิงจากเมืองอื่น กวาดต้อนช่างฝีมือจากเมืองอื่นมาสร้างมูลค่าทรัพย์สินให้แก่ตน ส่งมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน
นายทุนยุคทหารก็อาศัยความสัมพันธ์กับเผด็จการทหารเพื่ออาศัยการเอื้ออำนวย ความสะดวกในการออกกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ ให้เหมาะสมกับการสะสมทุน ขูดรีด ขโมยมูลค่าส่วนเกินจากแรงงาน เช่นการได้สัมปทานจากรัฐราคาถูก การออกกฎหมายห้ามรวมกลุ่มต่อรองของแรงงาน การปล่อยให้มีการจ่ายค่าจ้างแรงงานต่ำๆ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน โดยที่ไม่ผิดเป็นต้น เรื่องเหล่านี้ในยุคที่พอมีประชาธิปไตยก็มีเช่นเดียวกัน แต่อาจจะมากน้อย หนักเบาต่างกันไป เงื่อนไขบางอย่างก็อาจจะต่างกันด้วย แต่ก็ยกพอให้เห็นภาพคร่าวๆ เท่านั้น
แต่ก็มีนายทุนอีกจำนวนมาก สามารถเริ่มต้นสะสมทุนได้ด้วยตนเอง เก็บเล็กผสมน้อยเช่นในหนังลอดลายมังกร แต่พอถึงที่สุดแล้ว นายทุนเหล่านี้ ก็จะทราบดีว่า การทำงานโดยตัวเองเพียงลำพัง รวมถึงครอบครัว ด้วยวิธีทำงานให้มาก กินใช้ให้น้อย สะสมทุนไปเรื่อยๆ ไม่มีทางจะกลายเป็นนายทุนใหญ่ได้ จึงจำเป็นต้องคิดอ่าน อาศัยเงื่อนไข กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ที่สร้างขึ้นสนับสนุนระบบทุนนิยมให้เป็นประโยชน์ ด้วยการจ้างแรงงานเพิ่ม และจ่ายค่าจ้างที่ต่ำกว่าจำนวนผลผลิตที่แรงงานเหล่านั้นทำได้ นายทุนก็จะได้ส่วนต่างนี้ เรียกหยาบๆ ว่ากำไร ยิ่งจ้างแรงงานมากขึ้น ส่วนต่างก็ทวีคูณมากขึ้น การสะสมก็จะเร็วมากขึ้น กว่าการทำงานของนายทุนเองเพียงลำพัง
นี่คือเหตุผลที่นักสังคมนิยมพูดเสมอๆ ว่าความร่ำรวยที่เกิดขึ้น ผลผลิตที่เกิดขึ้น ในสังคมทั้งหมดทั้งมวล ล้วนเกิดขึ้นจากการทำงาน ผ่านการใช้แรงงานเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติให้กลายเป็นสินค้าทั้งสิ้น
จึงมีเหตุผลที่มากพอที่เราจะยึดคืน ความร่ำรวยเหล่านั้นจากนายทุน โดยเฉพาะที่รวยมากๆ ในอัตราสูงพิเศษ นำมากลับคืน มาพัฒนาสังคม นำมาสร้างรัฐสวัสดิการในมิติต่างๆ ให้เกิดผลของความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นมากที่สุด ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ดีกว่าการมีโอกาสเท่าเทียมของระบบเสรีนิยม ที่นักกิจกรรมเสรียมชอบพูดถึง เช่นมีโอกาสทานอาหารดีๆ มีโอกาสเรียนโรงเรียนดีๆ มีโอกาสรักษาพยาบาลดีๆ แต่เมื่อสำรวจผลแล้วกับพบว่าไม่นำไปสู่ความเท่าเทียมที่แท้จริงแต่อย่างไร มีแต่คนมีเงินส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นได้ คนจนที่ถูกขโมยผลผลิตของตนไป ก็ยังยากจนเข้าไม่ถึงบริการที่เหล่านั้นอยู่ดี
และบ่อยครั้ง มักจะมีคนที่สนับสนุนเสรีนิยม ตอบโต้ ว่าการที่นายทุนเอากำไร โดยจ่ายค่าจ้างต่ำๆ เป็นเรื่องที่ชอบแล้ว ถูกต้องแล้ว เพราะนายทุนเหล่านั้นต้องแบกความเสี่ยงในภาวะขาดทุนหรือเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ มากกว่าลูกจ้าง
แต่ถ้าเรามาตรองดูภาพความจริงกันดีๆ เราก็จะพบว่า เมื่อบริษัทขาดทุนหรือเกิดวิกฤต นายทุนหรือผู้บริหารก็จะเป็นคนกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับผลกระทบ คนกลุ่มแรกที่มักจะถูกลดค่าจ้าง สวัสดิการ หรือแม้กระทั่งการถูกไล่ออก ก็เป็นลูกจ้างนี่แหละ เมื่อตกงานโดยกะทันหันชีวิตก็เผชิญหน้ากับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆ นาๆ แต่นายทุนถึงแม้กิจการจะล้มเลิกไปก็หาได้ลำบากตรากตรำเท่าลูกจ้างไม่ เพราะมีเงินทองที่สะสมไว้จากการทำงานของลูกจ้างเหลือไว้อีกมากที่จะเอาไว้ ใช้สอยส่วนตัว
ระบบทุนนิยมมักจะสร้างภาพ ผ่านเครื่องมือชนิดต่างๆ เผยแพร่ให้คนในสังคมเชื่อว่าระบบทุนนิยมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การจ้างแรงงานเพื่อเอากำไรเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมเกิดขึ้นมาได้ไม่กี่ร้อยปี เราสามารถเปลี่ยนมันได้ สร้างระบบเศรษฐกิจที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างเท่าเทียม เช่นสังคมนิยม
ในระบบทุนนิยม ความร่ำรวยกินดีอยู่ดี ของนายทุนเกิดขึ้น สร้างมา ด้วยตัวของนายทุนแต่เพียงลำพังใช่หรือไม่ คำถามแบบนี้ มักจะเกิดขึ้น เมื่อนักสังคมนิยมเรียกร้องให้เก็บภาษีสูงๆ เป็นพิเศษจากคนรวยมากๆ ในสังคม หรือแม้กระทั่งการเรียกร้องสวัสดิการเพิ่มของแรงงาน หรือกระทั่งการยึดกิจการมาเป็นของรัฐ ก็ตาม
นายทุนในระบบทุนนิยมไทยมีหลายกลุ่มหลายส่วน บางส่วนตกทอดมรดกมาจากยุคสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช บางส่วนเกิดขึ้นยุคเผด็จการทหาร บางส่วนเกิดขึ้นมาภายหลัง ดังนั้นที่มาที่ไปจึงต่างกัน นายทุนบางส่วนที่เกิดมาก่อน 2475 การสะสมทุนอาจจะเริ่มต้นด้วยการบังคับแรงงานไพร่ทาส ทำสงครามปล้นชิงจากเมืองอื่น กวาดต้อนช่างฝีมือจากเมืองอื่นมาสร้างมูลค่าทรัพย์สินให้แก่ตน ส่งมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน
นายทุนยุคทหารก็อาศัยความสัมพันธ์กับเผด็จการทหารเพื่ออาศัยการเอื้ออำนวย ความสะดวกในการออกกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ ให้เหมาะสมกับการสะสมทุน ขูดรีด ขโมยมูลค่าส่วนเกินจากแรงงาน เช่นการได้สัมปทานจากรัฐราคาถูก การออกกฎหมายห้ามรวมกลุ่มต่อรองของแรงงาน การปล่อยให้มีการจ่ายค่าจ้างแรงงานต่ำๆ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน โดยที่ไม่ผิดเป็นต้น เรื่องเหล่านี้ในยุคที่พอมีประชาธิปไตยก็มีเช่นเดียวกัน แต่อาจจะมากน้อย หนักเบาต่างกันไป เงื่อนไขบางอย่างก็อาจจะต่างกันด้วย แต่ก็ยกพอให้เห็นภาพคร่าวๆ เท่านั้น
แต่ก็มีนายทุนอีกจำนวนมาก สามารถเริ่มต้นสะสมทุนได้ด้วยตนเอง เก็บเล็กผสมน้อยเช่นในหนังลอดลายมังกร แต่พอถึงที่สุดแล้ว นายทุนเหล่านี้ ก็จะทราบดีว่า การทำงานโดยตัวเองเพียงลำพัง รวมถึงครอบครัว ด้วยวิธีทำงานให้มาก กินใช้ให้น้อย สะสมทุนไปเรื่อยๆ ไม่มีทางจะกลายเป็นนายทุนใหญ่ได้ จึงจำเป็นต้องคิดอ่าน อาศัยเงื่อนไข กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ที่สร้างขึ้นสนับสนุนระบบทุนนิยมให้เป็นประโยชน์ ด้วยการจ้างแรงงานเพิ่ม และจ่ายค่าจ้างที่ต่ำกว่าจำนวนผลผลิตที่แรงงานเหล่านั้นทำได้ นายทุนก็จะได้ส่วนต่างนี้ เรียกหยาบๆ ว่ากำไร ยิ่งจ้างแรงงานมากขึ้น ส่วนต่างก็ทวีคูณมากขึ้น การสะสมก็จะเร็วมากขึ้น กว่าการทำงานของนายทุนเองเพียงลำพัง
นี่คือเหตุผลที่นักสังคมนิยมพูดเสมอๆ ว่าความร่ำรวยที่เกิดขึ้น ผลผลิตที่เกิดขึ้น ในสังคมทั้งหมดทั้งมวล ล้วนเกิดขึ้นจากการทำงาน ผ่านการใช้แรงงานเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติให้กลายเป็นสินค้าทั้งสิ้น
จึงมีเหตุผลที่มากพอที่เราจะยึดคืน ความร่ำรวยเหล่านั้นจากนายทุน โดยเฉพาะที่รวยมากๆ ในอัตราสูงพิเศษ นำมากลับคืน มาพัฒนาสังคม นำมาสร้างรัฐสวัสดิการในมิติต่างๆ ให้เกิดผลของความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นมากที่สุด ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ดีกว่าการมีโอกาสเท่าเทียมของระบบเสรีนิยม ที่นักกิจกรรมเสรียมชอบพูดถึง เช่นมีโอกาสทานอาหารดีๆ มีโอกาสเรียนโรงเรียนดีๆ มีโอกาสรักษาพยาบาลดีๆ แต่เมื่อสำรวจผลแล้วกับพบว่าไม่นำไปสู่ความเท่าเทียมที่แท้จริงแต่อย่างไร มีแต่คนมีเงินส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นได้ คนจนที่ถูกขโมยผลผลิตของตนไป ก็ยังยากจนเข้าไม่ถึงบริการที่เหล่านั้นอยู่ดี
และบ่อยครั้ง มักจะมีคนที่สนับสนุนเสรีนิยม ตอบโต้ ว่าการที่นายทุนเอากำไร โดยจ่ายค่าจ้างต่ำๆ เป็นเรื่องที่ชอบแล้ว ถูกต้องแล้ว เพราะนายทุนเหล่านั้นต้องแบกความเสี่ยงในภาวะขาดทุนหรือเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ มากกว่าลูกจ้าง
แต่ถ้าเรามาตรองดูภาพความจริงกันดีๆ เราก็จะพบว่า เมื่อบริษัทขาดทุนหรือเกิดวิกฤต นายทุนหรือผู้บริหารก็จะเป็นคนกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับผลกระทบ คนกลุ่มแรกที่มักจะถูกลดค่าจ้าง สวัสดิการ หรือแม้กระทั่งการถูกไล่ออก ก็เป็นลูกจ้างนี่แหละ เมื่อตกงานโดยกะทันหันชีวิตก็เผชิญหน้ากับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆ นาๆ แต่นายทุนถึงแม้กิจการจะล้มเลิกไปก็หาได้ลำบากตรากตรำเท่าลูกจ้างไม่ เพราะมีเงินทองที่สะสมไว้จากการทำงานของลูกจ้างเหลือไว้อีกมากที่จะเอาไว้ ใช้สอยส่วนตัว
ระบบทุนนิยมมักจะสร้างภาพ ผ่านเครื่องมือชนิดต่างๆ เผยแพร่ให้คนในสังคมเชื่อว่าระบบทุนนิยมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การจ้างแรงงานเพื่อเอากำไรเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมเกิดขึ้นมาได้ไม่กี่ร้อยปี เราสามารถเปลี่ยนมันได้ สร้างระบบเศรษฐกิจที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างเท่าเทียม เช่นสังคมนิยม
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น