หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การฟื้นตัวของขบวนการแรงงานอียิปต์

การฟื้นตัวของขบวนการแรงงานอียิปต์ 


โดย กองบรรณาธิการ นสพ. เลี้ยวซ้าย

ขบวน การแรงงานอียิปต์เริ่มลุกขึ้นต่อสู้เมื่อมีคลื่นการนัดหยุดงานใหญ่เกิดขึ้น ในปี  2006 แนวหน้าในยุคนั้นคือคนงานสิ่งทอ แต่ในไม่ช้ามีคนงานท่าเรือและขนส่ง และพนักงานปกคอขาว เช่นเจ้าหน้าที่สรรพากร ร่วมนัดหยุดงานด้วย คลื่นการนัดหยุดงานนี้มาจากความไม่พอใจในนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดที่เผด็จการ มูบารักใช้มานาน และห้าปีหลังจากนั้นมัน เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระแสปฏิวัติที่สามารถล้มมูบารักในปี  2011 เพราะสาเหตุสำคัญที่กองทัพอียิปต์ปลดมูบารักออกจากตำแหน่ง ก็เพราะมีการนัดหยุดงานทั่วไปเกิดขึ้น และกองทัพมองว่าถ้าไม่รีบออกมา ชนชั้นกรรมาชีพจะลุกขึ้นยึดประเทศและทำลายอำนาจชนชั้นปกครองเก่ารวมถึงผล ประโยชน์การเมืองและธุรกิจของกองทัพด้วย


ในปี 2012 หลังจากที่มูบารักถูกล้ม และประธานาธิบดีมูรซี่ชนะการเลือกตั้ง กระแสนัดหยุดงานพุ่งขึ้นอีก เพราะรัฐบาลพรรคมุสลิมยังคงใช้นโยบายกลไกตลาดเสรีและจับมือกับองค์กรไอเอ็ม เอฟ ซึ่งมีผลในการขยายความเหลื่อมล้ำและไม่แก้ปัญหาว่างงานเลย นอกจากนี้รัฐบาลพรรคมุสลิมเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของคนงานในอดีตรัฐวิสาหกิจ ที่ถูกขายให้นายทุนเพื่อนฝูงของมูบารัก บ่อยครั้งศาลตัดสินให้คืนกิจการเหล่านั้นให้ภาครัฐ แต่มูรซี่ไม่ทำอะไร “ศูนย์สิทธิเศรษฐศาสตร์และสังคมอียิปต์” คาดว่าในช่วงรัฐบาลใหม่ปี 2012 มีการนัดหยุดงานประมาณสามพันครั้ง และในสามเดือนแรกของปี 2013 มีการนัดหยุดงาน 2,400 ครั้ง ซึ่งทำให้เราเห็นชัดว่ากระแสนัดหยุดงานมีความสำคัญในการล้มมูรซี่ด้วย และไปควบคู่กับการออกมาชุมนุมของมวลชน 17 ล้านคน


การต่อสู้ของกรรมาชีพคนทำงาน ประกอบไปด้วยการนัดหยุดงานและการยึดสถานที่ทำงานด้วย และครอบคลุมถึง คนงานขนส่งรวมถึงรถไฟ สนามบิน คลองซูเอส และท่าเรือ นอกจากนี้มีการนัดหยุดงานในภาคอุตสาหกรรม ปูนซีเมน และภาคบริการ แม้แต่กองกำลังตำรวจปราบจลาลจล ที่ประกอบไปด้วยคนจนที่ถูกเกณฑ์มาจากชนบท ก็เริ่มออกมาประท้วงรัฐบาล


ท่ามกลางกระแสการต่อสู้แบบนี้ มีการก่อตั้งสภาแรงงานใหม่ที่อิสระจากรัฐ เพราะในสมัยเผด็จการมูบารักรัฐควบคุมสภาแรงงานอย่างเบ็ดเสร็จ ในขณะเดียวกันมีการสร้างเครือข่ายแรงงานในรูปแบบกลุ่มย่านอุตสาหกรรม เพื่อประสานงานการต่อสู้ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ในระดับรากหญ้า กลุ่มย่านแบบนี้ถูกสร้างขึ้นในซูเอส และซาดัดซิตตี้

ถึงแม้ว่าการก่อตั้งสภาแรงงานอิสระเป็นก้าวสำคัญ แต่สองรูปแบบการจัดตั้ง คือสภาแรงงานอิสระ กับเครือข่ายกลุ่มย่าน เริ่มขัดแย้งและสวนทางกัน เพราะสภาแรงงานมักหันมาเน้นผลประโยชน์ของสภาและประเด็นเศรษฐกิจ ผู้นำก็เริ่มมีลักษณะ “ข้าราชการ” ด้วย แต่เครือข่ายกลุ่มย่านนำโดยคนงานรากหญ้าและผสมประเด็นการเมืองกับเรื่องปากท้อง เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ผู้นำแรงงานในสภาอิสระเริ่มหลงรักองค์กรแรงงานสากล เช่น ITUC, AFL-CIO และองค์กรแรงงานยุโรป นักเคลื่อนไหวแรงงานผู้หนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า “เราไม่ต้องการให้องค์กรแรงงานสากลเข้ามาเชิญผู้นำแรงงานของเราไปสัมมนาต่างประเทศ เพราะเราต้องการสร้างขบวนการแรงงานรากหญ้าที่เข้มแข็ง ไม่ใช่สร้างผู้นำข้าราชการ”


(ข้อมูลจาก Egypt: The Workers Advance. โดย Philip Marfleet ใน International Socialism Journal, Summer 2013)

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/07/blog-post_20.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น