หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เหตุเกิดที่ภาคใต้ กรณี ′ควนหนองหงส์′ ความจริง คืออะไร

เหตุเกิดที่ภาคใต้ กรณี ′ควนหนองหงส์′ ความจริง คืออะไร
 


พลันที่การชุมนุมของสวนยางเกิดขึ้น ณ แยกควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม

ผู้เกี่ยวข้องแต่ละส่วนต่างอยู่ในภาวะ "เกร็ง"

ไม่ ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8 ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราช

เพราะว่านครศรีธรรมราชเป็นจังหวัด "ใหญ่" ในภาคใต้

เพราะว่าในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม เพิ่งผ่านเหตุการณ์ในทางประวัติศาสตร์ที่มีการป่วนอย่างโกลาหล

เหมือนกับเป็นการซ้อมมือ

ความ พร้อมของกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8 ในการรับมือกับม็อบแตกต่างกับความพร้อมในการรับมือกับม็อบของกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลอย่างแน่นอน ขณะเดียวกัน ฝ่ายปกครองของจังหวัดนครราชสีมาก็อยู่ในอาการกล้าๆ กลัวๆ

ภาพของการ ป่วนในรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม กับภาพของม็อบเมื่อเดินหน้าเข้าปะทะกับตำรวจที่แยกควนหนองหงส์เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ให้ความรู้สึกแทบไม่ต่างกัน

สินค้าตัวอย่าง "อนาธิปไตย"

การไปปรากฏตัวในหมู่มวลชนของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็น นายวิทยา แก้วภราดัย หรือนายอภิชาต การิกาญจน์ ในฐานะเจ้าหน้าที่

ไม่แปลก

เหมือนกับการเดินทางไปให้กำลังใจของ นายถาวร เสนเนียม จากสงขลา ก็ไม่แปลก เพราะอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสวนยางเหมือนกับชาวบ้านคนอื่น

เหมือน กับการเรียกประชุม ส.ส.และผู้นำท้องถิ่น ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบต.) ชุมพร ของ นายชุมพล จุลใส พร้อมกับมีมติจะนำมวลชนไม่ต่ำกว่า 5,000 คน เข้าร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้

ก็มิได้แปลก

ความ น่าสนใจมิได้อยู่ที่การเดินทางไปเจรจาของ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่นครศรีธรรมราช หากอยู่ที่แถลงจาก นายวิทยา ฉายสุวรรณ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่และร่วมในการเจรจาด้วย

นั่นก็คือ ชาวสวนยางที่เจรจาแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่าย 1 ยอมรับข้อเสนอของภาครัฐ ฝ่าย 1 ไม่ยอมรับ

ฝ่ายไม่ยอมรับมาจาก "นอก" พื้นที่

ต้อง ยอมรับว่าการเกิดขึ้นของม็อบชาวสวนยาง ชาวสวนปาล์ม ไม่ว่าจะเป็นที่ควนหนองหงส์ ไม่ว่าที่จะขับเคลื่อนในขอบเขตทั่วประเทศวันที่ 3 กันยายน


แปลกๆ

1 ชาวสวนยาง ชาวสวนปาล์ม ประสบปัญหาในเรื่องราคาที่ตกต่ำลงเป็นลำดับ นี่เป็นความจริงที่ดำรงอยู่

เป็นความจริงที่ดำรงอยู่และมีความพยายามจะแก้ไขจากรัฐบาล

ขณะเดียวกัน 1 มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองบางฝ่ายที่จะ "ขยาย" ให้ความไม่พอใจนี้กลายเป็นประเด็น

เป็นส่วนของการยกระดับการเคลื่อนไหว ต่อสู้

เหมือน กับเป็นห่วงเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสวนยาง ชาวสวนปาล์ม แต่ภายในความห่วงใยนี้ก็อาศัยเงื่อนไขของชาวสวนยาง ชาวสวนปาล์ม เป็นเหมือนกระดานหกทางการเมืองไปสู่การเขย่าสถานะของรัฐบาล

เป็นส่วน 1 ของยุทธการเคลื่อนไหว "นอกสภา"

หากประเมินจากท่าทีของ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ของ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ล้วนได้รับ "ข้อมูล" ตรงกัน

คำถามคือ จะแก้ "เกม" อย่างไร

จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะต้องย้อนไปอาศัยคำสอนจากโคลงโลกนิติ

นั่น ก็คือ อาศัยหลักการ "สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พร้อม" นำเอาความจริงที่เกิดขึ้นมาฟ้องต่อประชาชน อาศัยความช่วยเหลือของประชาชนในการคลี่คลายสถานการณ์

มวลชน คือ ผนังทองแดง กำแพงเหล็ก


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377678952&grpid=&catid=12&subcatid=1200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น