หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แย้งนิธิเรื่องฮิตเลอร์

แย้งนิธิเรื่องฮิตเลอร์


 
โดย  อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์


หลังจากได้อ่านบทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์เกี่ยวกับฮิตเลอร์ที่ ลงในทั้งมติชนและประชาไทแล้ว  ผู้เขียนใคร่แสดงความอหังการที่จะหยิบยกบทความของเจ้าพ่อวงการประวัติศาสตร์ ไทยร่วมสมัยมาแย้งแบบหมูไม่กลัวน้ำร้อน อย่างไรก็ตามต้องเกริ่นเสียก่อนว่า ผู้เขียนนั้นเห็นด้วยกับความคิดของนิธิโดยเฉพาะประเด็นที่ว่าตามลำพังตัวตน ของฮิตเลอร์หากไม่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขทางการเมืองหรือประวัติศาสตร์ย่อมไม่ สามารถมีบทบาทในการสังหารหมู่ชาวยิวหรือก่อให้เกิดสงครามอันล้างผลาญชีวิต หลายสิบล้านได้ แต่ผู้เขียนก็ไม่เห็นด้วยกับนิธิในหลายประเด็นดังต่อไปนี้

1.นิธิมองข้ามความจำเป็นของการห้ามการแสดงสัญลักษณ์

นิธิเห็นว่าการห้ามไม่ให้มีการแสดงสัญลักษณ์เกี่ยวกับฮิตเลอร์และนาซี เกิดจากการที่ไม่ต้องการให้เยอรมันกลับมาเป็นฟาสซิสต์อีกครั้งรวมไปถึงบทบาท ของพวกยิวในสหรัฐฯ ข้อแย้งของผู้เขียนคือนิธิไม่ได้กล่าวถึงอันตรายจากขบวนการลัทธินาซีใหม่   (Neo-Nazi) หรือพวกขวาตกขอบซึ่งพยายามสืบทอดมรดกฟาสซิสต์ของพรรคนาซี  ขบวนการนี้ไม่ได้มีเพียงในเยอรมันแต่ยังกระจายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป หรือ แม้แต่รัสเซียภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย การห้ามไม่ให้แสดงสัญลักษณ์แบบนาซีจึงมีประโยชน์คือไม่ให้พวกหัวรุนแรงกลุ่ม นี้ได้ใช้ประโยชน์ทางการเมืองนอกจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันสั่งยุบพรรค นาซีใหม่เมื่อปี 1952  การห้ามเข้มงวดแม้กระทั้งว่ารัฐบาลเยอรมันไม่ยอมให้มีการบูรณะบังเกอร์ที่  ฮิตเลอร์ใช้หลบภัยก่อนจะฆ่าตัวตายเมื่อเดือนเมษายน ปี 1945 เพราะไม่ต้องให้เป็นแท่นบูชาสำหรับพวกนาซีใหม่ 

แม้เป็นเรื่องยากที่เยอรมันจะกลับมาเป็นฟาสซิสต์อีกครั้งหนึ่ง แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเยอรมันและที่สำคัญรวม ถึงประเทศอื่นทั่วโลกเพราะเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ไม่ให้พวกขวาจัดใหม่เข้ามามีอิทธิพลอีกครั้งอันจะส่งผลเสียต่อสังคมโดยรวม เช่นเช่นการต่อต้านชาวต่างชาติที่มีเชื้อชาติหรือศาสนาที่แตกต่างจากชาว ยุโรปรวมไปถึงการล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วไป และแม้จะสามารถโต้เถียงได้ว่าหากสถานการณ์เอื้ออำนวยเช่นปัญหาเศรษฐกิจได้ ส่งผลให้เกิดพวกขวาตกขอบที่เต็มไปด้วยอคติทางเชื้อชาติและศาสนาเช่นการต่อ ต้านพวกอพยพที่เป็นชาวประเทศโลกที่ 3 ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การบังคับห้ามการแสดงออกด้านสัญลักษณ์เปรียบได้ดังการทำสงครามเชิง วัฒนธรรม (Culture War) ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเหลือรัฐบาลของยุโรปไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาอย่างอื่นควบ คู่ไปด้วย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47943

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น