หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

คอมมูนปารีส 1871

คอมมูนปารีส 1871


 
ผู้แทนถูกถอดถอนได้ทุกเมื่อ และจะต้องรับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนปกติของคนงาน ในขณะเดียวกันสภาคอมมูนเป็นสภา “ทำงาน” คือทั้งออกกฏหมายและรับผิดชอบในการบริหารกฏหมายนั้นโดยตรง

โดย C.H. 

การปกครองของรัฐบาลจักรพรรดิ์ หลุยส์ โบนาพาร์ท เต็มไปด้วยความอื้อฉาวและการคอร์รับชั่น และไม่ใส่ใจเรื่องความยากจนของพลเมือง กระแสสาธารณรัฐที่ต่อต้านรัฐบาลจึงเริ่มมาแรง     เมื่อกองทัพฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามกับกองทัพ พรัสเซีย และพรัสเซียยกทัพมาล้อมเมืองปารีส จักรพรรดิ์ หลุยส์ โบนาพาร์ท ต้องลาออกจากตำแหน่ง แต่รัฐบาลใหม่ของนายทุนไม่มีปัญญาจะสู้และแอบไปเจรจากับผู้นำ พรัสเซีย

ชนชั้นกรรมาชีพในปารีสไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง และทะยอยตบเท้าเข้าไปเป็นทหารอาสาใน “กองกำลังแห่งชาติ” พร้อมกันนั้นกรรมกรมีการตั้ง “สมาคมแดง” และหนังสือพิมพ์เพื่อผลักดันการปฏิวัติสังคมนิยมในช่วงแรกประชาชนกรรมาชีพ ผู้ถืออาวุธ ใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางของกองทัพแห่งชาติ แต่ผู้นำเหล่านี้ไม่ต้องการให้การปกครองมีรูปแบบที่จะนำไปสู่เผด็จการทหาร ได้ จึงมีการจัดการเลือกตั้งผู้บริหารคอมมูนหรือเทศบาล โดยที่ประชาชนชายทุกคนมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง

สภาคอมมูนปารีสมีลักษณะที่แตกต่างจากรัฐสภาทุนนิยมโดยสิ้นเชิงคือ ผู้แทนถูกถอดถอนได้ทุกเมื่อ และจะต้องรับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนปกติของคนงาน ในขณะเดียวกันสภาคอมมูนเป็นสภา “ทำงาน” คือทั้งออกกฏหมายและรับผิดชอบในการบริหารกฏหมายนั้นโดยตรง คาร์ล มาร์คซ์ ในหนังสือ “สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส” อธิบายว่ามวลชนกรรมาชีพติดอาวุธในเมืองปารีส ล้มรัฐเก่า และสร้างรัฐใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นหลายเท่ารัฐใหม่ของกรรมาชีพ ห้ามการทำงานกะตอนกลางคืน ตั้งกองทุนบำเน็จบำนาญ จัดการศึกษาฟรีให้เด็กทุกคน ยกเลิกหนี้จากอดีต และให้ความมั่นคงในที่อยู่อาศัยสำหรับคนจน แต่คอมมูนปารีสไม่มีเวลาที่จะนำมาตรการเหล่านี้มาปฏิบัติอย่างถาวรเพราะถูก ปราบปรามโดยรัฐบาลเก่าที่ร่วมมือกับกองทัพ พรัสเซีย
   
จุดอ่อนของคอมมูนคือ มีแนวคิดสำคัญสองแนวที่แข่งกัน คือแนวของ ออกัสต์ ปลังคี่ ที่เน้นการลุกฮือของกลุ่มเล็กๆ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นแนว พรูดอง ที่เน้นมวลชนในการสร้าง สหกรณ์ เพื่อทำงานร่วมกัน แต่ไม่สนใจ “การเมือง” หรือการยึดอำนาจรัฐ ทั้งสองแนวคิดมีปัญหา เพราะจริงๆ แล้ว อย่างที่ มาร์คซ์ เข้าใจ การปฏิวัติสังคมนิยมต้องอาศัยพลังมวลชนจำนวนมาก และต้องยึดอำนาจเพื่อสร้างรัฐใหม่ของกรรมาชีพ


(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/09/1871.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น