หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

เมื่อ FTA เดินทางมาถึง ยาโคตรแพง คนจนห้ามป่วย

เมื่อ FTA เดินทางมาถึง ยาโคตรแพง คนจนห้ามป่วย


 
โดย   ณัฐกานต์ กิจประสงค์ 
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 11 กันยายน  2556



ณัฐกานต์ กิจประสงค์
เรื่องเดียวที่ทำให้มนุษย์เป็นทุกข์ในโลกนี้คือเรื่องการเจ็บป่วยแต่ก็ไม่ ใช่เพราะทุกข์จากการเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ทุกข์จากการที่ต้องคิดว่าจะหาเงินที่ไหนมาใช้รักษา

เมื่อประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ทำให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ นอกเหนือไปจากข้าราชการและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีหลักประกัน สุขภาพมาก่อนหน้านั้นแล้ว "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ครอบคลุมคนไทยทุกคน

ทั้งนี้ เป็นหลักประกันว่าคนไทยจะไม่ล้มละลายจากความเจ็บป่วย ไม่ต้องขายไร่ ขายนา ขายตัว เพื่อเอาเงินไปรักษาคนที่รักยิ่งในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคราคาแพง

ที่บอกว่าโรคราคาแพงไม่ได้หมายความว่าโรคนั้น ราคาแพง แต่การจะรักษาโรคนั้นๆ ให้หายได้ ต้องใช้เงินมหาศาล หลักแสน หลักล้านหรือบางกรณีถึงหลายล้านบาท

แต่อะไรล่ะที่ทำให้โรคธรรมดาราคาแพงได้เวลาโรคจะมาเคาะประตูเยี่ยมเรา หรือมาขอใช้ร่างกายเราเป็นที่อาศัยก็ไม่ได้บอกก่อนล่วงหน้าไม่ได้เลือก จากรูปร่าง หน้าตา ฐานะ ใครๆ ก็มีสิทธิป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้ทั้งนั้น

หลายโรคต่อให้พยายามอย่างไร เราก็นึกไม่ออกว่าจะป้องกันไม่ให้เจ้าโรคนั้นมาใช้ร่างกายเราเป็นที่อาศัยได้ อย่างเช่น มะเร็ง

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ยาราคาแพง เรียกว่า"สิทธิบัตรยา"

สิทธิบัตรเป็นแรงจูงใจให้ผู้คิดค้น วิจัยพัฒนา "ยาตัวใหม่ๆ ของโลก" ได้รับสิทธิในการขายยานั้นแต่เพียงผู้เดียว เป็นเวลา 20 ปียาตัวนั้นจะมีชื่อเรียกอย่างหรูว่า"ยาต้นแบบ"(Original Drugs)


หลังจากนั้นหากมีเจ้าที่สอง เจ้าที่สามที่คิดได้เหมือนกัน ผ่านขั้นตอนการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณภาพเท่าเทียมกันกับยาต้นแบบ ก็จะสามารถมาขายคู่กันในท้องตลาดได้ เรียกว่ายาชื่อสามัญ(Generic Drugs)

เมื่อมีการแข่งขันในตลาดแน่นอนว่าราคายานั้นย่อมถูกลงกว่า 20 ปีแรก ที่มีผู้ขายได้แต่เพียงผู้เดียวอย่างแน่นอน อย่างเช่น ยาเล็ทโทรโซล เป็นยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านม ยาต้นแบบราคา 230 บาท ขณะที่ราคายาชื่อสามัญนั้นราคาเพียง 6 บาท

องค์การการค้าโลกซึ่งประเทศไทยก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ให้รางวัลผู้ประดิษฐ์คิดค้นยาใหม่ๆ ให้ขายได้เพียงผู้เดียวในตลาด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คิดค้นและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ เวลา 20 ปีก็นานพอที่จะทำกำไรได้เกินการลงทุนแล้ว แต่หากเราเป็นเจ้าของสิทธิบัตร เราก็คงอยากหาทางทำให้เรายังคงเป็นเจ้าเดียวที่ขายได้ในตลาด แบบไม่ต้องมีคู่แข่งตลอดไป

จึงเป็นที่มาของข้อเสนอต่อประเทศยักษ์ใหญ่ที่มีอุตสาหกรรมยาขนาดใหญ่ อย่างสหภาพยุโรป (อียู) ต้องการมากที่สุด คือขยายเวลาคุ้มครองสิทธิบัตรจาก 20 เป็น 25 ปี และคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา
กล่าวอีกอีกนัยหนึ่ง คือ การผูกขาดข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยา (Data Exclusivity)ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรอำพราง" เพื่อเพิ่มการผูกขาดของสิทธิบัตรที่มีอยู่เดิม โดยอาจมีระยะเวลาการผูกขาดเพิ่มมากขึ้นถึง 10 ปีจากประสบการณ์ในหลายประเทศ เช่นโคลัมเบีย หลังจากที่สหภาพยุโรปบังคับให้มีการผูกขาดข้อมูลยา 10 ปี

ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศเพิ่มขึ้นถึง 340 ล้านเหรียญสหรัฐ (10,200 ล้านบาท) ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่พบว่าถ้าปล่อยให้มีการผูกขาดข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 (ซึ่งเป็นปีที่ทำการศึกษา) ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2556) จะสูงถึง 81,356 ล้านบาทต่อปี และมากกว่ามูลค่าการคงสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ที่ไทยหวังจะได้จากการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ที่คิดเป็น79,422 ล้านบาท

สหภาพยุโรปยื่นข้อเรียกร้องนี้ต่อทุกประเทศที่เจรจาการค้าเสรี ล่าสุดรัฐบาลอินเดียหาญกล้า ยืนกระต่ายขาเดียวไม่รับข้อเสนอข้อนี้ ไม่รับข้อตกลงที่เกินไปกว่าทริปส์ การเจรจายืดเยื้อยาวนาน แต่แล้วสหภาพยุโรปก็ต้องยอมถอดข้อเรียกร้องนี้ออกไปจากการเจรจา โดยที่ไม่ต้องล้มโต๊ะเจรจา

อินเดียถือเป็นร้านยาของโลกที่ผลิตยาชื่อสามัญคุณภาพดีราคาถูกให้ทั่วโลก ได้เข้าถึงการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ นี่เป็นตัวอย่างของความหาญกล้าของรัฐบาลที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน การเจรจาการค้าเสรีระหว่างอินเดียกับสหภาพยุโรปก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยไม่ต้องเอาชีวิตของคนอินเดียไปแลก

แต่...หากการเจรจาเสรีการค้าระหว่างไทยสหภาพยุโรป ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 16-20 ก.ย.ที่จะถึงนี้ แล้วรัฐบาลไทยไม่ยืนยันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย ยอมแลกเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ยอมข้อตกลงที่เกินไปกว่าทริปส์เพื่อแลกกับการได้ต่ออายุสิทธิพิเศษทางการ ค้า(GSP) ให้กับนายทุน

ประชาชนและคนป่วยก็คงต้องสู้สุดใจ แม้จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ตาม n

หลังจากที่สหภาพยุโรปบังคับให้มีการผูกขาดข้อมูลยา 10 ปี ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศเพิ่มขึ้นถึง 340 ล้านเหรียญสหรัฐ

(ที่มา)
http://www.hfocus.org/content/2013/09/4700
เมื่อ FTA เดินทางมาถึง ยาโคตรแพง คนจนห้ามป่วย
เมื่อ FTA เดินทางมาถึง ยาโคตรแพง คนจนห้ามป่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น