หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สัมภาษณ์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เมื่ออำนาจศาล รธน. ปะทะอำนาจรัฐสภา (อีกแล้ว)

สัมภาษณ์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เมื่ออำนาจศาล รธน. ปะทะอำนาจรัฐสภา (อีกแล้ว)


 
http://farm3.staticflickr.com/2885/9999257526_dfdcd889a7_o.png 
(คลิกดูภาพขนาดใหญ่)

28 ก.ย. คือวันที่ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญมาถึงจุดร้อนฉ่าอีกครั้ง เมื่อสภามีมติเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของที่มา ส.ว. ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 358 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง งดออกเสียง 30 เสียงขณะที่ ฝ่ายค้าน และกลุ่ม 40 ส.ว. วอล์คเอาท์

หมากการเมืองและหมากกฎหมายที่พรรคฝ่ายค้านและ ส.ว. บางส่วนได้วางไว้ก่อนหน้านี้ ก็กลายมาเป็นปัจจัยพัวพันการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อทันที

โดยก่อนหน้านี้ นายสาย กังกะเวคิน ส.ว. ระยอง และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เรื่องขอให้พิจารณาว่าการแก้ไขรธน. ในส่วนของที่มา ส.ว. นั้นเข้าข่ายผิด ม. 68 แห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากนั้น 25 ก.ย. ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องพร้อมแจ้งมายังสำนักเลขาธิการรัฐสภา ให้แจ้งต่อประธานรัฐสภาว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของไว้พิจารณาแล้ว

พลันที่มีการลงมติผ่านฉลุย ด้วยคะแนน 358 เสียง ประธานวิปฝ่ายค้านก็ได้ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อ ส.ส. 143 คน ต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และรองประธานรัฐสภา เพื่อขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ โดยอ้างตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 ทันที

แล้วทั้งหมดนี้มันคืออะไร เสียงของส.ส. และส.ว. 358 เสียงยังคงมีความหมายใช้การได้หรือไม่ แล้วบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณีนี้ จะมีผลยับยั้งมติของรัฐสภาและกระบวนการต่อไปที่เข้าสู่ขั้นตอนพระราช วินิจฉัยหรือไม่ ประชาไทสัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักกฎหมายจากกลุ่มนิติราษฎร์ รองศาสตราจารย์ด้านกฎหมายมหาชน เพื่อให้เขาอธิบายโดยละเอียด


000

วรเจตน์ : ผมอธิบายแบบนี้ก่อน เรียงลำดับไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย นะครับว่า ตอนนี้ กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ มันดำเนินมาจนกระทั่งผ่านวาระ 3 แล้ว

การแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญที่เป็นประเด็นอยู่นี้ เป็นการแก้รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งรัฐสภาก็ได้ประชุมกัน แล้วกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ก็ดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ทำเป็น 3 วาระ และเมื่อเช้าเมื่อนี้ก็ผ่านวาระ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยคะแนนเสียงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ทีนี้ขั้นตอนต่อไปถัดจากนี้ ผมเอาขั้นตอนในทางกฎหมายก่อน ขั้นตอนถัดจากนี้จะเป็นไปตามมาตรา 291 (7) ก็คือ เมื่อมีการลงมติไปตามที่กล่าว ก็คือผ่านทั้ง 3 วาระมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และ 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม


มาตรา 291 (7)

เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าว แล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา 150 

ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็น ชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราช บัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้
มาตรา 151

ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและ พระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษา ร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้น ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทาน คืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

ก็หมายความว่า เมื่ออ่านมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 กับมาตรา 151 แล้ว ก็จะได้ความว่าในขั้นตอนถัดจากนี้ไป นายกรัฐมนตรีก็ต้องมีหน้าที่ในการนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับดัง กล่าว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน อันนี้เป็นไปตามความในมาตรา 150 ที่จะอนุโลมมาใช้กับกระบวนการในการนำขึ้นทูลเกล้าด้วย

และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ถ้ามีการนำขึ้นทูลเกล้าไปแล้ว ก็จะเป็นประเด็นต่อไปในเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้พระราชอำนาจเอาไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีสิทธิ มีพระราชอำนาจที่จะ เรียกว่าวีโต้ หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย เรียกว่าใช้สิทธิวีโต้

การวีโต้ เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือการวีโต้โดยชัดแจ้ง พระราชทานคืนกลับมายังสภา ไม่ลงพระปรมาภิไธย กรณีที่สองเป็นการวีโต้โดยปริยาย คือเก็บร่างรัฐธรรมนูญนี้ไว้จนพ้น 90 วัน มิได้พระราชทานกลับคืนมา ผลก็คือจะไม่มีการลงพระปรมาภิไธย ทำให้รัฐบาลต้องประชุมกันใหม่ เพื่อจะดูว่าสภาจะยืนยันร่างนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าเกิดประชุมกันแล้ว รัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ลงพระปรมาภิไธย พระราชทานคืนมาใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมไปประกาศในราช กิจจานุเบกษา ใช้บังคับเสมือนเป็นกฎหมายได้เลย อันนี้คือขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป ตามขั้นตอนปกติในทางกฎหมาย

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น