หน้าเว็บ

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อั้ม โนโกะ กับความดัดจริต (เถื่อน)ของสังคมไทย

อั้ม โนโกะ กับความดัดจริต (เถื่อน)ของสังคมไทย


โดย นุ่มนวล ยัพราช
จาก นสพ เลี้ยวซ้าย ต.ค. ๕๖
 
ในขณะที่พรรคเพื่อไทยเลือกเฉยเมยที่จะนำคนผิดมาลงโทษและสร้างบรรทัดฐานใหม่ ให้เกิดขึ้นในสังคม ผลที่เกิดขึ้นคือ ความเละตุ้มเป๊ะและความป่าเถื่อนแบบไทยๆยังคงยืนเด่นทะมึนเป็นภัยต่อไป ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ต่อไป กรณี อั้ม โนโกะ ไม่ใช่กรณีแรกที่ถูกรังแกด้วยความคับแคบล้าหลังอั้นนี้ และ หากไม่มีการจัดการปฏิรูปสังคมอย่างเป็นระบบ อั้ม โนโกะ คงไม่ใช่คนที่สุดท้าย

ในเวทีทางการเมืองเสื้อแดงการปราศรัยที่เต็มไปด้วยการเหยียดเพศดูเหมือนกลาย เป็นเรื่องปกติ มาดูซีกพรรคประชาธิปัตย์อันนี้ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน อยู่ในสภาวะวิกฤติที่กู่ไม่กลับเสียด้วยซ้ำ เมื่อหัวหน้าพรรคออกมาประณามหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ด้วยคำเหยียดและดูถูกทางเพศ การถกเถียงทางการเมืองที่ถูกปกคลุมไปด้วยเรื่องแบบนี้ถือว่าเละตุ้มเป๊ะ จริงๆ

ล่าสุดมีการแจ้งความ อั้ม โนโกะ ด้วยมาตรา 112 เพราะพวกขวาจัดไม่พอใจเรื่องการรณรงค์ของเธอ อั้ม โนโกะ นักศึกษาธรรมศาสตร์ผู้ซึ่งกล้าท้าท้ายกฎระเบียบอันล้าหลังของมหาวิทยาลัย โดยการตั้งคำถามเชิงประชดประชันเกี่ยวกับการใส่เครื่องแบบนักศึกษา ซึ่งได้ลากไส้ความจริงอันปัญญาอ่อนออกมาหลายอย่าง เช่น อาจารย์ประจำคณะได้สวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาเพื่อรณรงค์เพื่อให้นักศึกษาใส่ เครื่องแบบโดยอ้างว่าเพื่อสร้างความเป็นกันเอง แต่การรณรงค์ดังกล่าวเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความอนุรักษ์นิยม เน้นความเป็นเด็กที่ต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ เชิดชูแนวความคิดแยกเขาแยกเราโดยการกล่าวว่าหลายคนไม่มีโอกาสใส่ชุดนักศึกษา แทนที่จะตั้งคำถามอย่างคนมีปัญญาว่าทำไมการศึกษาของประเทศเรายังไปไม่ทั่ว ถึง  ทำไมเด็กไทยทุกคนไม่มีหลักประกันว่าพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับโอกาสเล่าเรียน ขั้นสูงในระดับมหาวิทยาลัย อะไรคืออุปสรรคใหญ่ สถาบันแบบไหนที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการรู้แจ้งทางปัญญาของสังคมไทย


การรณรงค์แบบที่อาจารย์คณะวารสารเลือกแสดงออกได้เดินไปสู่การเน้นความเป็น พรรคพวก คลั่งสถาบัน ส่งเสริมระบบโซตัส ฯลฯ ถ้าคณาจารย์ทั้งหลายอยากสร้างความเป็นกันเอง ลดช่องว่างระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา ควรจะเน้นความเป็นมิตรทางสติปัญญาเหนือสิ่งอื่นใด ถกเถียงด้วยเหตุผล ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ส่งเสริมให้นักศึกษาคิดนอกกรอบ ถ้าอยากเป็นแบบอย่างให้นักศึกษาอาจารย์ทั้งหลายก็ควรจะยืนขึ้นต่อความไม่ถูก ต้อง พิทักษ์ประชาธิปไตย วิจารณ์สถาบันที่เป็นภัยต่อประชาธิปไตย วิจารณ์คณะบดีที่หมอบคลานและเลียตูดต่อเผด็จการทหาร กล้ากระเทาะเปลือกความล้าหลังของสังคมไทย ไม่ใช่มาทำตัวเป็นเด็กๆโนเนะไม่รู้จักโต ที่ต้องคอยให้ผู้ใหญ่มาคอยสั่งให้เดิน ให้หมอบ ให้คลานอยู่ร่ำไป

การเคารพสิทธิซึ่งกันและกันการมองว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครควรมีสิทธิออกกฎบังคับให้คนทำตามอย่างไร้เหตุผล ถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีสถานะสูงกว่าความสัมพันธ์แบบจอม ปลอมภายใต้การกล่อมเกลาที่ว่า “อ่อนน้อมถ่อมตน” ซึ่งเป็นกรอบที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ความชอบธรรมกับการใช้อำนาจแบบเถื่อนๆ ของผู้มีอำนาจในสังคมหรือผู้ใหญ่ทั้งหลาย 

อนึ่ง องค์ความรู้ที่รับใช้มวลมนุษยชาติทั้งหลายล้วนแต่มีรากฐานมาจากการตั้งคำถาม ต่อกรอบเดิมๆ ทั้งสิ้น อาจารย์ในมหาลัยควรปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและความคิด ไม่ใช่สืบสานเจตนารมณ์การเป็นทาส ความหัวอ่อน ข่มให้นักศึกษาเกรงกลัวต่อระเบียบประเพณี เพราะกรอบความคิดแบบนี้นำไปสู่การคลั่งชาติ ป่าเถื่อน ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ในที่สุด

แนวทางที่ อั้ม โนโก๊ะ เลือกท้าท้ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถือเป็นเรื่องเล็กและไม่มีความสำคัญเมื่อ เทียบวัดกับคำถามของเธอที่ส่งออกไป เช่น การถ่ายรูปกอดคอ รูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ เพื่อท้าทายที่คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่บังคับให้นักศึกษาบูชาเซ่นไหว้ รูปปั้น เหมือนไหว้ผีไหว้สางซึ่งเป็นรูปแบบที่พวกอนุรักษ์นิยมชอบใช้เพื่อบิดเบือน ประวัติศาสตร์และปิดหูปิดตาปิดปากนักศึกษาไม่ให้ใช้สมอง

แทนที่จะเน้นไปที่คณูปการของ ปรีดี พนมยงค์ ผู้ซึ่งเป็นแกนนำคนสำคัญของคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการครองจากระบบสมบูรณาญา สิทธิราชมาสู่ระบบประชาธิปไตย ผู้ต้องการให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ซึ่งความต้องการของคณะราษฏรยังคงไม่ประสบความสำเร็จ ถ้า อั้ม โนโก๊ะ กอดคอรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ แล้วสู้เพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพที่แท้จริง ก็เป็นเรื่องที่ดีไม่มีเรื่องที่เสียหายแต่อย่างใดไม่ว่าจะคำนวนจากมุมมอง ไหนๆ  แถมยังไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครอีกด้วย ในทางกลับกันผู้บริหารธรรมศาสตร์รุ่นปัจจุบันสร้างความหม่นหมองหลายครั้ง หลายคลาให้กับมหาวิทยาลัย เช่น รับใช้เผด็จการ หรือ การออกมาให้ทัศนะที่สร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายอนุรักษ์นิยม เป็นต้น

ในกรณีชุดนักศึกษานั้น เอาเข้าจริงมันก็เป็นเครื่องมือในการควบคุมนักศึกษาเท่านั้น การตีกันของนักศึกษาที่ใส่เครื่องแบบต่างกันก็มีให้เห็นทุกๆปี ครูที่สั่งให้นักศึกษาใส่เครื่องแบบเข้าเรียนในวิชาตนเองนั้นก็น่าสมเพช แทนที่จะใช้พลังงานไปค้นคว้าหาเทคนิคหรือความรู้ใหม่ๆมาเสนอแก่นักศึกษา  กลับเลือกที่จะระเบียบวินัยอันล้าหลังมาใช้กับนักศึกษาแทน ในภาพกว้างของสังคม  กองทัพไทยก็ใส่เครื่องแบบแต่สถาบันนี้ทำลายประชาธิปไตยซ้ำแล้วซ้ำเล่า สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติไปเท่าไหร่? ตำรวจก็ใส่เครื่องแบบแล้วรีดไถชาวบ้านชาวช่อง พระที่ห่มจีวอลก็หลอกต้มคนไปเท่าไหร่? อะไรคือแก่นอะไรคือเปลือก? เอาเข้าจริงๆ เครื่องแบบคือเครื่องมือที่กดขี่ ยกตนข่มท่าน ควบคุม และ แสวงหาผลประโยชน์จากคนที่ด้อยกว่าเท่านั้นเอง อาจารย์ที่คลั่งเครื่องแบบลอกเปลือกออกมาดูก็เป็นเพียงแค่พนักงานส่งเอกสาร เท่านั้นแหละ เพราะไร้วุฒิภาวะและความสร้างสรรค์ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของคนที่ประกอบ อาชีพในสาขาการศึกษา ระบบการศึกษาไทยเน้นเปลือกมานานพอถามหาแก่นแล้วหาทางไปไม่เป็น เพราะ “กลวง” มานาน นอกจากเพิ่มกฎเกณฑ์และความเถื่อนในการบังคับใช้

นักศึกษาในมหา วิทยานั้นส่วนใหญ่อายุ 18 ปีขึ้น มีสิทธิในการเลือกผู้นำประเทศ เพราะถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว  ฉะนั้นการที่เขาเลือกไม่ใส่ชุดนักศึกษาก็เป็นสิทธิอันปกติสามัญไม่เป็นภัย ใดๆ การที่บรรดาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีทัศนะคติว่านักศึกษานั้นเป็นเด็กอัน นั้นแหละเป็นภัยและเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางความคิดของสังคมโดยรวม ความคิดความสร้างสรรค์ใหม่ๆก็เกิดขึ้นไม่ได้

ใครตั้งคำถามสามัญๆเกี่ยวกับความจริงในสังคมไทยก็จะโดน ม.112 ติดคุก ความสร้างสรรค์ที่อยู่ในตัวประชาชนคนไทยถูกกดทับไว้ไม่ได้นำมาสรรสร้างสังคม นั้นสูญเสียเป็นมูลค่าเท่าไหร่แล้ว สังคมเราจะต้องถอยหลังไปเท่าไหร่กัน? ตอนนี้เราเห็นถ้อยคำโกหกลอยอยู่เต็มไปหมด คนที่ไม่ทำอะไรเลยถูกเชิดชูว่าเป็นคนขยัน สร้างสรรค์ คนที่ทำรัฐประหารและเข่นฆ่าประชาชนถูกเสนอว่าเป็นเสาหลักของสังคม ฯลฯ

(ที่มา) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น